ใบเสนอราคาเป็นเอกสารที่ผู้ขายออกให้แก่ผู้ซื้อ เพื่อแสดงให้ผู้ซื้อเห็นรายละเอียดสินค้า/บริการ ที่ผู้ขายนำเสนอรวมถึงราคาสินค้า/บริการ ที่ผู้ซื้อจะต้องจ่ายหากผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้า/บริการจากผู้ขาย
ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี
ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน
- ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
- ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
- ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
- Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
- ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
- ดูรีวิวจากลูกค้า
- About me
ประโยชน์ของใบเสนอราคา
ใบเสนอราคาเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการขายเพื่อให้จะให้ลูกค้าทราบในเบื้องต้นว่าราคาเสนอขายของบริษัทนั้นอยู่ที่เท่าใด หากลูกค้ามาซื้อสินค้า/บริการกับทางบริษัท ดังนั้นการจัดทำใบเสนอราคานั้นจึงมีความสำคัญมาก ต้องทำให้ดูน่าเชื่อถือมากที่สุดและต้องมีข้อมูลที่ลูกค้าต้องการทราบอย่างครบถ้วน จึงจะสามารถดึงดูดลูกค้าให้มาซื้อสินค้า/บริการ กับทางบริษัทได้
รายละเอียดในใบเสนอราคา
- ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย
- ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ
- เลขที่ใบเสนอราคา
- วันที่เสนอราคา
- เงื่อนไขในการชำระเงิน และเครดิต
- รายละเอียดของสินค้า และบริษัท
- จำนวนสินค้า / บริการ ราคาต่อหน่วย และจำนวนเงินรวม
- ลงลายมือชื่อผู้จัดทำ และผู้อนุมัติใบเสนอราคา
- ลงลายมือชื่อผู้สั่งซื้อในใบเสนอราคา (กรณีที่ผู้ซื้อตกลงซื้อสินค้า/บริการจากผู้ขาย)
ตัวอย่างเอกสารใบเสนอราคา
ใบเสนอราคานั้นสามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ
- เปิดใบเสนอราคาเองแบบ Manual – การออกใบเสนอราคาในรูปแบบนี้โดยมากแล้วผู้ประกอบการจะเปิดเอกสารใบเสนอราคาโดยใช้ Microsoft office เช่น Word หรือ Excel ซึ่งข้อดีของการออกใบเสนอราคาแบบนี้คือ ค่อนข้างยืดหยุ่น ผู้ประกอบการสามารถจัดรูปแบบใบเสนอราคาได้เอง แต่การเปิดเอกสารในรูปแบบนี้ก็มีข้อเสียอยู่มากเพราะไม่ได้ใช้ระบบเข้ามาช่วยจึงอาจทำให้มีข้อผิดพลาดในการออกเอกสารได้มาก และเอกสารจะไม่ได้ถูกเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่นๆ
- เปิดใบเสนอราคาผ่านระบบบัญชี – การออกใบเสนอราคาในรูปแบบนี้จะมีข้อดีมากกว่าตรงที่รูปแบบเอกสารจะดูน่าเชื่อถือ ดูเป็นทางการมากกว่า และที่สำคัญคือข้อมูลในใบเสนอราคาจะถูกบันทึกเอาไว้ในระบบ เพื่อนำข้อมูลมาออกเอกสารในขั้นตอนถัดไป เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบเร็จรับเงิน เป็นต้น
ตัวอย่างใบเสนอราคาเองแบบ Manual
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่นี่ : ใบเสนอราคา
ตัวอย่างใบเสนอราคาผ่านระบบบัญชี
ในที่นี้ผมจะขอยกตัวอย่างใบเสนอราคาจากโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ที่สำนักงานบัญชีของผมใช้อยู่ในการให้บริการลูกค้า จะมีหน้าตาเอกสารแบบนี้
Flow ขั้นตอนการทำงานของใบเสนอราคา
ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการเปิดใบเสนอราคาผ่านระบบบัญชีจะมีข้อดีในการเชื่อมโยงกับเอกสารอื่นๆได้ด้วยดังนี้
ในระบบการขาย เอกสารตั้งต้นคือใบเสนอราคา หลังจากนั้นหากลูกค้าตกลงซื้อสินค้า / บริการกับบริษัท และบริษัทได้ส่งมอบสินค้า / บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริษัทก็จะต้องออกใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้า เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน เมื่อบริษัทได้รับชำระจากลูกค้าแล้วบริษัทก็จะต้องออกเสร็จรับเงินส่งให้ลูกค้า
ในการออกใบเสนอราคาผ่านระบบโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ข้อมูลที่ใส่ในใบเสนอราคานั้นจะถูกจดจำและบันทึกเอาไว้ในตัวโปรแกรม หลังจากนั้นหากลูกค้าตกลงซื้อสินค้า / บริการ จากบริษัท และบริษัทได้จัดส่งสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว บริษัทก็จะต้องออกใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้า
หากเราออกเอกสารใบเสนอราคาแบบ Manual พอเราจะจัดทำใบแจ้งหนี้เราก็ต้องมานั่งพิมพ์ข้อมูลเดิมๆใหม่ แต่หากเราใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราแทบไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลใหม่เลย เพราะจะสามารถดึงข้อมูลมาจากใบเสนอราคาได้ อันนี้จะเป็นประโยชน์ของการใช้โปรแกรมบัญชี ทำให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้นและข้อผิดพลาดนั้นน้อยกว่าการออกเอกสารแบบ Manual
