ค่าเสื่อมราคา คือ การทยอยตัดค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ถาวร ตามอายุการให้ประโยชน์ของทรัพย์สิน เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินทรัพย์ถาวรทยอยบันทึกบัญชีออกไปในรูปค่าเสื่อมราคา ในบทความนี้เราจะมาอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสื่อมราคากัน
ผู้ทำบัญชี / ผู้สอบบัญชี ต้องการเก็บชั่วโมง CPD เชิญทางนี้ : อบรมบัญชีออนไลน์
ท่านใดสนใจหลักสูตรการอ่านงบการเงินเชิญทางนี้ : สอนอ่านงบการเงิน
ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน
- ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
- ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
- ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
- Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
- ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
- ดูรีวิวจากลูกค้า
- About me
สารบัญ
- ค่าเสื่อมราคาคืออะไร
- วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา
- วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง (Straight Line Method)
- วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามผลผลิต (Unit of Production Method)
- วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method)
- วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบผลรวมจำนวนปี (Sum of the Year Digit)
- ผลกระทบกับงบการเงิน
- สรุป
ค่าเสื่อมราคาคืออะไร
ก่อนที่จะอธิบายในเรื่องค่าเสื่อมราคา อยากให้ทำความเข้าใจกันในเรื่องสินทรัพย์ถาวรก่อนครับ สินทรัพย์ถาวรคือสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้ เพื่อเอาไว้ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ และมีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี เช่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
หากบริษทจ่ายเงินซื้อสินทรัพย์ถาวรเข้ามา ในระบบบัญชีจะยังไม่บันทึกค่าใช้จ่ายทีเดียวเนื่องจากสินทรัพย์ถาวรดังกล่าวมีระยะเวลาในการใช้งานหลายปี ดังนั้นในหลักการบัญชีเมื่อซื้อเข้ามาจึงจะบันทึกรายการดังกล่าวเอาไว้ก่อนเป็นสินทรัพย์ถาวร แล้วค่อยทยอยการบันทึกค่าใช้จ่ายในรูปค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี
ดังนั้นค่าเสื่อมราคาคือการทยอยตัดค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ถาวร ตามอายุการให้ประโยชน์ของทรัพย์สิน เพื่อให้ค่าใช้จ่ายไม่เกิดขึ้นในปีแรกปีเดียวที่ซื้อสินทรัพย์เข้ามา แต่ให้ทยอยเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นตามรอบอายุการให้ประโยชน์ของทรัพย์สิน
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา
ค่าเสื่อมราคาจะคิดสำหรับอาคารและอุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งาน แต่จะไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาในที่ดิน เนื่องจากที่ดินนั้นสามารถใช้ไปได้เรื่อยๆ สามารถคงสถานะไปได้เรื่อยๆโดยไม่มีการเสื่อมค่า
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาจริงๆแล้วมีหลายวิธีด้วยกัน ดังนี้
- วิธีการคำนวณแบบเส้นตรง (Straight Line Method)
- วิธีการคำนวณตามผลผลิต (Unit of Production Method)
- วิธีการคำนวณแบบลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method)
- วิธีการคำนวณแบบผลรวมจำนวนปี (Sum of the Year Digit)
แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดคือวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง (ร้อยละ 99.99 คำนวณค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีนี้) ซึ่งเป็นวิธีที่การคิดค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีนั้นคิดแบบเท่าๆกันแบบเส้นตรง
