สินค้าคงเหลือ (inventory) สต๊อกสินค้า คืออะไร?

สินค้าคงเหลือ

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

สินค้าคงเหลือ หรือ inventory คือ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้า งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูปที่บริษัทมีไว้เพื่อขายในกิจการ บางคนก็จะเรียกว่าสต๊อกสินค้า ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจทุกๆแง่มุมของสินค้าคงเหลือกัน

ผู้ทำบัญชี / ผู้สอบบัญชี ต้องการเก็บชั่วโมง CPD เชิญทางนี้ : อบรมบัญชีออนไลน์

ท่านใดสนใจหลักสูตรการอ่านงบการเงินเชิญทางนี้ : สอนอ่านงบการเงิน

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ธเณศ คอมพิวเตอร์

สินค้าคงเหลือ (inventory) คืออะไร?

ตามที่ได้อธิบายไปในเบื้องต้นแล้วว่าสินค้าคงเหลือ หรือ inventory (บางคนเรียกว่า สต๊อกสินค้า) คือ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้า งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูปที่บริษัทมีไว้เพื่อขายในกิจการ

วัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้า จะเป็นส่วนประกอบที่นำมาทำให้เกิดสินค้าสำเร็จรูป ยกตัวอย่างเช่น หากเราทำธุรกิจผลิตเสื้อผ้าเพื่อขาย ดังนั้นวัตถุดิบของเราก็คือ ผ้า กระดุม เส้นด้าย เป็นต้น หรือหากเราทำธุรกิจผลิตเครื่องสำอางค์ ดังนั้นวัตถุดิบของเราก็คือสารเคมีต่างๆที่เอามาใช้ในการผลิต เป็นต้น

งานระหว่างทำ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ สินค้าคงเหลือ (inventory) เช่นกัน โดยงานระหว่างทำคือสินค้าที่เข้าสู่กระบวนการผลิตและอยู่ในระหว่างการผลิต เช่น หากเราทำธุกิจผลิตผ้า งานระหว่างทำก็คือ เส้นด้ายที่อยู่ในเครื่องทอผ้า ที่กำลังทอออกมาเป็นตัวผ้า เป็นต้น

สินค้าสำเร็จรูป คือสินค้าที่ผ่านขั้นตอนกระบวนการผลิตเสร็จสิ้นแล้ว และสามารถนำมาขายให้แก่ลูกค้าได้ เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ เป็นต้น หรือหากเราทำธุรกิจผลิตรถยนต์เพื่อขาย สินค้าสำเร็จรูปก็คือรถยนต์ เป็นต้น

ต้นทุนของสินค้าคงเหลือ (inventory) / สต๊อกสินค้า ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

ในส่วนนี้ต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณี นั้นคือกรณีทำธุรกิจซื้อมาขายไปสินค้า และอีกกรณีคือทำธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย

ในกรณีทำธุรกิจซื้อมาขายไปสินค้า ต้นทุนของสินค้าจะประกอบด้วยราคาซื้อ และค่าใช้จ่ายทางตรงอื่นๆที่ทำให้สต๊อกสินค้านั้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หากเราซื้อสินค้าเข้ามาและมีค่าขนส่งในการซื้อสินค้า เราก็จะต้องรวมค่าขนส่งดังกล่าวเป็นต้นทุนของสินค้าด้วยเพราะค่าขนส่งเป็นค่าใช้จ่ายทางตรงอื่นๆที่ทำให้สินค้านั้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น หากเราซื้อสต๊อกสินค้าในราคา 100 บาท และมีค่าขนส่ง 3 บาท ต้นทุนของสินค้าก็จะอยู่ที่ 100 + 3 = 103 บาท เป็นต้น

ในกรณีที่เราทำธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย ต้นทุนของสินค้าจะประกอบด้วย 1) วัตถุดิบทางตรง 2) ค่าแรงงานทางตรง 3) ค่าใช้จ่ายในการผลิต 4) ค่าใช้จ่ายทางตรงอื่นๆที่ทำให้สินค้านั้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

วิธีการคำนวณต้นทุนขายสินค้าคงเหลือ (inventory) / สต๊อกสินค้า 

ในปัจจุบันเวลาที่เราขายสินค้าออกไป จะมีวิธีในการคำนวณต้นทุนขายอยู่ 3 วิธีหลักๆดังนี้

  1. วิธีราคาเจาะจง (Specific)
  2. วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)
  3. วิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนสินค้าที่ซื้อเข้ามาแต่ละงวด (Weighted Average)

วิธีราคาเจาะจง (Specific) เหมาะสำหรับเอาไว้ใช้กรณีที่สต๊อกสินค้าแต่ละชิ้นจะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง เมื่อมีรายการขายสินค้าก็จะบันทึกจำนวนต้นทุนของสินค้าชิ้นนั้นเลย ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะกับสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ ไม่สามารถสับเปลี่ยนได้ เช่น เครื่องเพชรหรือชุดเฟอร์นิเจอร์สั่งทำ เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น หากซื้อสต๊อกสินค้า Z ซึ่งมีมูลค่า 1,000 บาท ก็ต้องบันทึกบัญชีว่ามีสินค้าคงเหลืออยู่ 1,000 บาท ต่อมาเมื่อซื้อสต๊อกสินค้า X ซึ่งมีมูลค่า 1,200 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือก็จะเท่ากับ 2,200 บาท (1,000 + 1,200) เมื่อซื้อสต๊อกสินค้า Y ที่มีมูลค่า 1,500 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือรวมก็จะเท่ากับ 3,700 บาท (1,000 + 1,200 + 1,500) ต่อมาเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าเกิดขึ้น ก่อนจะบันทึกบัญชีก็ต้องกลับไปดูให้ชัดเจนว่าเป็นสินค้าชิ้นไหน หากเป็นสต๊อกสินค้า X มูลค่าของสินค้าคงเหลือในโกดังก็จะเหลือ 2,500 บาท (1,000 + 1,500) และมูลค่าต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุนเท่ากับ 1,200 บาทตามมูลค่าที่ซื้อมาของสต๊อกสินค้า X

