การบัญชี หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเชิงเศรษฐกิจ และนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลโดยการ บันทึก จำแนก และทำการสรุปผลที่เป็นตัวเงินออกมาเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ
accounting แปลว่า การบัญชีนั่นเอง ซึ่งหมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเชิงเศรษฐกิจ และนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลโดยการ บันทึก จำแนก และทำการสรุปผลที่เป็นตัวเงินออกมาเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ
ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึงขั้นตอนต่างๆเหล่านี้กันครับ เพื่อให้เข้าใจความหมายว่า การบัญชี หมายถึงอะไร
น้องๆคนไหนกำลังตัดสินใจว่าจะเรียนคณะบัญชีดีหรือไม่ และอยากเรียนรู้เบื้องต้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ลองดูรายละเอียดที่นี่ได้ครับ : สอนอ่านงบการเงิน
ผู้ทำบัญชี / ผู้สอบบัญชี ต้องการเก็บชั่วโมง CPD เชิญทางนี้ : อบรมบัญชีออนไลน์
ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน
- ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
- ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
- ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
- Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
- ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
- ดูรีวิวจากลูกค้า
- About me
การบัญชี (การทำบัญชี) มีขั้นตอนอย่างไร
การบัญชี (accounting) หรือการทำบัญชี มีขั้นตอนหลักๆดังต่อไปนี้
- การรวบรวมข้อมูล
- การบันทึกข้อมูล
- การจำแนกข้อมูล
- การสรุปข้อมูล
เมื่อดำเนินการครบทุกขั้นตอนดังกล่าวแล้ว เราก็จะได้รายงานทางการเงินออกมาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้งบการเงินอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัท
การรวบรวมข้อมูล
การบัญชี (accounting) หรือการทำบัญชีขั้นแรกจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่กระทบต่อการเงินของบริษัทมาให้ครบถ้วน เพื่อนำข้อมูลและรายการดังกล่าวมาเข้าสู่กระบวนการทางบัญชีในขั้นตอนต่อไป ข้อมูลหลักๆที่ต้องรวบรวมโดยทั่วไปแล้วจะมีดังนี้
- ข้อมูลและเอกสารการขาย
- ข้อมูลและเอกสารการรับเงิน
- ข้อมูลและเอกสารการซื้อ
- ข้อมูลและเอกสารการจ่ายเงิน
- ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวร
- ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
- ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน
การบันทึกข้อมูล
ในการบันทึกข้อมูลในระบบบัญชีนั้นจะบันทึกข้อมูลในรูปแบบ Debit (Dr.) และ Credit (Cr.) ซึ่งเป็นระบบการบันทึกบัญชีที่ใช้กันสากลทั่วโลก โดยหลักการแล้วจะสามารถสรุปได้ดังนี้ (ในส่วนนี้ถ้าใครไม่ได้เรียนบัญชีมาอาจจะเข้าใจยากหน่อยนะครับ)
- สินทรัพย์เพิ่มขึ้น – Debit (Dr.)
- สินทรัพย์ลดลง – Credit (Cr.)
- หนี้สินเพิ่มขึ้น – Credit (Cr.)
- หนี้สินลดลง – Debit (Dr.)
- ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น – Credit (Cr.)
- ส่วนของเจ้าของลดลง – Debit (Dr.)
- รายได้เพิ่มขึ้น – Credit (Cr.)
- รายได้ลดลง – Debit (Dr.)
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น – Debit (Dr.)
- ค่าใช้จ่ายลดลง – Credit (Cr.)
