แบบ ภพ 30 มีวิธีการกรอกข้อมูลอย่างไร

สอนบัญชีภาษีฟรี

แบบ ภพ 30 คือแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเกิดจากการสรุปยอดภาษีของทั้งเดือน โดยการเอา ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ หากเดือนไหนที่มีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อบริษัทต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร หากเดือนไหนที่ภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อ บริษัทสามารถขอคืนภาษี หรือสามารถนำไปเครดิตภาษีในเดือนถัดไปได้

มีความรู้เรื่องนี้แล้ว เราใดสนใจจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเองเชิญทางนี้ : จดทะเบียนบริษัท

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ธเณศ คอมพิวเตอร์

ปูพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

เพื่อเป็นการปูพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ก่อนที่จะอ่านบทความนี้ผมแนะนำให้ทุกเราอ่านบทความเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มกันก่อนนะครับ : ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภพ 30)

บริษัทจะต้องรวบรวมภาษีขาย และภาษีซื้อที่เกิดขึ้นทั้งหมดในแต่ละเดือน มาคำนวณเพื่อชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากรดังต่อไปนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

หาก ภาษีขาย > ภาษีซื้อ บริษัทจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร เพราะบริษัทเป็นผู้เรีบกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนกรมสรรพากร

หาก ภาษีซื้อ > ภาษีขาย บริษัทจะสามารถนำยอดส่วนเกินไปเครดิตภาษีในเดือนถัดไป หรือจะขอภาษีคืนเป็นเงินสดก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการจะเลือกขอเครดิตมากกว่าขอคืนภาษี เพราะหากขอคืนภาษีจะต้องถูกเจ้าหน้าที่สรรพากรเรียกตรวจสอบ

ลองมาดูตัวอย่างนี้กันนะครับ กรณีบริษัท ก มีภาษีขายทั้งสิ้น 14 บาท มีภาษีซื้อทั้งสิ้น 10 บาท กรณีนี้ ภาษีขาย > ภาษีซื้อ ดังนั้นบริษัท ก จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากรเป็นจำนวน 14 – 10 = 4 บาท

จริงๆแล้วผู้ประกอบการไม่ได้เป็นผู้รับภาระภาษีมูลเพิ่มที่แท้จริง เนื่องจากภาษีขายก็เรียกเก็บมาจากลูกค้า ส่วนภาษีซื้อที่จ่ายไปก็สามารถนำมาหักจากภาษีขายได้ ดังนั้นผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงคือผู้บริโภคสินค้าและบริการอย่างเราๆที่ไม่สามารถไปขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากใครได้แล้วนั่นเอง ตามแผนภาพดังนี้

แผนภาพ Vat

จุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point)

จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) หมายถึง จุดที่ผู้ขายจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่สรรพากร ซึ่งจุดความรับผิดในกรณีขายสินค้ากับให้บริหารนั้นจะแตกต่างกันออกไป

จุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) มีด้วยกัน 3 ข้อดังนี้

  1. มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า
  2. ได้รับชำระราคาสินค้า
  3. ได้ออกใบกำกับภาษี

อันไหนเกิดก่อนให้ถือว่าอันนั้นเป็นจุดที่จะต้องเกิดภาษีขาย ผู้ขายจะต้องเรียกเก็บเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ และนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร

จุดรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม

ดังนั้นโดยส่วนใหญ่ หากเป็นการขายสินค้า จุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) จะเกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ลูกค้าดังนั้นรูปแบบเอกสารสำหรับธุรกิจขายสินค้าจะมักออกเอกสาร “ใบส่งของ / ใบกำกับภาษี”

หากเป็นการให้บริการ จุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) จะเกิดขึ้นเมื่อมีการรับชำระค่าบริการ ดังนั้นรูปแบบเอกสารสำหรับธุรกิจขายสินค้าจะมักออกเอกสาร “ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี”

แนะนำหลักสูตรเรียนออนไลน์

ธเณศ คอมพิวเตอร์

สำหรับท่านใดที่สนใจเรียนหลักสูตรออนไลน์ ดูรายละเอียดได้ดังนี้

  1. บัญชีภาษีสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
  2. อบรมบัญชีออนไลน์ (เก็บชั่วโมง CPD CPA)

บัญชีภาษีสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ เน้นปูพื้นฐานให้สำหรับผู้ที่เพิ่งจดจัดตั้งบริษัทใหม่ แต่ยังไม่มีความรู้อะไรเลย

อบรมบัญชีออนไลน์ สามารถเก็บชั่วโมง CPD CPA ได้ (สำหรับผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชี)

วิธีการกรอกแบบ ภพ 30

ก่อนที่จะไปดูวิธีการกรอกแบบ ภพ 30 เรามาดูแบบ ภพ 30 เต็มๆกันก่อนดีกว่า

แบบ ภพ 30 จะประกอบไปด้วยข้อมูลทั้งหมด 3 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1 : จะเป็นการกรอกข้อมูลรายละเอียดของบริษัท ข้อมูลเดือนและปีที่ยื่นแบบภาษี

