อากรแสตมป์เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่สรรพากรจัดเก็บจากการทำสัญญา / ตราสาร ต่างๆซึ่งออกเป็นทั้งหมด 28 ประเภทที่ทางสรรพากรเรียกเก็บ หากไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจะมีผลคือไม่สามารถใช้สัญญา หรือตราสารนั้นเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้
ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี
ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน
- ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
- ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
- ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
- Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
- ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
- ดูรีวิวจากลูกค้า
- About me
อากรแสตมป์คืออะไร
อากรแสตมป์เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่สรรพากรจัดเก็บจากการทำสัญญา / ตราสาร ต่างๆซึ่งออกเป็นทั้งหมด 28 ประเภทที่ทางสรรพากรเรียกเก็บ ลักษณะของอากรแสตมป์เป็นดังต่อไปนี้
การเสียภาษีอากรแสตมป์คือการซื้ออากรแสตมป์จากสรรพากรดังกล่าวมาแปะติดเอาไว้ในสัญญา / ตราสาร ต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด
ตราสาร 28 ประเภทที่ต้องเสียอากรแสตมป์
-
เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ
จำนวนเงิน : ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
หมายเหตุ :
- หากการทำสัญญาเช่านั้นไม่มีอายุให้ถือว่าอายุของสัญญาเช่ามีกำหนด 3 ปี
- ในกรณีที่ครบกำหนดอายุตามสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินอยู่ ให้ถือว่าสัญญาเช่าได้เริ่มทำกันใหม่โดยไม่มีอายุสัญญาเช่า และต้องเสียอากรแสตมป์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถือว่าเริ่มทำสัญญาใหม่
- หากเป็นการเช่าทรัพย์สินในการทำนา ทำไร่ ทำสวน ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ให้เช่า
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้เช่า
-
โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก
จำนวนเงิน : ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
หมายเหตุ :
- การโอนพันธบัตรของรัฐบาลไทยยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
- การโอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ และใบรับรองหนี้ซึ่งสหกรณ์ หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ออก ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้โอน
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับโอน
-
เช่าซื้อทรัพย์สิน
จำนวนเงิน : ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
หมายเหตุ :
- หากเป็นการเช่าทรัพย์สินในการทำนา ทำไร่ ทำสวน ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ให้เช่า
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้เช่า
-
จ้างทำของ
จำนวนเงิน : ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
หมายเหตุ :
- หากตอนทำสัญญาไม่ทราบจำนวนค่าจ้างที่แน่นอน ให้ประมาณการตามความหมาะสมเพื่อเสียอากรแสตมป์
- หากมีการรับเงินค่าจ้างเป็นครั้งคราว และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบตามจำนวนค่าจ้างที่ได้รับ ให้เสียอากรแสตมป์เพิ่มเติมทุกครั้งที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้น
- เมื่อการรับจ้างได้สิ้นสุดลงและพบว่าได้เสียอากรแสตมป์มากเกินไป ให้ขอคืนภาษีตามมาตรา 122 ได้
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้รับจ้าง
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับจ้าง
-
กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
จำนวนเงิน : ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท แต่หากคำนวณแล้วค่าอากรแสตมป์เกิน 10,000 บาท ให้เสียอากรที่ 10,000 บาท
หมายเหตุ :
- การกู้ยืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมจากสหกรณ์หรือสหกรณ์กู้ยืมจากสหกรณ์ หรือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ให้กู้
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้กู้
-
กรมธรรม์ประกันภัย
จำนวนเงิน :
- กรมธรรม์วินาศภัย ทุกจำนวนเงิน 250 บาท หรือเศษของเงิน 250 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
- กรมธรรม์ประกันชีวิต ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
- กรมธรรม์ประกันภัยอื่น ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
- กรมธรรม์เงินปี ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
หมายเหตุ :
- การประกันภัยสัตว์พาหนะซึ่งใช้ในการเกษตรกรรมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้รับประกันภัย
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับประกันภัย
-
ใบมอบอำนาจ
จำนวนเงิน :
- มอบอำนาจให้คนเดียวหรือหลายคนทำการครั้งเดียว เสียอากรแสตมป์ที่ 10 บาท
- มอบอำนาจให้คนเดียวหรือหลายคนทำการหลายครั้ง เสียอากรแสตมป์ที่ 30 บาท
หมายเหตุ :
- ใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่งทนายความให้แก่เสมียนของตนเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาลได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
- ใบมอบอำนาจให้โอนหรือให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวด้วยสัตว์พาหนะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
- ใบมอบอำนาจให้รับเงินหรือสิ่งของแทนได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
- ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบและใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้มอบอำนาจ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับมอบอำนาจ
-
ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
จำนวนเงิน :
- มอบฉันทำสำหรับการประชุมครั้งเดียว เสียอากร 20 บาท
- มอบฉันทำสำหรับการประชุมหลายครั้ง เสียอากร 100 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้มอบฉันทะ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้มอบฉันทะ
-
ตั๋วแลกเงิน / ตั๋วสัญญาใช้เงิน
จำนวนเงิน : เสียอากรแสตมป์ฉบับละ 3 บาท
หมายเหตุ : ถ้าตั๋วออกเป็นสำรับและฉบับแรกในสำรับนั้นปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ฉบับอื่น ไม่ต้องปิดอีก แต่ตัองสลักหลังฉบับนั้นๆว่าได้เสียอากรแล้ว
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้สั่งจ่าย / ผู้ออกตั๋ว
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้สั่งจ่าย / ผู้ออกตั๋ว
-
บิลออฟเลดิง
จำนวนเงิน : ฉบับละ 2 บาท ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับ
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้กระทำตราสาร
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้กระทำตราสาร
-
ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใดๆ
จำนวนเงิน : ฉบับละ 2 บาท
พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย
จำนวนเงิน : ทุกจำนวนเงิน 100 บาท หรือเศษของเงิน 100 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
หมายเหตุ :
- ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของสหกรณ์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ทรงตราสาร
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ทรงตราสาร
-
เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
จำนวนเงิน : ฉบับละ 3 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้สั่งจ่าย
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้สั่งจ่าย
-
ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
จำนวนเงิน : ฉบับละ 5 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้รับฝาก
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับฝาก
-
เลตเตอร์ออฟเครดิต
จำนวนเงิน :
- เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกในประเทศต่ำกว่า 10,000 บาท เสียอากรแสตมป์ 20 บาท
- เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกในประเทศตั้งแต่ 10,000 บาทขั้นไป เสียอากรแสตมป์ 30 บาท
- เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกในต่างประเทศและชำระเงินในประเทศไทย เสียอากรแสตมป์ 20 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกตราสาร
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกตราสาร
-
เช็คสำหรับผู้เดินทาง
จำนวนเงิน : ฉบับละ 3 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกเช็ค
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกเช็ค
-
ใบรับของซึ่งออกให้เนื่องในกิจการรับขนสินค้าโดยทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ คือตราสารซึ่งลงลายมือชื่อพนักงานหรือนายสินค้าของยานพาหนะรับขนส่ง ซึ่งออกรับของดังระบุไว้ในใบรับนั้น เมื่อไม่ได้ออกบิลออฟเลดิง
จำนวนเงิน : ฉบับละ 1 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกใบรับ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกใบรับ
-
ค้ำประกัน
จำนวนเงิน :
- สำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ เสียอากรแสตมป์ 10 บาท
- สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท เสียอากรแสตมป์ 1 บาท
- สำหรับจำนวนเงินเกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท เสียอากรแสตมป์ 5 บาท
- สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป เสียอากรแสตมป์ 10 บาท
หมายเหตุ :
- ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมหรือยืมเพื่อการบริโภคหรือการเกษตรกรรมไม่ต้องเสียอากร
- ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมไม่ต้องเสียอากร
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ค้ำประกัน
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ค้ำประกัน
-
จำนำ
จำนวนเงิน : ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
หมายเหตุ :
- ตั๋วจำนำของโรงรับจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
- จำนำอันเกี่ยวกับกู้ยืมซึ่งได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วตามข้อ 5 ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้รับจำนำ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้รับจำนำ
