ใบสำคัญรับเงิน – ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

ใบสำคัญรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินเป็นเอกสารหลักฐานในการจ่ายเงินของบริษัท ใบสำคัญรับเงินจะเอาไว้ใช้ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้แก่บริษัทได้ แต่ผู้รับเงินยินยอมที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ธเณศ คอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของใบสำคัญรับเงิน

ในโลกความเป็นจริง เวลาที่บริษัทไปซื้อสินค้า / บริการ บางทีบริษัทก็ไปซื้อสินค้า / บริการ จากร้านค้าทั่วๆไปที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งบางทีทางร้านค้าเหล่านั้นก็ไม่ได้มีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้องให้กับบริษัท ดังนั้นใบสำคัญรับเงินจึงเอาไว้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ กล่าวคือเวลาที่บริษัทไปซื้อสินค้า/บริการ จากบุคคลทั่วๆไปที่ไม่ได้มีเอกสารใบเสร็จรับเงินอย่างเป็นทางการออกให้ ทางบริษัทก็สามารถนำใบสำคัญรับเงินนี้ไปให้ผู้ขายเซ็นพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนแทนได้

ข้อมูลที่สำคัญในใบสำคัญรับเงินมีดังนี้

  1. วันที่ได้รับเงิน
  2. ชื่อ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และที่อยู่ของผู้รับเงิน
  3. ชื่อ และรายละเอียดของผู้จ่ายเงิน
  4. รายละเอียดของสินค้าและบริการ
  5. จำนวนเงินของสินค้าและบริการ
  6. ลงลายมือชื่อผู้รับเงิน
  7. ลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน

ตัวอย่างเอกสารใบสำคัญรับเงิน

ตัวอย่างใบสำคัญรับเงิน

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่นี่ : ใบสำคัญรับเงิน

ใบสำคัญรับเงินสามารถใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีได้หรือไม่

หลายๆท่านอาจมีความสงสัยว่าหากเราไม่ได้ใบเสร็จรับเงินที่เป็นทางการมาจากผู้ขายด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีการวางระบบเอกสารที่ดี ทำให้ไม่สามารถขอใบเสร็จรับเงินได้ จึงต้องใช้ใบสำคัญรับเงินแทน (กรณีที่ผู้ขายยินยอมลงลายมือชื่อให้) รายการดังกล่าวจะสามารถนำมาประกอบการลงบัญชีของบริษัทและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

คำตอบก็คือสามารถนำใบสำคัญรับเงินมาบันทึกบัญชีและนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ อย่างไรก็ตามเอกสารและข้อมูลต่างๆต้องครบถ้วนดังนี้

  1. ข้อมูลต่างๆในใบสำคัญรับเงินจะต้องครบถ้วน
  2. จะต้องมีการลงลายมือชื่อจริงทั้งในส่วนของผู้รับเงิน และผู้จ่ายเงิน
  3. จะต้องมีการแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับเงินได้ เพื่อยืนยันว่าผู้รับเงินจากบริษัทนั้นมีตัวตนอยู่จริง สามารถพิสูจน์ได้
  4. หากรายการจ่ายดังกล่าวมีภาระภาษีก็ควรจะต้องนำส่งภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายดังกล่าวให้ครบถ้วน ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นการจ่ายค่าบริการจะต้องมีการหัก ณ ที่จ่าย บริษัทก็ควรมีการนำส่งหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวให้ครบถ้วน เป็นต้น

กรณีผู้ขายไม่ยอมเซ็นใบสำคัญรับเงินจะทำอย่างไร

กรณีที่ผู้ขายไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ หรือไม่ยอมเซ็นในเอกสารใบสำคัญรับเงินให้ อันนี้เป็นปัญหาใหญ่เลยครับ เพราะผู้ขายโดยส่วนใหญ่ก็ไม่ต้องการเสียภาษี จึงไม่ยินยอมที่จะลงลายมือชื่อในเอกสารให้ ทางกรมสรรพากรจึงได้มีการออกแนบทางแก้ไขกรณีนี้เอาไว้โดยสามารถให้บริษัทใช้ ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน แทนได้ โดยเอกสารดังกล่าวสามารถเซ็นโดยพนักงานของบริษัทได้ ซึ่งเอกสารจะต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้

  1. คำว่า “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน”
  2. ชื่อนิติบุคคลผู้ซื้อ / ผู้รับบริการ
  3. วันเดือนปี รายละเอียดรายจ่าย และจำนวนเงินที่จ่าย
  4. คำอธิบายว่า ข้าพเจ้า ………. (ผู้เบิกจ่าย) ตำแหน่ง ………. ขอรับรองว่า รายจ่ายข้างต้นนี้ไม่อาจเรียกเก็บใบเสร็จรับเงินจากผู้รับได้ และข้าพเจ้าได้จ่ายไปในงานของทางบริษัท / ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยแท้ตั้งแต่วันที่ ………. ถึงวันที่ ……….
  5. ลงลายมือชื่อผู้เบิกจ่ายและผู้อนุมัติ

เรามาลองดูตัวอย่าง “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน” กันได้เลยครับ

ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

ตามหลักการจริงๆแล้วเอกสารที่บริษัทออกเอกความน่าเชื่อถือจะน้อยกว่าเอกสารที่ได้รับมาจากบุคคลภายนอก อย่างไรก็ตามเพื่อแก้ไขปัญหาในการที่ผู้ขายไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ หรือไม่ยอมเซ็นเอกสารใบรับเงินให้ สรรพากรจึงอนุโลมให้ใช้ ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ได้ถึงแม้ว่าจะเป็นเอกสารที่บริษัททำขึ้นมาเอง และเซ็นรับรองโดยพนักงานของบริษัท