หลังจากนั้นเมื่อบริษัทได้รับชำระเงินจากลูกค้าบริษัทก็ต้องออกใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานในการรับชำระให้แก่ลูกค้า หากเราออกเอกสารแบบ Manual พอเราจะจัดทำใบเสร็จรับเงินเราก็ต้องมานั่งพิมพ์ข้อมูลเดิมๆใหม่ แต่หากเราใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราแทบไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลใหม่เลย เพราะจะสามารถดึงข้อมูลมาจากใบแจ้งหนี้ได้ อันนี้จะเป็นประโยชน์ของการใช้โปรแกรมบัญชี ทำให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้นและข้อผิดพลาดนั้นน้อยกว่าการออกเอกสารแบบ Manual
ท่านใดที่สนใจโปรแกรมบัญชีสามารถติดต่อผมมาได้ครับ มีบริการรับทำบัญชี โดยที่ให้ลูกค้าใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ได้ฟรี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : รับทำบัญชี
สรุป
หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้กันไปแล้ว หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจหน้าที่ ประโยชน์และความสำคัญของใบเสนอราคามากขึ้น และผมคิดว่าเราควรใช้โปรแกรมบัญชีในการออกใบเสนอราคาเนื่องจากประโยชน์ในเรื่องของการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ลดความผิดพลาดได้ดี
หวังว่าทุกท่านจะสามารถนำความรู้เกี่ยวกับ ใบเสนอราคา นี้ไปปรับใช้ในกิจการของแต่ละท่านได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกันนะครับ
บทความล่าสุด
บอจ.5 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น คืออะไร และยื่นอย่างไร?
บอจ.5 หรือชื่อเต็มก็คือ สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัท ในบทความนี้เรามาเรียนรู้กันว่า บอจ.5 นั้นคืออะไร มีข้อมูลอะไรบ้างในเอกสารดังกล่าว และที่สำคัญก็คือต้องยื่นเอกสารดังกล่าวอย่างไร
Nov
บอจ.3 รายการจดทะเบียนจัดตั้ง คืออะไร?
บอจ.3 หรือ รายการจดทะเบียนจัดตั้ง มักเป็นเอกสารที่สำคัญที่ทางธนาคารขอเวลาที่นิติบุคคลจะขอไปเปิดบัญชีธนาคาร ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร มีรายละเอียดอย่างไร และสามารถคัดเอกสารนี้ได้จากไหนบ้าง
Nov
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) คืออะไร?
หนังสือบริคณห์สนธิ หรือ บอจ.2 เป็นเอกสารสำคัญในการตั้งบริษัทที่ผู้ก่อการได้ร่วมกันจัดทำขึ้นให้เป็นไปตามกฎหมายของการจัดตั้งบริษัท ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า หนังสือบริคณห์สนธิ หรือ บอจ.2 นั้นคืออะไร หน้าตาเป็นอย่างไร และสามารถดาวน์โหลดได้จากที่ไหน
Nov
บัญชีแยกประเภท พื้นฐานของระบบบัญชีที่ทุกคนควรรู้
ทุกๆธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชี ซึ่งบัญชีแยกประเภทเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจทราบถึงรายละเอียดในแต่ละบัญชีว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ในบทความนี้เราจะมาอธิบายว่าบัญชีแยกประเภทคืออะไร
Nov
ค่ารับรอง สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่?
ค่ารับรองถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามที่ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ อย่างไรก็ตามรู้หรือไม่ว่าค่ารับรองบางอย่างที่เข้าเงื่อนไข หลักเกณฑ์ของสรรพากร ก็สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ เช่นเดียวกัน
Oct
จุดคุ้มทุน (Break Even Point) คืออะไร และคำนวณอย่างไร?
จุดคุ้มทุน หรือ Break Even Point คือสิ่งที่มีความสำคัญลำดับต้นๆในการทำธุรกิจ ว่าเราจะต้องขายให้ได้ขนาดไหน ธุรกิจจึงจะไม่ขาดทุน ซึ่งหากเราลองคำนวณปริมาณการขาย ณ จุดคุ้มทุนออกมาแล้ว เป็นไปได้ยากที่จะขายให้ได้ถึงจุดนั้น เราจะได้ตัดสินใจไม่ทำธุรกิจนั้นตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องแบกรับผลขาดทุนที่จะตามมา
Oct
ภาษีป้าย คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจกัน
รู้หรือไม่ หากคุณติดป้ายเพื่อโฆษณา ประกอบกิจการค้า เพื่อหารายได้ ป้ายดังกล่าวจะต้องถูกนำมาเสียภาษีที่เราเรียกว่า ภาษีป้าย ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจภาษีดังกล่าวกัน
Oct
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued expense) คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจกัน
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued expense) ในงบการเงินเป็นบัญชีที่เกิดขึ้นเพื่อบันทึกตัวเลขให้ถูกต้องตามเกณฑ์สิทธิ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินทำความเข้าใจสุขภาพทางด้านการเงินของกิจการได้ถูกต้อง
Oct
ดรอปชิป (Dropship) คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจกัน
ดรอปชิป (Dropship) คือรูปแบบการขายของออนไลน์รูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมอยากมากในยุคปัจจุบัน ซึ่งผู้ขายหรือตัวแทนไม่จำเป็นต้องมีสินค้าในโกดัง ทำให้ไม่ต้องยุ่งยากในเรื่องของการจัดการสินค้า
Oct