ส่วนที่ 2 : จะเป็นการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขเกี่ยวกับ ยอดขาย ภาษีขาย ยอดซื้อ ภาษีซื้อ ภาษีที่ต้องชำระ ภาษีที่ชำระเกิน รวมทั้ง เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม เป็นต้น

ส่วนที่ 3 : จะเป็นการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการขอคืนภาษีกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการขอคืนภาษี และจะมีส่วนที่ให้ผู้มีอำนาจของบริษัทเซ็นรับรองแบบ

ส่วนที่ 1 :

ทางฝั่งซ้ายให้ใส่ข้อมูลส่วนตัวของบริษัท และในกรณีที่มีสาขาจะต้องกรอกข้อมูลตรงฝั่งขวาบนโดยให้เลือกว่าแยกยื่นแบบเป็นรายสถานประกอบการ หรือรวมยื่นแบบ

ในส่วนที่เป็นด้านขวาล่างให้เลือกว่การยื่นแบบดังกล่าวเป็นการ ยื่นปกติ หรือยื่นเพิ่มเติม เป็นการยื่นภายในกำหนดเวลาหรือเกินกำหนดเวลา และให้ยื่นเดือนและปีในการยื่นแบบเพื่อเสียภาษี

ส่วนที่ 2 :

ภพ 30_2

ส่วนนี้จะเป็นเรื่องของการคำนวณภาษี

  1. ยอดขายในเดือนนี้ให้กรอกจำนวนเงินยอดขายทั้งสิ้น (ยอดขายที่ต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 และร้อยละ 0 รวมกับยอดขายที่ได้รับยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในเดือนภาษีนั้น
  2. ลบ ยอดขายที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 (ถ้ามี) ให้กรอกจำนวนเงิน โดยยกยอดมาจากรายงานภาษีขาย เฉพาะยอดขายสินค้าหรือบริการที่เสียภาษี ในอัตราร้อยละ 0 เช่น การส่งออกสินค้า เป็นต้น
  3. ลบ ยอดขายที่ได้รับยกเว้น (ถ้ามี) ให้กรอกจำนวนเงินเฉพาะยอดขาย ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร ในเดือนภาษี
  4. ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ( – 2. – 3.) ให้กรอกผลลัพธ์ที่ได้จากการ นำยอดขายในเดือนภาษีนี้ตาม 1. ลบด้วยยอดขายที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตาม 2. และลบด้วยยอดขายที่ได้รับยกเว้นตาม 3
  5. ภาษีขายเดือนนี้ ให้กรอกจำนวนเงินภาษีขายโดยยกยอดมาจาก ยอดรวมของช่อง “จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม” ในรายงานภาษีขาย
  6. ยอดซื้อที่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีเดือนนี้(หรือกรณี ยื่นเพิ่มเติม (1) ยอดซื้อแจ้งไว้ขาด (6.2) ยอดขายแจ้งไว้เกิน) ให้กรอกเฉพาะ จำนวนเงินยอดซื้อที่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีของเดือนภาษีนี้
  7. ภาษีซื้อเดือนนี้ (ตามหลักฐานใบกำกับภาษีของยอดซื้อตาม ) ให้กรอกจำนวนเงินภาษีซื้อเดือนนี้ตามหลักฐานใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปของ ยอดซื้อ
  8. ภาษีที่ต้องชำระเดือนนี้ (ถ้า 5 มากกว่า 7) ให้นำจำนวนภาษีขาย เดือนนี้ตาม 5 ลบด้วยจำนวนภาษีซื้อเดือนนี้ตาม 7 ผลลัพธ์ที่่ได้ให้นำมากรอกใน 8
  9. ภาษีที่ชำระเกินเดือนนี้(ถ้า 5 น้อยกว่า 7) ให้นำจำนวนภาษีซื้อ เดือนนี้ตาม ลบด้วยจำนวนภาษีขายเดือนนี้ตาม 5. ผลลัพธ์ที่ได้ให้นำมากรอกใน 9.
  10. ภาษีที่ชำระเกินยกมา กรณีผู้ประกอบการมีภาษีที่ชำระเกินในเดือนก่อน และไม่ได้ขอคืนภาษีเป็นเงินสดหรือให้โอนเข้าธนาคาร ให้กรอกจำนวนเงินภาษีที่ ชำระเกินซึ่งยกยอดมาจากเดือนภาษีก่อน
  11. ภาษีสุทธิที่ต้องชำระ (ถ้า มากกว่า 10.) ให้กรอกจำนวนเงินภาษีสุทธิ ที่ต้องชำระโดยนำจำนวนเงินตาม 8. ลบด้วยจำนวนเงินตาม 10. ผลลัพธ์ที่่ได้ให้นำมา กรอกใน 11.
  12. ภาษีสุทธิที่ชำระเกิน ((ถ้า มากกว่า 8.) หรือ (9. รวมกับ 10.)) ถ้าภาษี ที่ชำระเกินยกมาตาม 10. มากกว่าภาษีที่ต้องชำระเดือนนี้ตาม 8. หรือมีทั้งภาษีที่ ชำระเกินเดือนนี้ตาม 9. และภาษีที่ชำระเกินยกมาตาม 10. จะเป็นภาษีสุทธิที่ชำระเกิน ให้นำจำนวนเงินตาม 10. ลบด้วยจำนวนเงินตาม 8. หรือนำจำนวนเงินตาม 9. บวกกับจำนวนเงินตาม 10. แล้วแต่กรณี ผลลัพธ์ที่ได้ให้นำมากรอกใน 12.
  13. เงินเพิ่ม ในกรณีผู้ประกอบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกำหนดเวลา จะต้องคำนวณและชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษี ที่ต้องชำระเดือนนี้ตาม 8. ทั้งนี้ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ยื่นแบบ ภ.พ.30 ของเดือนภาษีนั้นจนถึงวันยื่นแบบ ภ.พ.30 และชำระภาษี
  14. เบี้ยปรับ ในกรณีผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป หรือยื่นเพิ่มเติมในกรณียอดขาย แจ้งไว้ขาดและหรือยอดซื้อแจ้งไว้เกิน หรือยื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลาจะต้องคำนวณ และชำระเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่า ของเงินภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งเบี้ยปรับดังกล่าว ลดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ให้กรอกจำนวนเบี้ยปรับที่ขอลดได้แล้วตามระเบียบฯ
  15. รวมภาษีเงินเพิ่ม และเบี้ยปรับที่ต้องชำระ ((+13.+14.) หรือ (13.+14.-12.)) ให้กรอกยอดรวม ภาษีสุทธิที่ต้องชำระตาม 11. บวกเงินเพิ่มตาม 13. บวกเบี้ยปรับตาม 14. หรือเงินเพิ่มตาม 13. บวกเบี้ยปรับตาม 14. ลบภาษีสุทธิที่ ชำระเกินตาม 12. แล้วแต่กรณี
  16. รวมภาษีที่ชำระเกินหลังคำนวณเงินเพิ่มและเบี้ยปรับแล้ว (-13. -14.) ถ้าภาษีสุทธิที่ชำระเกินตาม 12. มีจำนวนมากกว่าเงินเพิ่มตาม 13. และเบี้ยปรับ ตาม 14. ให้นำยอดภาษีสุทธิที่ชำระเกินตาม 12. ลบเงินเพิ่มตาม 13. และลบเบี้ยปรับ ตาม 14. ได้ผลลัพธ์เท่าไร ให้นำยอดมากรอกใน 16.

