เลิกบริษัทมีประเด็นงบการเงินอะไรบ้างที่ควรทราบ

งบการเงินเลิกกิจการ

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

ในการเลิกบริษัทเรื่องงบการเงินเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่ง และเป็นเรื่องที่ทำให้หลายๆบริษัทไม่สามารถเลิกได้ เพราะว่างบการเงินมีปัญหา ซึ่งพอสรรพากรตรจสอบแล้วทำให้มีภาระภาษีเพิ่มเติมเข้ามา ทำให้ไม่สามารถเลิกได้หากบริษัทไม่จ่ายชำระค่าภาษี

ท่านใดต้องการจดทะเบียนเลิกบริษัท โดยผู้เชียวชาญ ดูรายละเอียดได้ที่ : จดทะเบียนเลิกบริษัท

ดูคำอธิบายบทความในรูปแบบ VDO ที่ :

งบการเงินเลิกกิจการ

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ธเณศ คอมพิวเตอร์

ทำไมจึงต้องใส่ใจในงบการเงินเมื่อเลิกบริษัท

ในการเลิกบริษัทจะต้องมีการจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ งบการเงินดังกล่าวจะต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเซ็นรับรอง งบการเงินดังกล่าวจะต้องยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในขั้นตอนการจดเสร็จชำระบัญชี และยื่นที่กรมสรรพากรในการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคลเมื่อเลิกบริษัท

งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการที่ยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายทะเบียนจะเอาไว้ดูรายละเอียดในเรื่องการจดเสร็จชำระบัญชี ว่าบริษัทจะสามารถจดเสร็จชำระบัญชีได้หรือไม่ ถ้างบการเงินไม่มีปัญหาใดๆก็สามารถจดเสร็จชำระบัญชีได้

งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการที่ยื่นที่กรมสรรพากร เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจะเอาไว้ดูรายละเอียดในเรื่องการเสียภาษีว่าบริษัทเสียภาษีถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ (ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนภาษีมูลคาเพิ่ม) โดยภาษีหลักๆที่เจ้าหน้าที่สรรพากรดูนั่นคือ ภาษีเงินได้ของนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ

ดังนั้นจึงถือได้ว่างบการเงิน ณ วันเลิกกิจการจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากต้องนำส่งที่ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร

ลูกหนี้ เจ้าหนี้คงค้างต้องเคลียร์ก่อนเลิกบริษัท

ในการจดทะเบียนเลิก หากบริษัทมีลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้คงค้างอยู่ บริษัทควรที่จะต้องเคลียร์ก่อนให้จบ โดยหากเป็นกรณีลูกหนี้ค้างทางบริษัทจะต้องหาทางเก็บเงินจากลูกหนี้ให้ได้ เนื่องจากหากจดทะเบียนเลิกบริษัทและเสร็จชำระบัญชีไปแล้วจะไม่สามารถตามเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้ ในกรณีที่เป็นเจ้าหนี้คงค้างทางบริษัทก็ควรหาทางเจรจาและจ่ายชำระให้ครบถ้วนก่อนเลิก เพื่อที่จะไม่ได้มีปัญหาฟ้องร้องตามมาว่าบริษัทจดเสร็จชำระบัญชีไปได้อย่างไร โดยที่ยังไม่ได้เคลียร์หนี้

สินค้าคงเหลือควรขายออกไปก่อนเลิกบริษัท

บริษัทที่มีสินค้าคงเหลือค้างอยู่ผมแนะนำให้ขายออกไปก่อนให้เป็น 0 ก่อนจดทะเบียนเลิกบริษัทครับ เนื่องจากว่าหากคุณค้างสินค้าคงเหลือเอาไว้ในงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ ในทางภาษีอากรจะถือว่าสินค้าที่ค้างอยู่ ณ วันเลิกกิจการเป็นการขาย ดังนั้นทางคุณจะต้องหาราคาตลาดที่เหมาะสมให้สรรพากรพิจารณา เพื่อทำการปรับปรุงรายการสินค้าให้ที่เหลือให้เป็นการขาย ในการคำนวณภาษีของนิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม

ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงประเด็นดังกล่าว ในความเห็นส่วนตัวของผมจึงคิดว่าบริษัทควรดำเนินการขายสินค้าคงเหลือออกไปก่อนจดทะเบียนเลิกครับ อย่างไรก็ตามหากสินค้าดังกล่าวไม่มีลูกค้ามาซื้อ และขายไม่ออกแล้ว ให้บริษัทดำเนินการขายสินค้าให้แก่กรรมการหรือผู้ถือหุ้นแทน ประเด็นสำคัญคือราคาขายนั้นจะต้องเป็นไปตามราคาตลาด และสามารถพิสูจน์ได้ว่าราคาที่ขายนั้นเป็นไปตามราคาตลาดแล้ว และยิ่งถ้าขายแล้วมีกำไรด้วยก็จะยิ่งดีครับ จะคุยกับเจ้าหน้าที่สรรพากรได้ง่ายขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

อุปกรณ์ควรขายออกไปก่อนเลิกบริษัท

ในกลุ่มของบัญชีสินทรัพย์ถาวร เช่น บัญชีอุปกรณ์ต่างๆ Concept จะเหมือนกับบัญชีกลุ่มสินค้าคงเหลือครับ นั่นคือ ณ วันที่จดทะเบียนเลิกบริษัทในทางภาษีอากรจะถือว่าเป็นการขาย ดังนั้นหากคุณค้างอุปกรณ์ต่างๆเอาไว้ในงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ ในทางภาษีอากรจะถือว่าอุปกรณ์ที่ค้างอยู่ ณ วันเลิกกิจการเป็นการขาย ดังนั้นทางคุณจะต้องหาราคาตลาดที่เหมาะสมให้สรรพากรพิจารณา เพื่อทำการปรับปรุงรายการอุปกรณ์ให้ที่เหลือให้เป็นการขาย ในการคำนวณภาษีของนิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต้องนำส่งหัก ณ ที่จ่ายให้ครบถ้วน

ปกติแล้วในงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ จะมีบัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ค่าทำบัญชีค้างจ่าย ค่าสอบบัญชีค้างจ่าย หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นๆเป็นต้น ซึ่งตามกฎหมายภาษีอากร ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเหล่านี้จะต้องมีการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากร ซึ่งหากบริษัทนำส่งหัก ณ ที่จ่ายไม่ครบ เจ้าหน้าที่สรรพากรก็จะให้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ครบถ้วนก่อนจึงจะสามารถเลิกบริษัทได้

ดังนั้นหากบริษัทมีภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายก็อย่าลืมนำส่งกันให้ครบถ้วนด้วยนะครับ ก่อนจดเสร็จชำระบัญชี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืออะไร

กำไรสะสมของบริษัทต้องจัดการก่อนเลิก

หากบริษัทเปิดกิจการมาแล้วมีบัญชีกำไรสะสมที่เกิดจากกำไรที่บริษัททำมาหาได้สะสมทบมา ตัวบัญชีกำไรสะสมดังกล่าวนี้จะต้องมีภาระภาษีที่ต้องจ่ายด้วยครับ โดยบริษัทสามารถเลือกเสียภาษีจากตัวกำไรสะสมดังกล่าวได้ 2 วิธี นั่นคือ

  1. จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นก่อนเลิกกิจการ ซึ่งในการจ่ายเงินปันผลนั้นบริษัทจะต้องหัก ณ ที่จ่าย 10% จากผู้ถือหุ้น และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
  2. ค้างกำไรสะสมเอาไว้เลยโดยไม่จ่ายเงินปันผลออกไปก่อน ดังนั้นงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการจะยังมีกำไรสะสมค้างอยู่ ซึ่งกำไรสะสมที่ค้างอยู่นี้ก็จะต้องนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้าของผู้ถือหุ้นแต่ละคน โดยแบ่งเฉลี่ยกำไรไปตามสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน

ดังนั้นก่อนเลิกบริษัทเราจะต้องมาวิเคราะห์กันก่อน (ให้นักบัญชีช่วย) ว่าเราควรจะเลือกจ่ายเงินปันผลก่อนเลิก หรือค้างกำไรสะสมเอาไว้ ณ วันเลิกกิจการ วิธีใดผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

สรุป

ประเด็นในงบการเงินตามที่ได้อธิบายไปนั้นเป็นประเด็นหลักๆที่พบได้บ่อยในการเลิกบริษัท หากงบการเงินของบริษัทคุณมีประเด็นต่างๆเหล่านี้ ก็ควรที่จะมีการวางแผน และจัดการให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการเลิกนะครับ เนื่องจากว่าหากเลิกไปแล้ว บางประเด็นจะไม่สามารถกลับไปแก้ไขอะไรได้อีกครับ

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า