ดังนั้นเพื่อให้เอกสารดังกล่าวนั้นมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นและเพื่อไม่ให้มีปัญหากับเจ้าหน้าที่สรรพากรในการใช้เอกสารดังกล่าวมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย นิติบุคคลมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

  1. ข้อมูลทุกอย่างใน “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน” จะต้องถูกต้องและครบถ้วน
  2. รายการดังกล่าวจะต้องเป็นรายจ่ายของบริษัทที่เกิดขึ้นจริงๆ ห้ามตกแต่งรายการขึ้นมาเองเด็ดขาด
  3. รายการจ่ายดังกล่าวควรที่จะต้องตรวจสอบกับ Bank statement ได้ว่ามีเงินออกจริงๆ
  4. รายจ่ายดังกล่าวนั้นจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
  5. มูลค่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นนั้นควรที่จะเหมาะสมตามธรรมชาติของธุรกิจ ไม่ควรที่จะมีรายจ่ายดังกล่าวที่สูงจนเกินไป
  6. พนักงานของบริษัทที่เซ็นเอกสารดังกล่าวจะต้องตอบที่มา ที่ไป ของรายจ่ายดังกล่าวนั้นได้อย่างชัดเจน

สรุป

ใบสำคัญรับเงินเป็นเอกสารสำคัญอย่างหนึ่งที่กิจการสามารถนำมาเป็นหลักฐานค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ เหมือนกับใบเสร็จรับเงิน อย่างไรก็ตามหากบริษัทไม่สามารถได้รับใบสำคัญรับเงินหรือใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายได้ ทางกรมสรรพากรก็มีทางออกให้อนุญาตให้ใช้ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ และสามารถนำไปปรับใช้ในกิจการของแต่ละท่านกันได้นะครับ

บทความยอดฮิต

ทุนจดทะเบียนบริษัทคืออะไร?

ทุนจดทะเบียนบริษัทคืออะไร? ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วคืออะไร? เราต้องชำระเงินตามทุนจดทะเบียนบริษัทเข้าไปจริงๆหรือไม่? คำถามเหล่านี้มักเป็นคำถามที่ผมถูกถามเป็นประจำ ในบทความนี้ผมจึงขออธิบายทุกแง่มุมในเรื่องของทุนจดทะเบียนบริษัท

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี เรามาทำความเข้าใจกัน

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี? คำถามนี้ผมเชื่อว่าเป็นคำถามสำคัญของใครหลายๆคนว่าเราทำธุรกิจ มีรายได้ หรือ มีรายรับที่ไม่ได้เกิดจากการทำธุรกิจจะต้องเสียภาษีหรือไม่ ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

สมการบัญชีและหลักการบัญชีนั้นเป็นอย่างไร

ผู้ประกอบการควรที่จะต้องมีความรู้ทางด้านบัญชีเพื่อที่จะได้เอาไว้วิเคราะห์งบการเงินในกิจการของตนเองได้ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรจะต้องทราบเบื้องต้นหลักๆมี 2 เรื่องนั่นคือสมการบัญชี และหลักการบัญชี ซึ่งเราจะมาอธิบายกันในบทความนี้

ปิดบริษัทมีขั้นตอนอย่างไร

หลายๆท่านที่ต้องการปิดบริษัทหรือปิดห้างหุ้นส่วนอาจเกิดความสงสัยว่าทำไมตอนเปิดบริษัทนั้นง่ายใช้เวลาไม่นาน แต่ทำไมเวลาตอนปิดบริษัทนั้นถึงยากจัง ใช้ระยะเวลานานและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดบริษัท ในบทความนี้เรามาดูขั้นตอนปิดบริษัทกัน

ใบเสร็จรับเงิน และ บิลเงินสดแตกต่างกันอย่างไร

ผู้ประกอบการหลายๆท่านอาจมีความสงสัยว่าใบเสร็จรับเงินคืออะไร และบิลเงินสดคืออะไร เอกสารทั้ง 2 ตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้เราจะมาดูรายละเอียดกันครับ

งบแสดงฐานะการเงินคืออะไร

งบแสดงฐานะการเงินประกอบไปด้วยสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ตามที่ได้อธิบายไปแล้วก่อนหน้านี้ในบทความเรื่อง งบการเงินคืออะไร ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันในเรื่องการอ่านงบแสดงฐานะการเงิน

แบบ ภพ 30 มีวิธีการกรอกข้อมูลอย่างไร

ภพ 30 คือแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเกิดจากการสรุปยอดภาษีของทั้งเดือน โดยการเอา ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ หากเดือนไหนที่มีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อบริษัทต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร หากเดือนไหนที่ภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อ บริษัทสามารถขอคืนภาษี หรือสามารถนำไปเครดิตภาษีในเดือนถัดไปได้

นิติบุคคลคืออะไร เรามาทำความเข้าใจนิติบุคคลประเภทต่างๆกัน

นิติบุคคลคือกลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่กฎหมายกำหนดให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา ซึ่งนิติบุคคลจะเกิดขึ้นได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้นนิติบุคคลจะมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆตามกฎหมาย

ภงด1ก คืออะไร

ภงด1ก คือแบบสรุปรายการเงินได้และภาษีเงินได้ทั้งปีของพนักงานของบริษัท ที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น โดยทางบริษัทจะต้องยื่นสรุปยอดเงินได้ของพนักงานทุกๆคน ไม่ว่าพนักงานคนนั้นจะมีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาหรือไม่