บัญชีแยกประเภท พื้นฐานของระบบบัญชีที่ทุกคนควรรู้

บัญชีแยกประเภท

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

ทุกๆธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชี ซึ่งบัญชีแยกประเภทเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจทราบถึงรายละเอียดในแต่ละบัญชีว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ในบทความนี้เราจะมาอธิบายว่าบัญชีแยกประเภทคืออะไร

บัญชีแยกประเภท (General ledger) คืออะไร?

บัญชีแยกประเภทเป็นส่วนหนึ่งของระบบการทำบัญชี ทำให้ทราบที่มาที่ไปของแต่ละบัญชีว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เราลองมาดูตัวอย่างของบัญชีแยกประเภทของเงินฝากธนาคารกัน

ตัวอย่างบัญชีแยกประเภท

ดาวโหลดตัวอย่างบัญชีแยกประเภทได้ ที่นี่

ท่านใดที่ต้องการทราบว่าบัญชีแยกประเภทนั้นอยู่ในขึ้นตอนใดของระบบบัญชี ให้อ่านบทความนี้ : การบัญชีหมายถึงอะไร?

รายละเอียดที่ต้องมีในบัญชีแยกประเภท

ในบัญชีแยกประเภทจะต้องมีรายละเอียดดังนี้

  1. ลำดับ – เป็นลำดับการแสดงรายการบัญชี
  2. วันที่ – เป็นวันที่ที่เกิดรายการตามบัญชีแยกประเภท
  3. คำอธิบาย – เป็นคำอธิบายรายละเอียดของแต่ละรายการว่าคืออะไร
  4. เดบิต – เป็นการแสดงยอดการบันทึกบัญชี เดบิต หรือ เครดิต
  5. เครดิต – เป็นการแสดงยอดการบันทึกบัญชี เดบิต หรือ เครดิต
  6. คงเหลือ – เป็นการแสดงยอดคงเหลือของบัญชีนั้นๆหลังจากบันทึกแต่ละรายการ
  7. เลขที่บันทึกบัญชี (อ้างอิง) – เป็นการอ้างอิงกับเลขที่เอกสารว่ารายการที่เกิดขึ้นนั้นๆสามารถอ้างอิงได้กับเอกสารใบไหนในระบบบัญชี

ท่านใดที่ยังไม่เข้าใจคำว่าเดบิต เครดิต สามารถอ่านบทความนี้ได้เลยครับ : เดบิต เครดิต (Debit Credit) คืออะไร?

การอ่านและวิเคราะห์บัญชีแยกประเภทนั้นทำอย่างไร?

จากตัวอย่างบัญชีแยกประเภทที่ให้มาในหัวข้อที่ 1 เราลองมาฝึกอ่านตัวอย่างบัญชีแยกประเภทของ ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ กัน

  1. จะเห็นได้ว่ากิจการมียอดยกมา ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ จำนวน 1,000 บาท ดังที่แสดงอยู่ในช่องคงเหลือ
  2. ในวันที่ 1/11/2023 กิจการได้รับเงินค่าบริการจากบริษัท A เป็นจำนวน 3,000 บาท ทำให้ยอด ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ ของกิจการเพิ่มเป็น 4,000 บาท (1,000 บาท + 3,000 บาท)
  3. ในวันที่ 2/11/2023 กิจการได้รับเงินค่าบริการจากบริษัท B เป็นจำนวน 5,000 บาท ทำให้ยอด ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ ของกิจการเพิ่มเป็น 9,000 บาท (4,000 บาท + 5,000 บาท)
  4. ในวันที่ 3/11/2023 กิจการได้จ่ายเงินค่าวัสดุ เพื่อใช้ในการให้บริการ 2,000 บาท ดังนั้นยอด ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ ของกิจการลดลงเหลือ 7,000 บาท (9,000 บาท – 2,000 บาท)
  5. ในวันที่ 4/11/2023 กิจการได้จ่ายเงินค่าแรง 1,000 บาท ดังนั้นยอด ธนาคาร – บัญชีออมทรัพย์ ของกิจการลดลงเหลือ 6,000 บาท (7,000 บาท – 1,000 บาท)

สรุปบัญชีแยกประเภท

จะเห็นได้ว่าบัญชีแยกประเภทนั้นมีประโยชน์ ทำให้เจ้าของกิจการทราบที่มาที่ไปของแต่ละบัญชีในงบการเงิน ทำให้เจ้าของกิจการทราบถึงสถานะการเงิน ผลการดำเนินงานของกิจการ ได้เป็นอย่างดี

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า

ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