งบทดลอง (Trial balance) คือ รายงานทางบัญชีที่สรุปผลรวมของการบันทึกบัญชีทุกรายการที่เกิดขึ้น ว่าแต่ละบัญชีนั้นมียอดคงเหลือเท่าไหร่ เพื่อให้ผู้ใช้รายงานดังกล่าวสามารถนำมาตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี
ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี
ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน
- ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
- ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
- ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
- Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
- ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
- ดูรีวิวจากลูกค้า
- About me
งบทดลองคืออะไร
งบทดลอง (Trial balance) คือ รายงานทางบัญชีที่สรุปผลรวมของการบันทึกบัญชีทุกรายการที่เกิดขึ้น ว่าแต่ละบัญชีนั้นมียอดคงเหลือเท่าไหร่ ทั้งในส่วนของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น รายได้ ค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ใช้รายงานดังกล่าวสามารถนำมาดูความผิดปกติและนำมาตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีได้ก่อนที่จะได้ตัวเลขออกมาเป็นงบทดลองนั้นจะต้องผ่านการบันทึกบัญชีผ่านสมุดรายวันต่างๆ เช่น สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดรายวันจ่าย สมุดรายวันรับ สมุดรายวันทั่วไป และต้องผ่านการจัดหมวดหมู่ในบัญชีแยกประเภท จึงจะได้รายงานงบทดลองออกมาได้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านบทความนี้กันได้เลยครับ : การบัญชีคืออะไร?
ตัวอย่างงบทดลอง
เราลองมาดูตัวอย่างงบทดลองกันได้ดังนี้
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าข้อมูลหลักๆที่งบทดลองควรมีนั้นมีดังต่อไปนี้
- เลขที่บัญชี
- ชื่อบัญชี
- จำนวนเงินเดบิต (เครดิต)
เลขที่บัญชี ต้องมีการกำหนดเอาไว้ เพื่อให้ง่ายในการบันทึกบัญชี กล่าวคือนักบัญชีไม่จำเป็นต้องไปพิมพ์ชื่อบัญชี และสามารถพิมพ์เป็นตัวเลข เลขที่บัญชี แทนได้และข้อมูลชื่อบัญชีต่างๆก็จะเด้งขึ้นมาเองในโปรแกรมบัญชี เพื่อความสะดวกรวดเร็วของนักบัญชีชื่อบัญชี ต้องมีการกำหนดเอาไว้เช่นกัน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินนั้นมีความเข้าใจว่าบัญชีที่ดูและวิเคราะห์อยู่นั้นคือบัญชีอะไร เช่น เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ เป็นต้นจำนวนเงินเดบิต (เครดิต) ตัวนี้เป็นตัวสรุปผลว่ารายการทั้งหมดที่บันทึกบัญชีไปนั้น ตัวเลขในแต่ละบัญชีเป็นเดบิต หรือเครดิต
ท่านใดสนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเดบิต เครดิต สามารถอ่านบทความนี้เพิ่มเติมกันได้เลยครับ : การเดบิตและเครดิต ในหลักการบัญชีคู่
กระบวนการในการจัดทำงบทดลอง
ขั้นตอนในการจัดทำงบทดลองนั้นจะต้องผ่านหลายขั้นตอนดังนี้
- ขั้นตอนในการบันทึกบัญชี – ในขั้นตอนนี้การบันทึกบัญชีจะยึดตาม การเดบิตและเครดิต ในหลักการบัญชีคู่ ซึ่งจะทำให้งบนั้นดุลอยู่เสมอ เอกสารที่ใช้ในการบันทึกบัญชีนั้นจะมีอยู่หลายส่วน เช่น สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดรายวันจ่าย สมุดรายวันรับ และสมุดรายวันทั่วไป
