ใบกำกับภาษี คืออะไร

ใบกำกับภาษี คือ

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มออกให้แก่ลูกค้าเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าและให้บริการ ในบทความนี้เรามาทำความเข้าใจในทุกๆแง่มุมของใบกำกับภาษีกัน

มีความรู้เรื่องใบกำกับภาษีแล้ว ท่านใดสนใจจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเองเชิญทางนี้ : จดทะเบียนบริษัทออนไลน์

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ธเณศ คอมพิวเตอร์

ใครเป็นผู้ที่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

หลังจากที่ทราบแล้วว่าใบกำกับภาษี คืออะไร ในส่วนนี้เรามาดูกันว่าใครเป็นผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) กับสรรพากรเป็นผู้ที่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าและให้บริการ ผู้ประกอบการในที่นี้จะรวมถึงบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)

ใครที่ยังสงสัยว่าภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไรทำไมต้องจดทะเบียนผมแนะนำให้อ่านบทความนี้ก่อนครับ : ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

เรื่องที่ควรระวังที่ผมเคยเห็นมาในหลายๆกรณีคือมีผู้ประกอบการหลายๆท่านที่ไม่เข้าใจ ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ดันไปออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเนื่องจากลูกค้าร้องขอ อันนี้จริงๆแล้วไม่สามารถทำได้นะครับ สำหรับผู้ประกอบที่ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีแต่ดันไปออกใบกำกับภาษีมีโทษดังนี้

ความรับผิดทางแพ่ง

1.เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้หรือลดหนี้(มาตรา89(6))

2.เสียเงินเพิ่มร้อยละ1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินที่ต้องเสียภาษี (มาตรา89/1) นอกจากนั้น จะต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่แสดงในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้หรือ ลดหนี้(มาตรา86/3)

โทษทางอาญา

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3เดือนถึง 7ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 200,000 บาท (มาตรา 90/4(3))

เห็นโทษแบบนี้แล้ว ดังนั้นหากคุณไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) อย่าไปออกใบกำกับภาษีกันนะครับ

ผู้ประกอบการจะต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่

ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้เราจะต้องทำความเข้าในใจเรื่องจุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) กันก่อน โดยทั่วไปหากเป็นการขายสินค้าจุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งสินค้าไปให้แก่ลูกค้า หากเป็นการให้บริการแก่ลูกค้าจุดความรับผิดจะเกิดขึ้นตอนได้รับชำระเงินจากลูกค้า

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องจุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) กันได้ในบทความนี้ : ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

ดังนั้นจากคำถามที่ว่าผู้ประกอบการจะต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่ คำตอบก็คือเมื่อจุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) ได้เกิดขึ้นแล้วนั่นเอง ดังนั้นในกรณีทั่วไปการขายสินค้าจะต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อส่งของให้แก่ลูกค้า ส่วนการให้บริการจะออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับชำระเงินตาม Tax point ที่เกิดขึ้น

จุดรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประเภทของใบกำกับภาษี คือ

ใบกำกับภาษีนั้นมี 2 ประเภทคือใบกำกับภาษีเต็มรูปและใบกำกับภาษีอย่างย่อ

  1. ใบกำกับภาษีเต็มรูป เป็นใบกำกับภาษีที่ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีออกให้แก่ลูกค้าอย่างเต็มรูปแบบเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าและให้บริการ ซึ่งเมื่อผู้ซื้อได้รับใบกำกับภาษีเต็มรูปแล้วสามารถนำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปลงบัญชีบันทึกค่าใช้จ่าย และภาษีซื้อได้

ภาษีซื้อดังกล่าวสามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในแต่ละเดือนในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากรได้

  1. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ เป็นใบกำกับภาษีที่ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีออกให้แก่ลูกค้าอย่างง่าย โดยไม่ต้องมีข้อมูลครบถ้วนเหมือนกับใบกำกับภาษีเต็มรูป ผู้ประกอบการที่สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้คือผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการให้แก่ลูกค้ารายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น ธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร เป็นต้น

ใบกำกับภาษีเต็มรูป คือ

ตัวอย่างใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเป็นดังต่อไปนี้

  1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด – ในส่วนนี้ใบกำกับภาษีจะคู่กับใบอื่นๆในใบเดียวกันได้ เช่น ในกรณีธุรกิจขายสินค้า จุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) จะเกิดขึ้นเมื่อส่งของเอกสารที่ออกจะเป็น “ใบส่งสินค้า / ใบกำกับภาษี” หรือในกรณีธุรกิจให้บริการ จุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) จะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทได้รับชำระเงิน ดังนั้นเอกสารที่ออกจะเป็น “ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี”
  2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี – ต้องเป็นชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ตามใบ ภพ.20
  3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
  6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
  7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี – วันที่ในใบกำกับภาษีจะเป็นไปตามจุดความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point)

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือ

ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นดังต่อไปนี้

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  1. คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ต้องเห็นเด่นชัด
  2. ชื่อหรือชื่อย่อและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
  3. หมายเลขลำดับของใบกำกับและหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
  4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
  5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการโดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
  6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษีเอาไปใช้ทำอะไร

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยปกติแล้วนั้นจะต้องมีการยื่นแบบ ภพ.30 เป็นประจำทุกเดือน ดังนั้นใบกำกับภาษีที่ออกต้องถูกรวบรวมสำเนาใบกำกับภาษีเพื่อนำเป็นหลักฐานในการสรุปยอดขายในแบบ ภพ.30 ส่วนใบกำกับภาษีซื้อต้นฉบับที่ได้รับมานั้น ใบกำกับภาษีที่ได้รับต้องถูกรวบรวมเพื่อนำเป็นหลักฐานในการสรุปยอดซื้อในแบบ ภพ.30 นั่นเอง

ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการยื่นแบบ ภพ.30 : การยื่นภาษีมูลค่าพิ่ม มีขั้นตอนอย่างไร

ใบกำกับภาษีซื้อต้องนำมาใช้ภายใน 6 เดือนนับอย่างไร?

เวลาที่เราได้รับใบกำกับภาษีซื้อมาจากการซื้อสินค้า/บริการ ตามกฎหมายกำหนดให้กิจการสามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวไปเคลมภาษีในเดือนนั้น แต่ไม่เกิน 6 เดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี

เราลองมาดูตัวอย่างวิธีการนำเดือนกัน

สมมติบริษัท A ได้รับใบกำกับภาษีซื้อมาในเดือน มค.67 นับไปอีก 6 เดือน กพ.66 – กค.66 ดังนั้นเดือนสุดท้ายที่สามารถใช้ภาษีซื้อได้คือเดือน กค.66 ซึ่งจะยื่นแบบภาษีภายในวัน 15 สค.66 นั่นเอง

การนับ 6 เดือนใบกำกับภาษีซื้อ

สรุปใบกำกับภาษี คือ

ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารหลักฐานที่สำคัญมากในการยืนยันยอดขาย ภาษีขาย ยอดซื้อ ภาษีซื้อ ดังนั้นใบกำกับภาษีจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาและทำให้ถูกต้อง หากเราทำไม่ถูกต้องอาจทำให้ใบกำกับภาษีเป็นภาษีซื้อต้องห้ามที่ลูกค้าเราไม่สามารถนำไปใช้ได้

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า

ช่วยกันแชร์บทความให้หน่อยครับ