ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี เรามาทำความเข้าใจกัน

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี? คำถามนี้ผมเชื่อว่าเป็นคำถามสำคัญของใครหลายๆคนว่าเราทำธุรกิจ มีรายได้ หรือ มีรายรับที่ไม่ได้เกิดจากการทำธุรกิจจะต้องเสียภาษีหรือไม่ ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

หากถามว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษี  ผมคิดว่าผู้ที่ต้องเสียภาษีแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆคือ 1. บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้

บุคคลธรรมดา

บุคคลธรรมดาผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี มีดังต่อไปนี้

  1. บุคคลธรรมดา (บุคคลทั่วๆไป)
  2. คณะบุคคล
  3. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล – ห้างหุ้นส่วนสามัญจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน โดยปกติแล้วห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจะถือว่าเป็นนิติบุคคล ส่วนห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน จะถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา         
  4. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  5. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  6. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล                                             

นิติบุคคล

นิติบุคคลผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี หลักๆจะมีดังต่อไปนี้

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
  2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  3. บริษัทจำกัด
  4. บริษัทมหาชนจำกัด

บุคคลธรรมดาเสียภาษีอะไรบ้าง

บุคคลธรรมดาอย่างเราๆ ผมคิดว่าภาษีหลักๆที่จะต้องเสียมีดังนี้

  1. ภาษีเงินได้ของบุคคล – เป็นภาษีประจำปีที่บุคคลธรรมดาจะต้องเสียให้แก่รัฐบาล จากรายได้ที่แต่ละคนทำมาหาได้ เงินได้ของบุคคลที่จะต้องนำมาเสียภาษีมีด้วยกันอยู่ 8 ประเภทดังนี้
  • เงินได้ประเภทที่ 1 (นิยมเรียกกันว่า 40(1))ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เป็นต้น
  • เงินได้ประเภทที่ 2 (นิยมเรียกกันว่า 40(2)) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เป็นต้น
  • เงินได้ประเภทที่ 3 (นิยมเรียกกันว่า 40(3))ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
  • เงินได้ประเภทที่ 4 (นิยมเรียกกันว่า 40(4))ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น สามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้
  • เงินได้ประเภทที่ 5 (นิยมเรียกกันว่า 40(5)) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
  • เงินได้ประเภทที่ 6 (นิยมเรียกกันว่า 40(6))ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
  • เงินได้ประเภทที่ 7 (นิยมเรียกกันว่า 40(7))ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 
  • เงินได้ประเภทที่ 8 (นิยมเรียกกันว่า 40(8))ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้เหล่านี้ เมื่อนำมาหักค่าใช้จ่าย กับค่าลดหย่อนแล้ว ก็จะได้เงินได้สุทธิที่จะเอาไปคำนวณกับอัตราภาษีเพื่อเสียภาษี

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม – ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งผู้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มขั้นสุดท้ายนั่นคือผู้บริโภคนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราซื้อสินค้าหรือรับบริการใดๆจะร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มมาอยู่ในราคาของสินค้าและบริการและนำส่งให้แก่สรรพากร ดังนั้นการที่เราบุคคลทั่วไปซื้อสินค้าและบริการ จึงถือได้ว่าเป็นผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแบบอ้อมๆ

จริงๆแล้วรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีค่อนข้างมาก ดังนั้นหากต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มเชิญอ่านได้ที่บทความนี้เลยครับ : ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

  1. ภาษีอื่นๆ – นอกจากภาษีของนิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม บุคคลธรรมดาก็จะเสียภาษีอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน เช่น หากเราทำการซื้อขายบ้าน ที่ดิน คอนโด เราก็ต้องไปเสียภาษีต่างๆให้แก่รัฐ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น

นิติบุคคลเสียภาษีอะไรบ้าง

นิติบุคคลมีภาษีอยู่หลายตัวที่จะต้องเสียดังต่อไปนี้

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล – เป็นภาษีที่นิติบุคคลจะต้องเสียจากฐานกำไรสุทธิ ยิ่งกำไรมากนิติบุคคลก็ต้องเสียภาษีมาก ยิ่งกำไรสุทธิน้อยก็จะเสียภาษีน้อยตามไปด้วย สำหรับอัตราภาษีแสดงได้ดังนี้
เปรียบเทียบอัตราภาษี SME vs Non SME

ผู้ใดที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมสามารถอ่านบทความนี้ได้เลยครับ : ภาษีเงินได้นิติบุคคลคืออะไร

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – ตามกฎหมายหากนิติบุคคลจากค่าบริการตามที่กฎหมายกำหนด นิติบุคคลต้องดำเนินการหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด และนำส่งให้แก่กรมสรรพากรในเดือนถัดไป

ผู้ใดที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมสามารถอ่านบทความนี้ได้เลยครับ : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืออะไร

4. ภาษีอื่นๆ

ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม : กรมสรรพากร

สรุปใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว ทุกท่านคงทราบแล้วว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษี ซึ่งหลักๆจะมีทั้งบุคคลธรรมดา (บุคคลทั่วๆไป, คณะบุคคล, ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล, ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี, กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง) และนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด, บริษัทมหาชนจำกัด) หวังว่าทุกท่านจะได้ประโยชน์จากความความนี้นะครับ

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า

ช่วยกันแชร์บทความให้หน่อยครับ