-
ใบรับของคลังสินค้า
จำนวนเงิน : อากรแสตมป์ 1 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : นายคลังสินค้า
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : นายคลังสินค้า
-
คำสั่งให้ส่งมอบของคือ ตราสารซึ่งบุคคลผู้ปรากฏชื่อในตราสารนั้น หรือซึ่งบุคคลผู้นั้นตราชื่อไว้ หรือผู้ทรงมีสิทธิที่จะรับมอบสินค้าอันอยู่ในอู่ หรือเมืองท่า หรือคลังสินค้าซึ่งรับเก็บหรือรับฝากโดยเรียกเก็บค่าเช่าหรือรับสินค้าอันอยู่ที่ท่าสินค้าโดยที่เจ้าของลงลายมือชื่อ หรือมีผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนในเมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินอันปรากฎในตราสารนั้น
จำนวนเงิน : อากรแสตมป์ 1 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกคำสั่ง
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกคำสั่ง
-
ตัวแทน
จำนวนเงิน : หากเป็นการมอบอำนาจเฉพาะการ เสียอากรแสตมป์ 10 บาท หากเป็นการมอบอำนาจทั่วไป เสียอากรแสตมป์ 30 บาท
หมายเหตุ :
- การตั้งตัวแทนในกรณีสหกรณ์เป็นตัวการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ตัวการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ตัวการ
-
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
จำนวนเงิน : ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : อนุญาโตตุลาการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : อนุญาโตตุลาการ
-
คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
จำนวนเงิน : หากต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท ให้คู่ฉบับเสียอากร 1 บาท หากต้นฉบับเสียอากรเกิน 5 บาท ให้คู่ฉบับเสียอากร 5 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ถ้าไม่มีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาคนที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับเป็นผู้เสีย ถ้ามีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งนั้นต้องเป็นผู้เสียอากร
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : คนเดียวกับผู้ขีดฆ่าต้นฉบับ
-
หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
จำนวนเงิน : ฉบับละ 200 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้เริ่มก่อการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้เริ่มก่อการ
-
ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
จำนวนเงิน : ฉบับละ 200 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : กรรมการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : กรรมการ
-
ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน
จำนวนเงิน : ฉบับละ 50 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : กรรมการ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : กรรมการ
-
หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
จำนวนเงิน : หากเป็นหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเสียอากรแสตมป์ฉบับละ 100 บาท หากเป็นหนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเสียอากรแสตมป์ฉบับละ 50 บาท
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้เป็นหุ้นส่วน
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้เป็นหุ้นส่วน
-
ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล / ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ / ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ
จำนวนเงิน : ทุกจำนวนเงิน 200 บาท หรือเศษของเงิน 200 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท
หมายเหตุ : ใบรับ สำหรับจำนวนเงินที่ผู้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากร : ผู้ออกใบรับ
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ : ผู้ออกใบรับ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : บัญชีอากรแสตมป์จากกรมสรรพากร
เราจะหาอากรแสตมป์มาได้อย่างไร
มีหลายท่านที่มักเข้าใจผิดว่าอากรแสตมป์นั้นสามารถหาซื้อได้ที่ไปรษณีย์ แต่ในความเป็นจริงอากรแสตมป์สามารถหาซื้อได้ที่กรมสรรพากร หรือจุดให้บริการของรัฐอื่นๆที่จะต้องมีการติดอากรแสตมป์ อย่าลืมนะครับว่าแสตมป์ไปรษณีย์ กับอากรแสตมป์ไม่เหมือนกันนะครับ แสตมป์ไปรษณีย์เอาไว้ใช้ในการส่งจดหมาย ส่วนอากรแสตมป์เอาไว้ใช้ในการติดตราสารต่างๆให้ถูกต้องตามกฎหมาย
หากไม่ได้ติดอากรแสตมป์จะมีผลอย่างไร
ตราสารที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมายจะไม่สามารถนำตราสารนั้นไปเป็นพยานหลักฐานในคดีเพ่งได้ จนกว่าจะได้เสียอากรครบตามจำนวนและขีดฆ่าแล้ว
นอกจากนี้ตราสารที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้อง กฎหมายยังห้ามเจ้าพนักงานให้ทำหรือบันทึกสิ่งใดๆลงในตราสาร จนกว่าจะได้เสียอากรให้ครบถ้วนตามกฎหมาย
ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา
(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)
ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า