- ขั้นตอนในการจัดหมวดหมู่ของการบันทึกบัญชี – การจัดหมวดหมู่นี้จะเป็นการนำรายการบันทึกบัญชีทั้งหมดของแต่ละบัญชีมาจัดหมวดหมู่ให้ เพื่อให้ผู้ใช้รายงานเห็นยอดเคลื่อนไหวในแต่ละบัญชีได้โดยง่าย รายงานที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้เราจะเรียกว่า บัญชีแยกประเภท
- ขั้นตอนกการสรุปผลข้อมูล – หลังจากที่ได้จัดทำบัญชีแยกประเภทเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น เราก็จะนำเอายอดคงเหลือสุดท้ายของบัญชีแยกประเภทแต่ละบัญชี มาสรุปผลเป็นงบทดลองอีกครั้งหนึ่ง
วิธีการอ่านค่าในงบทดลอง
การอ่านค่าตัวเลขในงบทดลองก็จะค่อนข้างตรงไปตรงมา โดยหากเป็นรายการ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น ค่าตัวเลขที่เราเห็นจะเป็น ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง หากเป็นรายการรายได้ หรือค่าใช้จ่าย ค่าตัวเลขที่เราเห็นจะเป็น ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเราลองฝึกมาอ่านค่ากันเล่นๆงบตัวอย่างงบทดลองที่ผมให้ไปในหัวข้อก่อนหน้านี้
- ณ วันที่สิ้นปี (จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง) บริษัทมีเงินสดเหลืออยู่จำนวน 6,983.5 บาท และมีเงินฝากธนาคารเหลืออยู่เป็นจำนวน 29,595.21 บาทเป็นต้น
- ณ วันที่สิ้นปี (จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง) บริษัทมีค่าใช้จ่ายค้างจ่ายหลืออยู่จำนวน 10,000 บาท เป็นต้น
- ณ วันที่สิ้นปี (จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง) บริษัทมีทุนที่เรียกชำระแล้วเป็นจำนวน 1,000,000 บาท เป็นต้น
- ในช่วงระยะเวลาทั้งปี (ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง) บริษัทมีรายได้ค่าบริการทั้งสิ้น 1,409,999 บาทเป็นต้น
- ในช่วงระยะเวลาทั้งปี (ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง) บริษัทมีเงินเดือนทั้งสิ้น 1,200,000 บาทเป็นต้น
วิธีการตรวจสอบว่างบทดลองนั้นถูกต้องหรือไม่
- เนื่องจากการบันทึกบัญชีด้วยระบบบัญชีคู่ ผู้ทำบัญชีจะต้องบันทึกรายการ เดบิต ให้เท่ากับ เครดิต อยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อสรุปรายการออกมาเป็นงบทดลองแล้วรายการเครดิตจึงต้องเท่ากับรายการเครดิตเสมอ (เรียกว่างบดุล) หากงบทดลองไม่ดุล แสดงว่ามีขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งในการบันทึกบัญชีนั้นผิดพลาด
- ตัวเลขที่ได้จากงบทดลองแต่ละตัว ควรมีการตรวจสอบกับ รายละเอียดประกอบงบการเงินว่าข้อมูลต่างๆนั้นถูกต้องหรือไม่
ประโยชน์ของงบทดลอง
ประโยชน์ของงบทดลองนั้นมีมากมายหลายประการดังนี้
- ช่วยให้ผู้ทำบัญชีนั้นสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีได้
- ช่วยให้นักบัญชีนำมาวิเคราะห์รายการแปลกๆหรือสิ่งผิดปกติได้
- ช่วยนำมาใช้ในการ Grouping งบการเงิน กล่าวคือตัวเลขที่เราเห็นจากงบการเงินนั้นจะมาจากการการนำงบทดลองมา Grouping ตัวเลข
สรุป
งบทดลองเป็นรายงานทางบัญชีที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในขบวนการจัดทำบัญชี นอกจากในเรื่องของการตรวจสอบความถูกต้องในการบันทึกบัญชีแล้ว งบทดลองยังสามารถนำไปใช้ในการช่วย Grouping ตัวเลขในงบการเงินได้หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้ประโยช์จากบทความนี้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา (คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)
ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