ส่วนที่ 3

ภพ 30_3

ทางฝั่งซ้ายล่างการขอคืนภาษี ถ้าผู้ประกอบการประสงค์จะขอคืนภาษีที่ชำระเกิน (ตาม 12. หรือ 16.) เป็นเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ให้ลงลายมือชื่อผู้ขอคืน ในช่อง “การขอคืนภาษี” แล้วแต่กรณีด้วย

หากไม่ลงลายมือชื่อขอคืนภาษีเป็นเงินสด หรือไม่ลงลายมือชื่อขอคืนภาษี โดยให้โอนเข้าธนาคาร จะถือว่าเราขอนำภาษีที่ชำระเกินเดือนนี้ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนถัดไปเว้นแต่กรณียื่นเพิ่มเติม หากไม่ลงลายมือชื่อขอคืนภาษีเป็นเงินสด หรือไม่ลงลายมือชื่อขอคืนภาษีโดยให้โอนเข้าธนาคาร จะไม่ถือว่าเราขอนำภาษีที่ชำระเกิน เดือนนี้ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไปและต้องยื่นขอคืนด้วยแบบ ค.10 เท่านั้น

ทางฝั่งขวาล่าง ให้ผู้ประกอบการลงลายมือชื่อ และในกรณีเป็นนิติบุคคลให้ประทับตรา นิติบุคคล (ถ้ามี) ด้วย พร้อมทั้งกรอกวันเดือนปีที่ยื่นแบบ

สรุปแบบ ภพ 30

เป็นยังไงบ้างครับ จะเห็ได้ว่าการกรอกแบบ ภพ 30 นั้นไม่ได้ยากเลยใช่มั้ยครับ ถ้าเราเข้าใจในหลักการพื้นฐานของภาษีมูลค่าเพิ่ม และวิธีการกรอกแบบ ภพ 30 ก็จะสามารถกรอกแบบกันได้เองทุกคน หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กรมสรรพากร

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า

ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