ในขั้นตอนการบันทึกข้อมูล เราก็จะนำเอกสารและข้อมูลรายการค้าทั้งหมดที่เรารวบรวมมาได้จากขั้นตอนก่อนหน้า แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาบันทึกบัญชีในรูปแบบ Debit Credit ในสมุดรายวัน
หากท่านใดสนใจศึกษาเพิ่มเติม อ่านรายละเอียดในบทความนี้ได้เลยครับ : สมการบัญชีและหลักการบัญชีนั้นเป็นอย่างไร
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Debit Credit ได้ที่นี่ : การเดบิตและเครดิต ในหลักบัญชีคู่
สมุดรายวันประเภทต่างๆ
ข้อมูลในสมุดรายวันนั้นจะมี ชื่อบริษัท วันที่บันทึกบัญชี รหัสบัญชี ชื่อบัญชี จำนวนเงิน Debit จำนวนเงิน Credit และคำอธิบายรายการ
ในขั้นตอนการบันทึกข้อมูล จะมีสมุดรายวันประเภทต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องดังนี้
- สมุดรายวันขาย – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกยอดขายของกิจการ
- สมุดรายวันรับ – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกยอดรับเงินของกิจการ
- สมุดรายวันซื้อ – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกยอดซื้อของกิจการ
- สมุดรายวันจ่าย – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกยอดจ่ายของกิจการ
- สมุดรายวันทั่วไป – จะเป็นรายงานทางบัญชีที่เอาไว้บันทึกบัญชีอื่นที่ไม่ได้อยู่ในสมุดรายวันขาย สมุดรายวันรับ สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันจ่าย ข้างต้น
การจำแนกข้อมูล
หลังจากที่เราได้ทำการบันทึกบัญชีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาเราก็จะต้องนำข้อมูลที่บันทึกบัญชีมาจำแนกข้อมูล เพื่อจัดทำบัญชีแยกประเภท เพื่อให้ทราบว่าการเคลื่อนไหว ในแต่ละบัญชียอดเพิ่มขึ้นลดลง และเปลี่ยนแปลงไปจากรายการใด เอกสารใดบ้าง ลองดูตัวอย่างรายงานได้ดังนี้
จากรูปเป็นตัวอย่างบัญชีแยกประเภทของบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งจะเห็นในว่าเงินฝากธนาคาร ของบริษัทเพิ่มขึ้น และลดลง เนื่องจากการรับชำระ และการจ่ายชำระค่าอะไรบ้างในแต่ละวัน และมีเลขที่เอกสารอ้างอิง เพื่อให้สามารถไปหาเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีจากการดูรายงานบัญชีแยกประเภทได้
การสรุปข้อมูล
หลังจากที่ได้จำแนกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นเราก็จะสรุปข้อมูล โดยนำข้อมูลยอดสุดท้ายในบัญชีแยกประเภทในแต่ละบัญชีมาจัดทำเป็นงบทดลอง ตัวอย่างงบทดลอง สามารถแสดงได้ดังนี้
ตัวงบทดลองที่ได้มานี้ เราก็จะนำมา Grouping ใหม่เป็นรายการทางการเงิน (งบการเงิน) ต่างๆดังต่อไปนี้
- งบแสดงฐานะการเงิน – งบแสดงฐานะการเงินเป็นงบที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทนั้นมีฐานะการเงินเป็นอย่างไร ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ณ วันที่ 31/12/64 (จุดเวลา) บริษัทมีสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นจำนวนเท่าไหร่
- งบกำไรขาดทุน – งบกำไรขาดทุนเป็นงบที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ตั้งแต่วันที่ 01/01/64 – 31/12/64 (ช่วงเวลา) บริษัทมี รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรขาดทุน เป็นจำนวนเท่าใด
- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น – งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
- งบกระแสเงินสด – งบกระแสเงินสดเป็นงบที่แสดงกระแสเงินสดรับ กระแสเงินสดจ่ายของกิจการ ว่าช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งบริษัทมีกระแสเงินสดรับจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด และใช้จ่ายไปในเรื่องใดบ้าง
- หมายเหตุประกอบงบการเงิน – หมายเหตุประกอบงบการเงินจะเป็นส่วนอธิบายเพิ่มเติมสำหรับข้อมูลของบริษัทและข้อมูลในงบการเงินให้มีความชัดเจนมากยื่งขึ้น เช่น ข้อมูลทั่วไปของบริษัท ลักษณะธุรกิจบริษัท นโยบายบัญชีต่างๆที่บริษัทใช้ แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละบัญชีของงบการเงิน เป็นต้น
ท่านใดสนใจดูงบการเงินจริง และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม อ่านรายละเอียดได้ในบทความนี้เลยครับ : งบการเงินคืออะไร
สรุปการบัญชี หมายถึงอะไร
หลังจากอ่านบทความนี้จบ เราได้รู้แล้วว่าการบัญชี (accounting) หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเชิงเศรษฐกิจ และนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลโดยการ บันทึกในสมุดรายวัน จำแนก และทำการสรุปผลที่เป็นตัวเงินออกมาเป็นรายงานในรูปแบบต่างๆ เช่น งบทดลองและบัญชีแยกประเภท
หรือบางคนอาจสงสัยว่า accounting แปลว่าอะไร? accounting มีความหมายเดียวกันกับการบัญชีนั่นเอง
รายงานต่างๆที่ออกมาก็เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้งบการเงินอ่าน เช่น เจ้าของบริษัทก็ต้องการอ่านงบการเงิน เพื่อให้ทราบฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัท เพื่อเอาไปวางแผนเชิงกลยุทธ์ของบริษัท, กรมสรรพากรก็ต้องการใช้งบการเงินเพื่อใช้ประเมินประเด็นทางด้านภาษีของบริษัท, ธนาคารก็ต้องการใช้งบการเงินเพื่อประเมิน Credit ของลูกหนี้เพื่อพิจารณาปล่อยกู้ เป็นต้น
ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา
(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)
ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้าช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