บัญชีแยกประเภท พื้นฐานของระบบบัญชีที่ทุกคนควรรู้

บัญชีแยกประเภท
สอนบัญชีภาษีฟรี

ทุกๆธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชี ซึ่งบัญชีแยกประเภทเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจทราบถึงรายละเอียดในแต่ละบัญชีว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ในบทความนี้เราจะมาอธิบายว่าบัญชีแยกประเภทคืออะไร

บัญชีแยกประเภท (General ledger) คืออะไร?

บัญชีแยกประเภทเป็นส่วนหนึ่งของระบบการทำบัญชี ทำให้ทราบที่มาที่ไปของแต่ละบัญชีว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เราลองมาดูตัวอย่างของบัญชีแยกประเภทของเงินฝากธนาคารกัน

ตัวอย่างบัญชีแยกประเภท

ดาวโหลดตัวอย่างบัญชีแยกประเภทได้ ที่นี่

ท่านใดที่ต้องการทราบว่าบัญชีแยกประเภทนั้นอยู่ในขึ้นตอนใดของระบบบัญชี ให้อ่านบทความนี้ : การบัญชีหมายถึงอะไร?

รายละเอียดที่ต้องมีในบัญชีแยกประเภท

ในบัญชีแยกประเภทจะต้องมีรายละเอียดดังนี้

  1. ลำดับ – เป็นลำดับการแสดงรายการบัญชี
  2. วันที่ – เป็นวันที่ที่เกิดรายการตามบัญชีแยกประเภท
  3. คำอธิบาย – เป็นคำอธิบายรายละเอียดของแต่ละรายการว่าคืออะไร
  4. เดบิต – เป็นการแสดงยอดการบันทึกบัญชี เดบิต หรือ เครดิต
  5. เครดิต – เป็นการแสดงยอดการบันทึกบัญชี เดบิต หรือ เครดิต
  6. คงเหลือ – เป็นการแสดงยอดคงเหลือของบัญชีนั้นๆหลังจากบันทึกแต่ละรายการ
  7. เลขที่บันทึกบัญชี (อ้างอิง) – เป็นการอ้างอิงกับเลขที่เอกสารว่ารายการที่เกิดขึ้นนั้นๆสามารถอ้างอิงได้กับเอกสารใบไหนในระบบบัญชี

ท่านใดที่ยังไม่เข้าใจคำว่าเดบิต เครดิต สามารถอ่านบทความนี้ได้เลยครับ : เดบิต เครดิต (Debit Credit) คืออะไร?

การอ่านและวิเคราะห์บัญชีแยกประเภทนั้นทำอย่างไร?

จากตัวอย่างบัญชีแยกประเภทที่ให้มาในหัวข้อที่ 1 เราลองมาฝึกอ่านตัวอย่างบัญชีแยกประเภทของ ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ กัน

  1. จะเห็นได้ว่ากิจการมียอดยกมา ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ จำนวน 1,000 บาท ดังที่แสดงอยู่ในช่องคงเหลือ
  2. ในวันที่ 1/11/2023 กิจการได้รับเงินค่าบริการจากบริษัท A เป็นจำนวน 3,000 บาท ทำให้ยอด ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ ของกิจการเพิ่มเป็น 4,000 บาท (1,000 บาท + 3,000 บาท)
  3. ในวันที่ 2/11/2023 กิจการได้รับเงินค่าบริการจากบริษัท B เป็นจำนวน 5,000 บาท ทำให้ยอด ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ ของกิจการเพิ่มเป็น 9,000 บาท (4,000 บาท + 5,000 บาท)
  4. ในวันที่ 3/11/2023 กิจการได้จ่ายเงินค่าวัสดุ เพื่อใช้ในการให้บริการ 2,000 บาท ดังนั้นยอด ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ ของกิจการลดลงเหลือ 7,000 บาท (9,000 บาท – 2,000 บาท)
  5. ในวันที่ 4/11/2023 กิจการได้จ่ายเงินค่าแรง 1,000 บาท ดังนั้นยอด ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ ของกิจการลดลงเหลือ 6,000 บาท (7,000 บาท – 1,000 บาท)

สรุปบัญชีแยกประเภท

จะเห็นได้ว่าบัญชีแยกประเภทนั้นมีประโยชน์ ทำให้เจ้าของกิจการทราบที่มาที่ไปของแต่ละบัญชีในงบการเงิน ทำให้เจ้าของกิจการทราบถึงสถานะการเงิน ผลการดำเนินงานของกิจการ ได้เป็นอย่างดี

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า

ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