การยื่นภาษีมูลค่าพิ่ม มีขั้นตอนอย่างไร

การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
สอนบัญชีภาษีฟรี

ท่านไหนที่ได้อ่านบทความก่อนๆของผมคงทราบเกี่ยวกับพื้นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม มีขั้นตอนอย่างไร โดยจะเน้นในเรื่องวิธีการกรอกแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ต้องการจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเอง ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ดูรายละเอียดได้ที่ : จดทะเบียนบริษัทออนไลน์

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ดูคำอธิบายบทความในรูปแบบ VDO ที่ :

การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ธเณศ คอมพิวเตอร์

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มคือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัด / บริษัทจำกัด)

ในการจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นหากผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปีผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

แต่หากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ผู้ประกอบการยังไม่ต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือหากผู้ประกอบการต้องการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มถึงแม้ยอดขายจะยังไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีก็สามารถทำได้ ดังนั้นในกรณีดังกล่าวผู้ประกอบการต้องพิจารณาดีๆว่าการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อบริษัทหรือไม่

ศึกษาเพิ่มเติม : จดภาษีมูลค่าเพิ่มดีหรือไม่

ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

การจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายหรือให้บริการถึงเกณฑ์ 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือผู้ประกอบการตัดสินใจเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มถึงแม้ยอดขายจะยังไม่ถึงเกณฑ์ การดำเนินการจดทะเบียนสามารถดำเนินการได้ 2 ช่องทางคือ

  1. การยื่นเอกสารเป็นกระดาษที่สรรพากรพื้นที่ ที่ผู้ประกอบการตั้งอยู่
  2. การยื่นเอกสารผ่านทางออนไลน์

เรามาดูกันว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

การยื่นเอกสารเป็นกระดาษที่สรรพากรพื้นที่ ที่ผู้ประกอบการตั้งอยู่

  1. คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) และคำขอ ภ.พ.01.1 (ถ้ามี)
  2. ภาพถ่ายสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์(กรณีเป็นการเช่า อสังหาริมทรัพย์ เช่น ตึกแถว บ้าน อาคารอาคารชุดพื้นที่ ในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น) หรือภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้ อสังหาริมทรัพย์เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้ อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน)
  3. ภาพถ่ายหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือ ภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีเป็นบุคคลต่างด้าว)
  4. ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (กรณีเป็นบุคคลต่างด้าว)
  5. ภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่ นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดา ตั้งแต่สองคนขึ้นไป อันมิใช่นิติบุคคล
  6. แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการ
  7. กรณีมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์) พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  8. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในอาคารชุด ให้แนบภาพถ่ายหนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ระบุว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

การยื่นเอกสารผ่านทางออนไลน์

ยื่นคำขอผ่านอินเตอร์เน็ตได้ที่ บริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน (ภพ 30)

หลังจากที่ผู้ประกอบเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว ภาระหน้าที่ที่จะต้องจัดทำทุกๆเดือนนั่นคือการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้า ซึ่งรายงานดังกล่าวจะต้องจัดเก็บเอาไว้ที่สถานประกอบการ

นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นประจำทุกๆเดือน โดยยื่นแบบ ภพ 30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (กรณียื่นแบบเป็นกระดาษ) หรือภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป (กรณียื่นแบบทางออนไลน์)

วิธีการในการกรอกแบบ ภพ 30 สามารถแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ข้อมูลทั่วไปของกิจการ 2.การคำนวณภาษี 3.การรับรองเอกสาร

แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อมูลในส่วนที่ 1 ในแบบ ภพ 30 จะเป็นข้อมูลทั่วไปของกิจการ กรอกข้อมูลได้ดังนี้

  1. ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (กิจการ)
  2. ระบุสาขาของกิจการที่ยื่นภาษี (หากมีสาขา)
  3. ระบุว่าเป็นการยื่นแบบปกติหรือการยื่นเพิ่มเติม
  4. ระบุเดือนและปีที่ยื่นภาษี
ข้อมูลทั่วไป ภพ.30

ข้อมูลในส่วนที่ 2 ในแบบ ภพ 30 จะเป็นการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน

กรณีการคำนวณภาษี กรณีภาษีขาย > ภาษีซื้อ

ยกตัวอย่างเช่น ในเดือน สิงหาคม 2563 บริษัทมียอดขายทั้งเดือนที่ 50,000 บาท ดังนั้นภาษีขายคือ 3,500 บาท ยอดซื้อทั้งเดือนอยู่ที่ 30,000 บาท ดังนั้นภาษีซื้อคือ 2,100 บาท ในกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ภาษีขาย > ภาษีซื้อ ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,400 บาท กรณีดังกล่าวต้องกรอกแบบ ภพ 30 ดังต่อไปนี้

กรณีการคำนวณภาษี กรณีภาษีซื้อ > ภาษีขาย

ยกตัวอย่างเช่น ในเดือน สิงหาคม 2563 บริษัทมียอดขายทั้งเดือนที่ 20,000 บาท ดังนั้นภาษีขายคือ 1,400 บาท ยอดซื้อทั้งเดือนอยู่ที่ 40,000 บาท ดังนั้นภาษีซื้อคือ 2,800 บาท ในกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ภาษีซื้อ > ภาษีขาย ดังนั้นทางบริษัทจึงไม่ต้องเสียเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนดังกล่าว แต่สามารถนำส่วนเกินไปเครดิตภาษีในเดือนถัดไปได้ กรณีดังกล่าวต้องกรอกแบบ ภพ 30 ดังต่อไปนี้

เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อมูลในส่วนที่ 3 แบบ ภพ 30 การรับรองเอกสาร

  1. การลงชื่อหากมียอดภาษีที่ชำระเกินและมีความประสงค์จะขอคืนภาษี
  2. การลงชื่อเพื่อรับรองเอกสารการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี กิจการบางแห่งบุคคลที่ลงชื่ออาจเป็นพนักงานที่ปฎิบัติงาน ลงชื่อ พร้อมตราประทับตราของกิจการด้วย
เซ็นแบบ ภพ.30

สรุปการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 30)

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทุกรายต้องยื่นแบบ ภพ 30 เป็นประจำทุกๆเดือนไม่ว่าจะมีรายการซื้อขายหรือไม่ โดยหากยื่นแบบ ภพ 30 แบบกระดาษ ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่หากยื่นแบบ ภพ 30 แบบออนไลน์ ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป

วิธีการกรอกแบบ ภพ 30 ที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้ประกอบการควรศึกษาเพื่อให้กรอกแบบได้อย่างถูกต้อง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านครับ

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า

ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