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง (Straight Line Method)
วิธีนี้เป็นการคำนวณที่จะทำให้ค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีนั้นเท่าๆกันตามเส้นตรง ยกเว้นปีแรกกับปีสุดท้าย ที่จะไม่เต็มปี สูตรในการคำนวณค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีเส้นตรงเป็นดังนี้
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน – มูลค่าคงเหลือ) / อายุการใช้งาน
ราคาทุน คือ ราคาที่ซื้อมาของสินทรัพย์ถาวร มูลค่าในส่วนนี้จะรวมถึงต้นทุนในการทำให้สินทรัพย์ดังกล่าวมีสภาพพร้อมใช้งานด้วย เช่น ค่าขนส่ง ค่าติดตั้งเครื่องจักร เป็นต้น
มูลค่าคงเหลือ คือ ราคาที่คาดว่าจะขายได้ หากสินทรัพย์ดังกล่าวหมดอายุการใช้งานแล้ว หลายๆคนจะเรียกตัวนี้ว่า ราคาซาก
อายุการใช้งาน คือ อายุในการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ซื้อเครื่องจักรมาในราคา 8,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 2,000 บาท ประมาณการมูลค่าคงเหลือของเครื่องจักรคือ 3,000 บาท และอายุการใช้งานอยู่ที่ 5 ปี
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน – มูลค่าคงเหลือ) / อายุการใช้งาน
ราคาทุน = เครื่องจักร 8,000 บาท + ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 2,000 บาท = 10,000 บาท
มูลค่าคงเหลือ = 3,000 บาท
อายุการใช้งาน = 5 ปี
ค่าเสื่อมราคา = ((8,000 + 2,000) – 3,000) / 5
= 1,400 บาท ต่อปี
แนะนำหลักสูตรงบการเงิน
สำหรับท่านใดที่สนใจเรียนหลักสูตรที่เกี่ยวกับงบการเงิน ช่วงนี้มีโปรโมชั่นดีๆเพียง 1,000 บาท มีด้วยกัน 2 หลักสูตร ดูรายละเอียดได้ดังนี้
เราปูพื้นฐานให้ตั้งแต่เริ่มต้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านบัญชี หรือผู้ที่มีพื้นฐานแล้วแต่ต้องการต่อยอดไปในเรื่องการวิเคราะห์งบการเงินก็สามารถเรียนได้
ทำความรู้จักผมเพิ่มเติม : About Me
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามผลผลิต (Unit of Production Method)
การคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีนี้จะขึ้นอยู่กับผลผลิตในแต่ละปี ปีไหนที่ผลิตได้มากก็จะมีค่าเสื่อมราคามาก ปีใดที่ผลิตน้อยก็จะมีค่าเสื่อมราคาน้อยลงตามไปด้วย วิธีนี้เหมาะสำหรับสินทรัพย์ที่เสื่อมค่าลงไปตามการใช้งาน สูตรในการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามผลผลิตเป็นดังนี้
ราคาทุน คือ ราคาที่ซื้อมาของสินทรัพย์ถาวร มูลค่าในส่วนนี้จะรวมถึงต้นทุนในการทำให้สินทรัพย์ดังกล่าวมีสภาพพร้อมใช้งานด้วย เช่น ค่าขนส่ง ค่าติดตั้งเครื่องจักร เป็นต้น
มูลค่าคงเหลือ คือ ราคาที่คาดว่าจะขายได้ หากสินทรัพย์ดังกล่าวหมดอายุการใช้งานแล้ว หลายๆคนจะเรียกตัวนี้ว่า ราคาซาก
ปริมาณผลิตทั้งหมด คือ จำนวนคาดการณ์ว่าสินทรัพย์จะสามารถผลิตได้ทั้งหมดเท่าไหร่ตลอดอายุการใช้งาน
จำนวนที่ผลิตได้ในแต่ละปี คือ จำนวนที่สินทรัพย์ดังกล่าวผลิตออกมาได้ในปีนั้นๆ
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท B ซื้อเครื่องจักรผลิตจุกนมเด็กมาในราคา 80,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 20,000 บาท ประมาณการมูลค่าคงเหลือของเครื่องจักรคือ 20,000 บาท และคาดการณ์ยอดผลิตจุกนมเด็กทั้งสิ้นของเครื่องจักรจำนวน 100,000 ชิ้น ในปีปัจจุบันโรงงานสามารถผลิตจุกนมเด็กได้ทั้งหมด 5,000 ชิ้น
ราคาทุน = เครื่องจักร 80,000 บาท + ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 20,000 บาท = 100,000 บาท
มูลค่าคงเหลือ = 20,000 บาท
ปริมาณผลิตทั้งหมด = 100,000 ชิ้น
จำนวนที่ผลิตได้ = 5,000 ชิ้น
