การบัญชี หมายถึงอะไร?

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

การบัญชี หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเชิงเศรษฐกิจ และนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลโดยการ บันทึก จำแนก และทำการสรุปผลที่เป็นตัวเงินออกมาเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ

accounting แปลว่า การบัญชีนั่นเอง ซึ่งหมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเชิงเศรษฐกิจ และนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลโดยการ บันทึก จำแนก และทำการสรุปผลที่เป็นตัวเงินออกมาเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ

ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึงขั้นตอนต่างๆเหล่านี้กันครับ เพื่อให้เข้าใจความหมายว่า การบัญชี หมายถึงอะไร

น้องๆคนไหนกำลังตัดสินใจว่าจะเรียนคณะบัญชีดีหรือไม่ และอยากเรียนรู้เบื้องต้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ลองดูรายละเอียดที่นี่ได้ครับ : สอนอ่านงบการเงิน

ผู้ทำบัญชี / ผู้สอบบัญชี ต้องการเก็บชั่วโมง CPD เชิญทางนี้ : อบรมบัญชีออนไลน์

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ธเณศ คอมพิวเตอร์

การบัญชี (การทำบัญชี) มีขั้นตอนอย่างไร

การบัญชี (accounting) หรือการทำบัญชี มีขั้นตอนหลักๆดังต่อไปนี้

  1. การรวบรวมข้อมูล
  2. การบันทึกข้อมูล
  3. การจำแนกข้อมูล
  4. การสรุปข้อมูล

เมื่อดำเนินการครบทุกขั้นตอนดังกล่าวแล้ว เราก็จะได้รายงานทางการเงินออกมาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้งบการเงินอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัท

ขั้นตอนการจัดทำบัญชี

การรวบรวมข้อมูล

การบัญชี (accounting) หรือการทำบัญชีขั้นแรกจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่กระทบต่อการเงินของบริษัทมาให้ครบถ้วน เพื่อนำข้อมูลและรายการดังกล่าวมาเข้าสู่กระบวนการทางบัญชีในขั้นตอนต่อไป ข้อมูลหลักๆที่ต้องรวบรวมโดยทั่วไปแล้วจะมีดังนี้

  1. ข้อมูลและเอกสารการขาย
  2. ข้อมูลและเอกสารการรับเงิน
  3. ข้อมูลและเอกสารการซื้อ
  4. ข้อมูลและเอกสารการจ่ายเงิน
  5. ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวร
  6. ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
  7. ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน

การบันทึกข้อมูล

ในการบันทึกข้อมูลในระบบบัญชีนั้นจะบันทึกข้อมูลในรูปแบบ Debit (Dr.) และ Credit (Cr.) ซึ่งเป็นระบบการบันทึกบัญชีที่ใช้กันสากลทั่วโลก โดยหลักการแล้วจะสามารถสรุปได้ดังนี้ (ในส่วนนี้ถ้าใครไม่ได้เรียนบัญชีมาอาจจะเข้าใจยากหน่อยนะครับ)

  1. สินทรัพย์เพิ่มขึ้น – Debit (Dr.)
  2. สินทรัพย์ลดลง – Credit (Cr.)
  3. หนี้สินเพิ่มขึ้น – Credit (Cr.)
  4. หนี้สินลดลง – Debit (Dr.)
  5. ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น – Credit (Cr.)
  6. ส่วนของเจ้าของลดลง – Debit (Dr.)
  7. รายได้เพิ่มขึ้น – Credit (Cr.)
  8. รายได้ลดลง – Debit (Dr.)
  9. ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น – Debit (Dr.)
  10. ค่าใช้จ่ายลดลง – Credit (Cr.)

ในขั้นตอนการบันทึกข้อมูล เราก็จะนำเอกสารและข้อมูลรายการค้าทั้งหมดที่เรารวบรวมมาได้จากขั้นตอนก่อนหน้า แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาบันทึกบัญชีในรูปแบบ Debit Credit ในสมุดรายวัน

หากท่านใดสนใจศึกษาเพิ่มเติม อ่านรายละเอียดในบทความนี้ได้เลยครับ : สมการบัญชีและหลักการบัญชีนั้นเป็นอย่างไร

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Debit Credit ได้ที่นี่ : การเดบิตและเครดิต ในหลักบัญชีคู่

สมุดรายวันประเภทต่างๆ

ข้อมูลในสมุดรายวันนั้นจะมี ชื่อบริษัท วันที่บันทึกบัญชี รหัสบัญชี ชื่อบัญชี จำนวนเงิน Debit จำนวนเงิน Credit และคำอธิบายรายการ

ในขั้นตอนการบันทึกข้อมูล จะมีสมุดรายวันประเภทต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องดังนี้

