นักบัญชี อาชีพนี้มีเส้นทางอย่างไร?

นักบัญชี

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

นักบัญชี เป็นอาชีพที่เป็นที่นิยม เนื่องจาก สามารถหางานได้ง่ายเพราะทุกๆนิติบุคคลจะต้องจัดให้มีการทำบัญชีตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องใช้นักบัญชีเป็นผู้ดำเนินการให้ นอกจากนี้คนที่ไม่ได้จบบัญชีมาจะไม่สามารถทำอาชีพนี้ได้เพราะต้องใช้ความรู้เฉพาะด้านที่คนทั่วไปไม่สามารถทำได้

ความจำเป็นของนักบัญชี

ในปี 2565 ประเทศไทยจำนวนนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนสามัญ / ห้างหุ้นส่วนจำกัด / บริษัทจำกัด) ทั้งหมดประมาณ 8 แสนราย ซึ่งตามกฎหมายกำหนดเอาไว้ว่าทุกๆนิติบุคคลมีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องนำส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ในกระบวนการจัดทำบัญชี และการนำส่งงบการเงินนั้นจะต้องมีนักบัญชีหลักที่เข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นคือ ผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชีเป็นคนที่นำเอกสารของนิติบุคคลมาบันทึกบัญชี นำส่งภาษี และจัดเก็บเอกสารให้เรียบร้อย ส่วนผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินว่าถูกต้องหรือไม่ และออกหน้ารายงานผู้สอบบัญชี ก่อนที่นิติบุคคลจะเอางบการเงินไปนำส่งที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร

จะเห็นได้ว่าจำนวนนิติบุคคลในประเทศไทย 8 แสนราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทุกๆบริษัทจะต้องมีผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี ตามกฎหมายจึงทำให้วิชาชีพนักบัญชีนี้มีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

เส้นทางอาชีพของนักบัญชี

สำหรับเส้นทางของอาชีพนักบัญชีนั้นสามารถไปได้ในหลากหลายช่องทางทั้งการทำงานในบริษัท หรือ การทำงานบัญชีเป็นวิชาชีพอิสระก็ได้ เช่นเดียวกัน

หากทำงานในบริษัทก็จะสามารถเป็นได้ตั้งแต่นักบัญชีรุ่นเด็ก นักบัญชีอาวุโส ผู้จัดการบัญชี ไปจนถึง CFO (Chief Financial Officer) สำหรับงานตอนเป็นนักบัญชีรุ่นเด็ก นักบัญชีอาวุโส ก็จะมีตำแหน่งตั้งแต่ พนักงานบัญชีลูกหนี้ พนักงานบัญชีเจ้าหนี้ พนักงานบัญชี GL พนักงานบัญชีสินทรัพย์ถาวร พนักงานบัญชีต้นทุน  เป็นต้น

หากไม่ได้ทำงานในบริษัท นักบัญชีก็สามารถรับงานทำบัญชีอิสระให้แก่บริษัทต่างๆได้

สำหรับเส้นทางอาชีพของนักบัญชี หากแบ่งตามลักษณะของงาน สามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 ส่วนหลักๆดังนี้

  1. ผู้สอบบัญชี
  2. ผู้ทำบัญชี
  3. ผู้ตรวจสอบภายใน
  4. ที่ปรึกษาทางด้านภาษีอากร
  5. ที่ปรึกษาทางด้านวางระบบบัญชี

ผู้สอบบัญชี

ผู้สอบบัญชีถ้าเทียบแล้วจะเป็นจุดสูงสุดของนักบัญชี เนื่องจากงบการเงินของทุกๆนิติบุคคลจะต้องถูกตรวจสอบและเซ็นรับรองงบโดยผู้สอบบัญชี ก่อนที่นิติบุคคลจะนำงบการเงินไปยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือกรมสรรพากรได้ ดังนั้นอาชีพผู้สอบบัญชีจึงเป็นที่ต้องการมากเพราะจำนวนนิติบุคคลในประเทศไทยนั้นมีถึง 8 แสนราย ถ้าเทียบกันแล้วอาชีพผู้สอบบัญชีรายได้ก็จะไม่แพ้วิชาชีพอิสระอื่น เช่น หมอ สถาปนิก เป็นต้น