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method)
เป็นวิธีที่การคำนวณค่าเสื่อมราคาในช่วงปีแรกๆจะมีจำนวนค่าเสื่อมราคามาก แล้วค่าเสื่อมราคาก็จะทยอยลดน้อยถอยลงไปตามจำนวนปีที่มากขึ้น สูตรในการคำนวณของวิธีนี้จะเป็นดังต่อไปนี้
ค่าเสื่อมราคา = มูลค่าทางบัญชี x อัตราค่าเสื่อมราคา x 2
มูลค่าทางบัญชี = ราคาทุน – ค่าเสื่อมราคาสะสม
อัตราค่าเสื่อมราคา = 100 / อายุการใช้งานของสินทรัพย์
ขอลองยกตัวอย่างเดียวกันกับการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรงนะครับ
บริษัท A ซื้อเครื่องจักรมาในราคา 8,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 2,000 บาท และอายุการใช้งานอยู่ที่ 5 ปี
ราคาทุน = 8,000 + 2,000 = 10,000 บาท
อัตราค่าเสื่อมราคา = 100 / 5 x 2 = 40%
การคำนวณค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีจะได้ตามตารางนี้ครับ
ตามวิธีนี้ ณ สิ้นปีที่ 5 ราคาตามบัญชีจะเท่ากับมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบผลรวมจำนวนปี (Sum of the Year Digit)
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบนี้หลักการจะคล้ายกับแบบลดลงทวีคูณกล่าวคือในปีแรกๆจะมีการคิดค่าเสื่อมราคามากและค่าเสื่อมราคาจะทยอยลดลงในปีท้ายๆ มีสูตรในการคำนวณดังนี้
ยกตัวอย่างเช่นบริษัท C ซื้อเครื่องจักรมาในราคา 35,000 บาท ประมาณอายุการใช้งาน 5 ปี และกำหนดให้มีมูลค่าคงเหลือ 2,000 บาท สามารถคำนวณค่าเสื่อมราคาได้ดังนี้
ผลกระทบกับงบการเงิน
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท B ซื้อรถยนต์มาในราคา 1,000,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการนำเข้า 300,000 บาทประมาณการมูลค่าคงเหลือของรถยนต์คือ 200,000 บาท และประมาณอายุการใช้งานอยู่ที่ 10 ปี
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน – มูลค่าคงเหลือ) / อายุการใช้งาน
ราคาทุน = รถยนต์ 1,000,000 บาท + ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า 300,000 บาท = 1,300,000 บาท
มูลค่าคงเหลือ = 200,000 บาท
อายุการใช้งาน = 10 ปี
ค่าเสื่อมราคา = ((1,000,000 + 300,000) – 200,000) / 10
= 110,000 บาท ต่อปี
ผลกระทบต่องบการเงินเป็นดังต่อไปนี้
- สมมติว่าผู้ถือหุ้นชำระทุนจดทะเบียนเข้าไปในบริษัทจำนวน 1,500,000 บาท
2. หลังจากนั้นบริษัทได้ซื้อรถยนต์เข้ามา ตามโจทย์ข้างต้น (สมมติว่าซื้อมาตอนต้นปี)
3. บันทึกค่าเสื่อมราคา ณ สิ้นปีที่ 1
จะเห็นได้ว่าพอจบสิ้นปีที่ 1 ตัวมูลค่าของรถยนต์จะทยอยลดลงเหลือ 1,190,000 บาท จากราคาทุนเด็มที่ 1,300,000 บาท โดยยอดที่ลดลงนี้นั้นจะเกิดจากคำนวณค่าเสื่อมราคาจำนวน 110,000 บาท ซึ่งจะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท และในปีที่ 2-10 นั้นก็จะถูกบันทึกค่าเสื่อมราคาด้วยยอดดังกล่าวเช่นกันแบบเส้นตรงทุกๆปี ตามอายุการให้ประโยชน์ของรถยนต์ดังกล่าว
ผลของการคำนวณค่าเสื่อมราคา จะส่งผลให้งบการเงินของบริษัทนั้นมีกำไรลดลง
สรุป
ค่าเสื่อมราคาเป็นอีกบัญชีหนึ่งที่เราควรมีความเข้าใจ หากต้องการอ่านงบการเงินเป็น จะได้เข้าใจในตัวเลขในบัญชีอุปกรณ์นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร รวมถึงตัวเลขของกำไรสุทธิของบริษัทด้วยว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร หวังว่าผู้อ่านบทความจะได้ประโยชน์ไปไม่มากก็น้อยนะครับเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคานะครับ
ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา
(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)
ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้าช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