  • สมุดรายวันขาย – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกยอดขายของกิจการ
  • สมุดรายวันรับ – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกยอดรับเงินของกิจการ
  • สมุดรายวันซื้อ – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกยอดซื้อของกิจการ
  • สมุดรายวันจ่าย – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกยอดจ่ายของกิจการ
  • สมุดรายวันทั่วไป – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกบัญชีอื่นที่ไม่ได้อยู่ในสมุดรายวันขาย สมุดรายวันรับ สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันจ่าย ข้างต้น

การจำแนกข้อมูล

หลังจากที่เราได้ทำการบันทึกบัญชีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาเราก็จะต้องนำข้อมูลที่บันทึกบัญชีมาจำแนกข้อมูล เพื่อจัดทำบัญชีแยกประเภท เพื่อให้ทราบว่าการเคลื่อนไหว ในแต่ละบัญชียอดเพิ่มขึ้นลดลง และเปลี่ยนแปลงไปจากรายการใด เอกสารใดบ้าง ลองดูตัวอย่างรายงานได้ดังนี้

บัญชีแยกประเภท

จากรูปเป็นตัวอย่างบัญชีแยกประเภทของบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งจะเห็นในว่าเงินฝากธนาคาร ของบริษัทเพิ่มขึ้น และลดลง เนื่องจากการรับชำระ และการจ่ายชำระค่าอะไรบ้างในแต่ละวัน และมีเลขที่เอกสารอ้างอิง เพื่อให้สามารถไปหาเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีจากการดูรายงานบัญชีแยกประเภทได้

การสรุปข้อมูล

หลังจากที่ได้จำแนกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นเราก็จะสรุปข้อมูล โดยนำข้อมูลยอดสุดท้ายในบัญชีแยกประเภทในแต่ละบัญชีมาจัดทำเป็นงบทดลอง ตัวอย่างงบทดลอง สามารถแสดงได้ดังนี้

งบทดลอง

ตัวงบทดลองที่ได้มานี้ เราก็จะนำมา Grouping ใหม่เป็นรายการทางการเงิน (งบการเงิน) ต่างๆดังต่อไปนี้

  1. งบแสดงฐานะการเงิน – งบแสดงฐานะการเงินเป็นงบที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทนั้นมีฐานะการเงินเป็นอย่างไร ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ณ วันที่ 31/12/64 (จุดเวลา) บริษัทมีสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นจำนวนเท่าไหร่
  2. งบกำไรขาดทุน – งบกำไรขาดทุนเป็นงบที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ตั้งแต่วันที่ 01/01/64 – 31/12/64 (ช่วงเวลา) บริษัทมี รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรขาดทุน เป็นจำนวนเท่าใด
  3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น – งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
  4. งบกระแสเงินสด – งบกระแสเงินสดเป็นงบที่แสดงกระแสเงินสดรับ กระแสเงินสดจ่ายของกิจการ ว่าช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งบริษัทมีกระแสเงินสดรับจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด และใช้จ่ายไปในเรื่องใดบ้าง
  5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน – หมายเหตุประกอบงบการเงินจะเป็นส่วนอธิบายเพิ่มเติมสำหรับข้อมูลของบริษัทและข้อมูลในงบการเงินให้มีความชัดเจนมากยื่งขึ้น เช่น ข้อมูลทั่วไปของบริษัท ลักษณะธุรกิจบริษัท นโยบายบัญชีต่างๆที่บริษัทใช้ แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละบัญชีของงบการเงิน เป็นต้น

ท่านใดสนใจดูงบการเงินจริง และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม อ่านรายละเอียดได้ในบทความนี้เลยครับ : งบการเงินคืออะไร

สรุปการบัญชี หมายถึงอะไร

หลังจากอ่านบทความนี้จบ เราได้รู้แล้วว่าการบัญชี (accounting) หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเชิงเศรษฐกิจ และนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลโดยการ บันทึกในสมุดรายวัน จำแนก และทำการสรุปผลที่เป็นตัวเงินออกมาเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ เช่น งบทดลองและบัญชีแยกประเภท

หรือบางคนอาจสงสัยว่า accounting แปลว่าอะไร? accounting มีความหมายเดียวกันกับการบัญชีนั่นเอง

รายงานต่างๆที่ออกมาก็เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้งบการเงินอ่าน เช่น เจ้าของบริษัทก็ต้องการอ่านงบการเงิน เพื่อให้ทราบฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัท เพื่อเอาไปวางแผนเชิงกลยุทธ์ของบริษัท, กรมสรรพากรก็ต้องการใช้งบการเงินเพื่อใช้ประเมินประเด็นทางด้านภาษีของบริษัท, ธนาคารก็ต้องการใช้งบการเงินเพื่อประเมิน Credit ของลูกหนี้เพื่อพิจารณาปล่อยกู้ เป็นต้น

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า

ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