สำหรับความสำคัญของวิชาชีพนี้คือผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นให้ความเชื่อมั่นต่องบการเงิน แก่ผู้ที่จะนำงบการเงินนี้ไปใช้งานในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละคนได้

เนื่องจากการเป็นผู้สอบบัญชีถือว่าเป็นวิชาชีพที่ดีที่สุดของนักบัญชี ผู้สอบบัญชีจึงต้องผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากสภาวิชาชีพบัญชี โดยผู้สอบบัญชีจะต้องเก็บชั่วโมงการทำงานอย่างน้อย 3,000 ชั่วโมง และ 3 ปี และจะต้องผ่านการทดสอบหลากหลายวิชาตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด ซึ่งก็ต้องบอกว่าข้อสอบนั้นยากมาก ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงจึงจะสามารถผ่านการทดสอบได้

อาชีพผู้สอบบัญชีนั้นสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบขององค์กรที่เป็นบริษัทรับตรวจสอบบัญชี หรือเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระในนามบุคคลธรรมดาก็ได้ หากเป็นผู้สอบบัญชีในสำนักงานสอบบัญชีก็มีตำแหน่งที่หลากหลาย เช่น Junior / Senior / Audit manager / Senior Audit Manager / Partner (ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร) เป็นต้น

ผู้ทำบัญชี

ผู้ทำบัญชีจะเป็นอาชีพของนักบัญชีส่วนใหญ่ ผู้ทำบัญชีจะทำหน้าที่รวบรวมเอกสารต่างๆของบริษัทไปทำการบันทึกบัญชีในรูปแบบ Debit Credit และจัดทำรายงานต่างๆเพื่อให้ผู้บริหาร และผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบ รายงานยกตัวอย่างเช่น งบทดลอง บัญชีแยกประเภท รายละเอียดประกอบงบการเงิน รายงานต่างๆนำส่งผู้บริหาร

นอกจากในเรื่องของการทำบัญชีแล้ว ผู้ทำบัญชียังมีหน้าที่นำส่งภาษีให้แก่กิจการด้วย โดยยอดภาษีที่ต้องนำส่งในแต่ละเดือนนั้นจะมาจากตัวเลขการบันทึกบัญชี โดยผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบว่าภาษีที่กิจการนำส่งนั้นถูกต้องตรงตามเอกสารหรือไม่

อาชีพผู้ทำบัญชีนั้นสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของเป็นพนักงานบัญชีในองค์กร หรือเป็นผู้ทำบัญชีอิสระในนามบุคคลธรรมดาก็ได้ หากเป็นพนักงานบัญชีในองค์กรก็มีตำแหน่งที่หลากหลาย เช่น พนักงานบัญชีลูกหนี้ พนักงานบัญชีเจ้าหนี้ พนักงานบัญชี GL พนักงานบัญชีสินทรัพย์ถาวร พนักงานบัญชีต้นทุน  เป็นต้น

ผู้ตรวจสอบภายใน

อาชีพผู้ตรวจสอบภายในของนักบัญชีจะเน้นดูขบวนการและขั้นตอนในการทำงานภายในของแต่ละองค์กรว่ามีจุดอ่อน จุดที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือจุดที่อาจทำให้เกิดการรั่วไหล หรือไม่ และผู้ตรวจสอบภายในจะเป็นผู้ปรับระบบการทำงานขององค์กรให้เข้าที่เข้าทาง ให้มีจุดรั่วไหลน้อย และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ระบบงานหลักๆที่ผู้ตรวจสอบภายในจะเข้าไปดูจะมีดังนี้

  1. ระบบจัดซื้อ
  2. ระบบจ่ายชำระเงิน
  3. ระบบขาย
  4. ระบบรับชำระเงิน
  5. ระบบต้นทุน
  6. ระบบเงินเดือน
  7. ระบบสินทรัพย์ถาวร
  8. ระบบการปิดบัญชี

