ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีบุคคลที่ทุกคนจะต้องเสียให้แก่รัฐหากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณอย่างไร

วิธีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

วิธีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 2 วิธีดังต่อไปนี้

  1. วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมา
  2. วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได

โดยหลักการจะต้องมีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง 2 วิธีข้างต้นนี้เปรียบเทียบกัน โดยวิธีใดได้ตัวเลขภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สูงกว่า ให้ใช้วิธีดังกล่าวในการคำนวณเพื่อเสียภาษี

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมา

สำหรับวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมามีวิธีในการคำนวณดังต่อไปนี้

เงินได้พึงประเมินทุกประเภท – เงินได้พึงประเมิน 40(1) x 0.5%

เงื่อนไขเพิ่มเติม : ใช้สำหรับกรณีรายได้พึงประเมินทุกประเภทเกิน 1,000,000 บาท หากไม่เกิน ไม่ต้องคำนวณวิธีนี้เพื่อปรียบเทียบ ก่อนอื่นเราจะต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนครับ ว่าเงินได้พึงประเมินนั้นมีกี่ประเภท ตามข้อมูลด้านล่างนี้ครับ

เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท มีอะไรบ้าง?

เงินได้พึงประเมินนั้นมีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้

  1. เงินได้ประเภทที่ 1 (นิยมเรียกกันว่า 40(1)) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เป็นต้น
  2. เงินได้ประเภทที่ 2 (นิยมเรียกกันว่า 40(2)) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เป็นต้น
  3. เงินได้ประเภทที่ 3 (นิยมเรียกกันว่า 40(3)) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
  4. เงินได้ประเภทที่ 4 (นิยมเรียกกันว่า 40(4)) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น สามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้
  • 40(4)(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เป็นต้น
  • 40(4)(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน
  • 40(4)(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  • 40(4)(ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
  • 40(4)(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน
  • 40(4)(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือ เลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
  • 40(4)(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
  1. เงินได้ประเภทที่ 5 (นิยมเรียกกันว่า 40(5)) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
  2. เงินได้ประเภทที่ 6 (นิยมเรียกกันว่า 40(6)) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
  3. เงินได้ประเภทที่ 7 (นิยมเรียกกันว่า 40(7)) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
  4. เงินได้ประเภทที่ 8 (นิยมเรียกกันว่า 40(8)) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Website ของกรมสรรพากร : เงินได้พึงประเมิน

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได

สำหรับวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได มีสูตรการคำนวณดังนี้

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

จากหัวข้อก่อนเราทำความเข้าใจกับเงินได้พึงประเมินไปแล้ว ในหัวข้อถัดไปผมจะมาอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนที่สามารถนำมาหักได้กันต่อไปครับ

การหักค่าใช้จ่าย

การหักค่าใช้จ่ายสามารถทำได้ 2 วิธีดังต่อไปนี้

  1. การหักค่าใช้จ่ายตามจริง (ต้องเก็บเอกสารหลักฐานการจ่ายเอาไว้)
  2. การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา

เรามาดูกันว่าเงินได้แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายในรูปแบบใดบ้าง

การหักค่าใช้จ่าย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการหักค่าใช้จ่าย 40(8) ได้ที่นี่ : การหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมิน 40(8)

จะเห็นได้ว่าหากเป็นเงินได้ 40(3) 40(5) 40(6) 40(7) 40(8) สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้

การหักค่าลดหย่อน

บุคคลสามารถหักค่าลดหย่อนได้หลายประเภท ผมสรุปค่าลดหย่อนหลักๆมาให้ดังนี้

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ 60,000 บาท หากคู่สมรสมีรายได้ต้องพิจารณาว่ารวมยื่น หรือแยกยื่นรายได้ของคู่สมรส
  3. ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 แต่ถ้ามีลูกคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในปี 2561 หรือหลังจากนี้ได้คนละ 60,000 บาท
  4. ค่าลดหย่อนบิดามารดา 30,000 บาท ต่อคน
  5. ค่าลดหย่อนผู้พิการ 60,000 บาท
  6. ค่าฝากครรภ์ / ทำคลอด ตามจริงแต่ไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
  7. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  8. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  9. เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ตามจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  10. กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน แต่รวมกันแล้วทั้งหมดไม่เกิน 500,000 บาท
  11. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ตามจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี แต่รวมกับข้อ 10 และ RMF แล้วทั้งหมดไม่เกิน 500,000 บาท
  12. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่เสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่รวมกับข้อ 10 และ RMF แล้วทั้งหมดไม่เกิน 500,000 บาท
  13. ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ตามจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 10 และ RMF และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ และ กอช.แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  14. ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  15. เงินบริจาคพรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เมื่อเรานำ เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ผลลัพธ์ก็จะได้ เงินได้สุทธิ ออกมา หลังจากนั้นเราก็จะนำเอาเงินได้สุทธิมาเข้าตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อคำนวณหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังต่อไปนี้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตัวอย่างในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นาย A มีเงินได้พึงประเมินจากเงินเดือน 40(1) 1,000,000 บาท จากการรับจากทำบัญชี 40(6) เป็นจำนวน 700,000 บาท ต่อปี ขายสินค้าออนไลน์ 40(8) จำนวน 400,000 บาท ต่อปี นาย A เลือกวิธีการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาสำหรับรายละเอียดค่าลดหย่อนของนาย A มีดังนี้

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. ค่าลดหย่อนบิดา 30,000 บาท
  3. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป 40,000 บาท
  4. ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย 20,000 บาท

ขั้นแรก : คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมา

เงินได้พึงประเมินทุกประเภท – เงินได้พึงประเมิน 40(1) x 0.5%

เงินได้พึงประเมินทุกประเภท = 1,000,000 + 700,000 + 400,000 = 2,100,000

เงินได้พึงประเมิน 40(1) = 1,000,000= (2,100,000 – 1,000,000) x 0.5% = 5,500 บาท (ตัวเลขนี้เก็บเอาไว้ก่อนเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได)

ขั้นสอง : คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย สามารถแสดงได้ตามตารางดังต่อไปนี้

เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

แสดงได้ดังนี้เงินได้สุทธิ = 1,700,000 – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – ค่าลดหย่อนบิดา 30,000 บาท – เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป 40,000 บาท – ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย 20,000 บาท = 1,550,000 บาท

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = 252,500 บาท

หลังจากนั้นให้เปรียบเทียบการคำนวณวิธีที่ 1 – 5,500 บาท กับวิธีที่ 2 – 252,500 บาท ดังนั้นตัวเลขที่เสียภาษีคือวิธีที่ 2 เพราะมีตัวเลขภาษีที่สูงกว่า

เปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา VS อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตารางเปรียบเทียบภาษีของทั้ง 2 ประเภท เป็นดังต่อไปนี้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา vs อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

จากรูปจะเห็นได้ว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะอยู่ที่ 5% – 35% ส่วนนิติบุคคลจะมีอัตราภาษีที่ 15%-20%

ดังนั้นหากธุรกิจคุณมีรายได้และกำไรยังไม่มาก ควรทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาเพราะมีอัตราภาษีในช่วงแรกที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ตามหากธุรกิจคุณมีรายได้และกำไรมากแล้ว ควรทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลเพราะมีอัตราภาษีในช่วงหลังที่ต่ำกว่านั่นเอง

สรุป

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีหนึ่งที่มีความสำคัญกับทุกๆคนเพราะทุกคนต้องมีหน้าที่ในการเสียภาษี ดังนั้นเราจึงควรศึกษาหลักการและวิธีการคำนวณภาษีให้ถูกต้อง

ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