คำนวณต้นทุนแบบเจาะจง

วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นวิธีที่เข้าใจง่ายและบันทึกได้ไม่ยุ่งยาก ซึ่งจากชื่อก็ได้บอกอยู่แล้วว่า “เข้าก่อน ออกก่อน” หรือหากจะขยายความก็คือ หากสินค้า Lot A, B, C เข้ามาในโกดังตามลำดับ เมื่อขายออกไป สินค้า Lot A ย่อมต้องออกก่อนสินค้า Lot B และ C

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท W สินค้า Lot A มีมูลค่า 110 บาท สินค้า Lot B มีมูลค่า 120 บาท สินค้า Lot C มีมูลค่า 100 บาท เมื่อได้รับสินค้า Lot A, B และ C เข้ามาตามลำดับ มูลค่าของสินค้าคงเหลือในโกดังจะเท่ากับ 330 บาท (110 + 120 + 100) ต่อมาเมื่อมีรายการขายเกิดขึ้น ให้ถือว่าสินค้า Lot A ออกไปชิ้นแรก เพราะฉะนั้นเมื่อมีการบันทึกบัญชีให้ถือว่ามีต้นทุนขาย 110 บาท และมูลค่าสินค้าคงเหลือเท่ากับ 220 บาท (120 + 100) และเมื่อได้รับออเดอร์จากลูกค้าอีกก็ให้ถือว่าขายสินค้า Lot B ออกไป จะทำให้ต้นทุนขายมีมูลค่า 230 บาท (110 + 120) และสินค้าคงเหลือมีมูลค่าทั้งสิ้น 100 บาท หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เหลือเพียงแค่สินค้า Lot C เท่านั้นในโกดัง

วิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนสินค้าที่ซื้อเข้ามาแต่ละงวด (Weighted Average) สำหรับวิธีนี้ต้นทุนต่อหน่วยก็คือต้นทุนสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย หารด้วยจำนวนหน่วยที่มีไว้เพื่อขาย

ยกตัวอย่างเช่น  บริษัทมีสต๊อกสินค้าคงเหลือต้นงวด 200 ชิ้น มูลค่า 400 บาท ซึ่งต่อมาในงวดดังกล่าวบริษัทได้ซื้อสต๊อกสินค้าเพิ่ม 400 ชิ้น มูลค่า 1,700 บาท และได้รับออเดอร์ขายออกไปให้ลูกค้า 500 หน่วย ซึ่งหมายความว่าบริษัทจะเหลือสินค้า อยู่ 100 หน่วย การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost of goods sold) และมูลค่าของสินค้าคงเหลือจะทำเมื่อสิ้นงวดแล้ว แต่ก่อนที่จะคำนวณมูลค่าของจำนวนทั้งสองต้องนำมูลค่าของสินค้าทั้งหมดมาถัวเฉลี่ยก่อน

สินค้าคงเหลือจะมีมูลค่าต่อหน่วยเท่ากับ 3.5 บาท (400 + 1,700)/(200 + 400) แล้วจึงนำไปคำนวณสินค้าคงเหลือซึ่งมีอยู่ 100 ชิ้น จึงมีมูลค่า 350 บาท (3.5 x 100) ส่วนต้นทุนขายของสินค้าจำนวน 500 หน่วยจะมีมูลค่าเท่ากับ 1,750 บาท (3.5 x 500)

วิธีการคำนวณต้นทุนผลิตและต้นทุนขายสำหรับธุรกิจผลิตสินค้า

สำหรับธุรกิจที่ผลิตสินค้าเพื่อขายจะมีสูตรในการคำนวณต้นทุนผลิต และต้นทุนขายดังนี้

ต้นทุนผลิต = งานระหว่างทำต้นงวด + วัตถุดิบทางตรงใช้ไป + ค่าแรงทางตรง + ค่าใช้จ่ายการผลิต – งานระหว่างทำปลายงวด

งานระหว่างทำ คือ สินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิต

วัตถุดิบทางตรง คือ วัตถุดิบทางตรงที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าให้ออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ วัตถุดิบทางตรงก็คือไม้

ค่าแรงทางตรง คือ ผลตอบแทนของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น เงินเดือน OT ค่าแรงของ ฝ่ายผลิต ฝ่ายคลังสินค้า เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายการผลิต คือ วัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงทางอ้อม หรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นในขบวนการผลิจหรือโรงงาน

ต้นทุนขาย = สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด + ต้นทุนผลิต – สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด

สินค้าสำเร็จรูป คือ สินค้าที่ผลิตออกมาเสร็จแล้วและพร้อมขาย ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ สินค้าสำเร็จรูป ก็คือเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตเสร็จนั่นเอง

สรุป

หลังจากที่ได้อื่นบทความนี้แล้ว หวังว่าทุกท่านจะได้ความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ หรือ inventory (บางคนเรียกว่า สต๊อกสินค้า) คืออะไร รวมทั้งการคำนวณต้นทุนต่างๆของสินค้า หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือได้ที่ : สภาวิชาชีพบัญชี

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า

ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