ในปัจจุบันอาชีพผู้ตรวจสอบภายใน ยังไม่ได้มีการออกเป็นใบประกอบวิชาชีพในประเทศไทย เหมือนของผู้สอบบัญชี ดังนั้นหากใครต้องการมีใบประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายในต้องไปสอบเป็น CIA ของต่างประเทศแทน

อาชีพผู้ตรวจสอบภายในนั้นสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบขององค์กรที่เป็นบริษัทรับตรวจสอบภายใน หรือเป็นผู้ตรวจสอบภายในอิสระในนามบุคคลธรรมดาก็ได้ หากเป็นผู้ตรวจสอบภายในในสำนักงานก็มีตำแหน่งที่หลากหลาย เช่น Junior / Senior / Manager / Senior Manager / Partner (ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร) เป็นต้น

ที่ปรึกษาทางด้านภาษีอากร

ที่ปรึกษาทางด้านภาษีอากร หรือ Tax Consulting ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่นักบัญชีสามารถทำได้ โดยนักบัญชีท่านใดต้องการทำด้านนี้จะต้องมีความรู้ทางด้านภาษีอากรเป็นอย่างดี โดยงานก็จะมีตั้งแต่ การเป็นที่ปรึกษาทางด้านภาษีเป็นกรณีตามที่ลูกค้าต้องการ, การจัดทำ/ตรวจสอบแบบ ภงด.50 (ภาษีของนิติบุคคล) ว่าถูกต้องก่อนนำส่ง, การช่วยลูกค้าวางแผนภาษีอย่างเป็นระบบ เป็นต้น

ความต้องการด้านที่ปรึกษาภาษีอากร หรือ Tax Consulting ส่วนใหญ่แล้วจะต้องการโดยบริษัทใหญ่ๆที่ต้องการการวางแผนภาษีอย่างเป็นระบบ หรือต้องการให้ช่วยมาสอบทานเรื่องภาษีต่างๆของทั้งองค์กรว่าทำถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นลักษณะงานของนักบัญชีประเภทนี้จะทำอยู่ในสำนักงานที่ปรึกษาภาษี จะไม่ค่อยเห็นในรูปแบบบุคคลธรรมดา

ที่ปรึกษาทางด้านวางระบบบัญชี

ในองค์กรใหญ่ๆ ระบบบัญชีจะมีความสำคัญมาก เพราะระบบบัญชีจะเกี่ยวข้องกับทุกๆขั้นตอนการทำงานขององค์กรตั้งแต่ ระบบจัดซื้อ ระบบจ่ายชำระเงิน ระบบขาย ระบบรับชำระเงิน ระบบต้นทุน ระบบเงินเดือน ระบบสินทรัพย์ถาวร ระบบการปิดบัญชี เป็นต้น

การวางระบบัญชีเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนมาก จึงต้องใช้นักบัญชีที่มีประสบการณ์ มีความรู้แน่นทั้งทางด้านบัญชี การทำงานของลูกค้า และทั้งทางด้านระบบซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์

ระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้ผู้บริหารได้รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ถูกต้อง และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทั้งองค์กรได้อีกด้วย ดังนั้นอาชีพที่ปรึกษาทางด้านวางระบบบัญชี จึงค่อนข้างมีความสำคัญ

สรุปอาชีพนักบัญชี

อาชีพนักบัญชีเป็นอาชีพที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นอาชีพที่สามารถหางานได้ง่ายมากที่สุดอาชีพหนึ่ง เรียกได้ว่าถ้าจบบัญชีมา ป.ตรี มาแล้ว ก็สามารถการันตีได้เลยว่าไม่ตกงานแน่ เพราะมีเส้นทางวิชาชีพให้เลือกเดินที่หลากหลาย และเป็นที่ต้องการของตลาด หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีทั้งหลายไม่มากก็น้อยนะครับ

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า