เลิกกิจการต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง

เลิกกิจการ
สอนบัญชีภาษีฟรี

หลายๆท่านที่ต้องการเลิกกิจการผมแนะนำให้อ่านบทความนี้ครับ เพื่อที่จะได้ทราบว่าในการเลิกกิจการนั้นต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง และจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆก่อน เพื่อที่จะไม่มีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังจากการเลิกกิจการ

ท่านใดต้องการจดทะเบียนเลิกบริษัท โดยผู้เชียวชาญ ดูรายละเอียดได้ที่ : จดทะเบียนเลิกบริษัท

ดูคำอธิบายบทความในรูปแบบ VDO :

เลิกกิจการ

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ธเณศ คอมพิวเตอร์

ผู้ถือหุ้นควรเห็นด้วยกับการเลิกกิจการ

ก่อนที่คุณจะเริ่มดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทสิ่งแรกเลยที่คุณในฐานะผู้ถือหุ้นควรที่จะต้องทำนั่นคือ คุณต้องแจ้งและปรึกษาเรื่องการเลิกกับผู้ถือหุ้นท่านอื่นๆด้วย เนื่องจากหากมีท่านใดที่ไม่เห็นด้วยกับการเลิกและทางคุณดำเนินการเลิกกิจการไปเองโดยที่ผู้ถือหุ้นไม่เห็นด้วย ทางคุณอาจถูกฟ้องร้องได้หากไม่ได้ปฎิบัติตามขั้นตอนการเลิกอย่างถูกต้อง

ดังนั้นหากมีผู้ถือหุ้นท่านใดที่ไม่เห็นด้วยกับการเลิกดังกล่าว ทางคุณจะต้องดำเนินการเลิกและจัดประชุมผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องตามกฎหมายทุกๆขั้นตอนเพื่อปิดความเสี่ยงไม่ให้ถูกผู้ถือหุ้นท่านอื่นฟ้องร้อง โดยในกฎหมายกำหนดให้ที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนั้นหากคุณดำเนินการจัดประชุมจริงตามกฎหมายและผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมมีมติเห็นด้วยกับการเลิก 3 ใน 4 บริษัทก็จะสามารถเลิกกิจการได้ตามกฎหมาย

ในทางกลับกันหากทางคุณไม่ได้มีการจัดประชุมจริงตามกฎหมายและกรอกเอกสารไปยื่นเพื่อเลิกกิจการ แต่มีผู้ถือหุ้นบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการเลิก กรณีนี้ทางคุณมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องสูงมาก อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องระวังให้ดีครับ

ศึกษาเพิ่มเติม : ปิดบริษัทมีขั้นตอนอย่างไร

งบการเงินย้อนหลังต้องนำส่งให้ครบถ้วนก่อนเลิกกิจการ

ก่อนดำเนินการเลิกกิจการหากบริษัทของคุณมีงบการเงินย้อนหลังที่ยังไม่ได้นำส่ง ทางคุณจะต้องนำส่งงบการเงินย้อนหลังให้ครบถ้วนก่อนเพราะในขั้นตอนการจดเสร็จชำระบัญชี บริษัทจะต้องยื่นงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการด้วย ซึ่งหากไม่มีตัวเลขจากงบการเงินปีก่อนๆยกมา ทางคุณจะไม่สามารถทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการได้ และจะไม่สามารถจดเสร็จชำระบัญชีได้

นอกจากนี้หากคุณไม่ได้ยื่นงบการเงินย้อนหลังให้ครบถ้วน แต่ดันไปจดทะเบียนเลิกแล้ว บริษัทจะไม่สามารถนำส่งงบการเงินย้อนหลังได้แล้วเนื่องจากถือว่าสถานะเป็นเลิกแล้ว ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปถึงการจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการที่จำเป็นจะต้องมีตัวเลขงบการเงินยกมา จึงจะสามารถจัดทำงบการเงินได้ และหากเป็นกรณีนี้ทางคุณจะไม่สามารถหาผู้สอบบัญชีเซ็นงบการเงินได้

กล่าวโดยสรุปคือบริษัทควรที่จะนำส่งงบการเงินให้ครบถ้วนก่อนเลิกบริษัท

นำส่งภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนเลิกกิจการ

หากคุณยังมีภาษีต่างๆที่ค้างชำระกรมสรรพากรอยู่ เช่น ภาษีของนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ทางคุณควรที่จะจัดการภาษีค้างชำระดังกล่าวก่อนเลิกบริษัท เพราะหากคุณไปจดเสร็จชำระบัญชีเรียบร้อยแล้วโดยที่บริษัทยังมีภาษีต่างๆค้างอยู่ นั่นเท่ากับว่าทางคุณยื่นจดทะเบียนอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาประเภทหนึ่ง

ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหากับสรรพากรทีหลัง บริษัทต้องดำเนินการนำส่งภาษีต่างๆให้ครบถ้วนก่อนเลิกบริษัท

ดูรายละเอียดภาษีเพิ่มเติมได้ที่ : กรมสรรพากร

หานักบัญชีที่มีประสบการณ์มาดำเนินการเลิกกิจการ

การเลิกบริษัทนั้นจะมีประเด็นทางด้านงบการเงินและทางด้านภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก หากคุณเลือกใช้นักบัญชีที่ไม่มีประสบการณ์ และวิเคราะห์การเลิกมาไม่ดี ทางคุณมีความเสี่ยงที่จะถูกเรียกเก็บภาษีค่อนข้างมาก หากไม่รัดกุมหรือทำไม่ถูกต้อง ประเด็นทางด้านบัญชีภาษีต่างๆที่พบเจอบ่อยที่อาจทำให้คุณเสียภาษีเพิ่มเป็นจำนวนมาก หากไม่ได้มีการวางแผนการเลิกที่ดีพอ เช่น

  1. มีสินค้าคงเหลือค้างมาในงบการเงินเป็นจำนวนมาก
  2. มีบัญชีประเภท ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ค้างมาในงบการเงิน
  3. มีเงินกู้ยืมกรรมการในงบการเงิน
  4. มีดอกเบี้ยค้างรับในงบการเงิน
  5. มีกำไรสะสมสูงในงบการเงิน

ประเด็นหล่านี้ควรจะนำมาวิเคราะห์และพิจารณาก่อนเลิกว่าบริษัทควรจะดำเนินการอะไรก่อนบ้าง เพื่อให้ประหยัดภาษีได้มากที่สุดแบบถูกต้องตามกฎหมาย

สำหรับประเด็นแต่ละประเด็นดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินนั้นผมจะมีการอธิบายละเอียดอีกทีหนึ่งในบทความถัดไป

ต้องจดทะเบียนเลิกที่กรมสรรพากรด้วย (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

หากบริษัทอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากการจดทะเบียนเลิกที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ บริษัทจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเลิกที่กรมสรรพากรด้วย โดยการยื่นแบบ ภพ.09 ภายใน 15 วันนับจากวันที่จดทะเบียนเลิกกิจการ

ดูรายละเอียดเอกสารได้ที่บทความนี้ : ปิดบริษัทมีขั้นตอนอย่างไร

หลังจากที่ยื่น ภพ.09 แล้ว ทางคุณต้องรอให้สรรพากรเรียกตรวจประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับบริษัทคุณว่าได้นำส่งภาษีถูกต้องครบถ้วนหรือยัง ถ้าสรรพากรไม่ติดใจแล้ว ทางคุณจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อลขประจำตัวผู้เสียภาษีออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม” ทางคุณจึงจะสามารถจดเสร็จชำระบัญชีได้

สรุป

เรื่องต่างๆที่ควรระวังในบทความนี้เป็นประเด็นสำคัญๆที่ผมยกมา จริงๆแล้วจะมีประเด็นยิบย่อยอีกมากที่ควรระวัง ดังนั้นนักบัญชีที่จะมาช่วยดำเนินการเลิกกิจการให้บริษัทจึงมีความสำคัญมาก บริษัทควรจ้างนักบัญชีที่มีประสบการณ์ จะได้ไม่มีปัญหาตามมาครับ

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า