สัญญาเช่า คืออะไร? มาทำความเข้าใจกัน

สัญญาเช่า

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

สัญญาเช่า (Lease Agreement) คือ เอกสารที่ระบุรายละเอียดของข้อตกลงระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการเช่าทรัพย์สิน เช่น บ้าน อพาร์ทเม้นท์ รถยนต์ เพื่อให้ผู้เช่ามีสิทธิ์ใช้ทรัพย์สินตามข้อตกลงในสัญญาเช่าโดยชำระค่าเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นสิ่งตอบแทนให้แก่ผู้ให้เช่า

สัญญาเช่าคืออะไร

สัญญาเช่า (Lease Agreement) คือ เอกสารที่ระบุรายละเอียดของข้อตกลงระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการเช่าทรัพย์สิน เช่น บ้าน อพาร์ทเม้นท์ รถยนต์ เพื่อให้ผู้เช่ามีสิทธิ์ใช้ทรัพย์สินตามข้อตกลงในสัญญาเช่าโดยชำระค่าเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นสิ่งตอบแทนให้แก่ผู้ให้เช่า

สัญญาเช่าจึงมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นการกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดในการใช้ทรัพย์สิน ซึ่งช่วยลดความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้งานและผู้ให้เช่า เพราะมีสัญญาที่ทำเอาไว้ร่วมกันอย่างชัดเจน

ประเภทของสัญญาเช่าในมุมบุคคลทั่วไป

ประเภทของสัญญาเช่าหากแบ่งตามความเข้าใจของคนทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ตามประเภททรัพย์สิน เช่น

  1. สัญญาเช่าบ้าน: เป็นสัญญาเช่าที่เกี่ยวกับบ้านหรือที่อยู่อาศัย โดยจะมีระยะเวลาเช่าที่กำหนดไว้ในสัญญา เช่น 1 ปีหรือ 2 ปี และมักจะต้องชำระค่าเช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
  2. สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์: เป็นสัญญาเช่าที่เกี่ยวกับอาคารพาณิชย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม หรืออาคารสำนักงาน โดยมักจะมีระยะเวลาเช่าที่ยาวกว่าสัญญาเช่าบ้าน และมักจะต้องชำระค่าเช่าเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น ค่าส่วนกลาง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าบริการอื่นๆ
  3. สัญญาเช่ารถ: เป็นสัญญาเช่าที่เกี่ยวกับการเช่ารถ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถบรรทุก โดยจะมีเงื่อนไขการเช่าและค่าบริการที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของรถที่เช่า และระยะเวลาการเช่า
  4. สัญญาเช่าอุปกรณ์: เป็นสัญญาเช่าที่เกี่ยวกับการเช่าอุปกรณ์ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องจักร เป็นต้น

ประเภทของสัญญาเช่าในมุมนักบัญชี

ในมุมบัญชี สัญญาเช่าจะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ

  1. สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operation Lease Agreement) – เป็นสัญญาเช่าที่ความเสี่ยงในตัวทรัพย์สินส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ผู้ให้เช่า ส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาเช่าที่มีระยะเวลาสั้น ๆ และผู้เช่าไม่มีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่า ในทางบัญชีของผู้เช่า ค่าเช่าในแต่ละเดือนจะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแต่ละเดือน
  2. สัญญาเช่าเงินทุน (Capital Lease Agreement) – สัญญาเช่าประเภทนี้เดิมจะมีชื่อว่า สัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease Agreement) ซึ่งเป็นสัญญาเช่าที่ ความเสี่ยงในตัวทรัพย์สินส่วนใหญ่อยู่ที่ผู้เช่า หรือเป็นสัญญาเช่าที่สุดท้ายแล้วกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินจะถูกโอนไปให้แก่ผู้เช่า ดังนั้นสัญญาเช่าประเภทนี้ในงบการเงินของผู้เช่า จะบันทึกเป็นสินทรัพย์ (ทรัพย์สินที่เช่า) และหนี้สิน (ค่างวดที่ต้องจ่าย) ในงบแสดงฐานะการเงินของผู้เช่า

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสัญญาเช่า

หากว่าเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน (Operation Lease Agreement) ในทางบัญชีของผู้เช่า ค่าเช่าในแต่ละเดือนจะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนโดยการ Dr. ค่าช่า Cr. เงินสด

หากว่าเป็น สัญญาเช่าเงินทุน (Capital Lease Agreement) ในงบการเงินของผู้เช่า จะบันทึกเป็นสินทรัพย์ (ทรัพย์สินที่เช่า) และหนี้สิน (ค่างวดที่ต้องจ่าย) ในงบแสดงฐานะการเงินของผู้เช่า ตามตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่าง : บริษัท A ซื้อสินทรัพย์โดยการทำสัญญาเช่าเงินทุน โดยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า หรือมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่าอยู่ที่ 43,295 บาท อัตราดอกเบี้ยแท้จริงอยู่ที่ 5% และบริษัทต้องจ่ายทั้งหมด 5 งวด โดยข้อมูลการผ่อนชำระเป็นดังต่อไปนี้

บันทึกบัญชีสัญญาเช่าเงินทุน1
ตัวอย่างบันทึกบัญชีสัญญาเช่าเงินทุน 2
บันทึกบัญชีสัญญาเช่าเงินทุน 3
บันทึกบัญชีสัญญาเช่าเงินทุน 4

รายละเอียดที่ควรมีในสัญญาเช่า

  1. ชื่อและที่อยู่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า
  2. รายละเอียดของทรัพย์สินที่เช่า เช่น ที่อยู่ ขนาด สภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่จะใช้ร่วมกัน
  3. ระยะเวลาการเช่า ซึ่งจะระบุวันที่เริ่มต้นเช่าและวันที่สิ้นสุดเช่า
  4. อัตราค่าเช่า และเงื่อนไขการชำระเงิน เช่น วันที่ต้องชำระเงิน วิธีการชำระเงิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพย์สินนั้น ๆ
  5. ข้อตกลงรายละเอียด เงินจ่ายล่วงหน้า และเงินประกันการเช่า
  6. เงื่อนไขการใช้ทรัพย์สิน
  7. สภาพการส่งคืนทรัพย์สิน เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเช่า รวมถึงเงื่อนไขการส่งคืนทรัพย์สินที่เสียหาย
  8. การประกันความเสียหาย เช่น การประกันอุบัติเหตุทรัพย์สิน การประกันความเสียหายจากการใช้ทรัพย์สิน เป็นต้น
  9. เงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญา เช่น สิ้นสุดระยะเวลาการเช่า การต่อสัญญา การยกเลิกสัญญา เป็นต้น
  10. นอกจากรายละเอียดข้างต้นแล้ว ผู้อ่านอย่าลืมในเรื่องของอากรแสตมป์ด้วย เพราะสัญญาเช่าถือเป็นตราสารที่ต้องติดอากรแสตมป์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย จำนวนเงินที่จะต้องติดอากรแสตมป์คือ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาทตามสัญญา จะต้องเสียอากรแสตมป์ 1 บาท

ลองดูรายละเอียดอากรแสตมป์จากสรรพากรได้ที่นี่

ทำสัญญาเช่าอย่างไร ป้องกันการโกง

การเช่าทรัพย์สินเป็นกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งควรจะมีการป้องกันการโกง ดังนั้นเพื่อป้องกันการโกงสัญญาเช่า คุณสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ได้

  1. ตรวจสอบประวัติของผู้เช่า คุณควรตรวจสอบประวัติของผู้เช่าอย่างละเอียดเพื่อทราบว่าเขามีประวัติการโกงหรือไม่
  2. ตรวจสอบเอกสารประกอบการเช่า คุณควรตรวจสอบเอกสารประกอบการเช่าที่เกี่ยวข้อง เช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง เพื่อทำการตรวจสอบว่าเอกสารเหล่านี้ถูกต้องและมีความถูกต้องหรือไม่
  3. ระบุเงื่อนไขของสัญญาให้ชัดเจน คุณควรระบุเงื่อนไขของสัญญาให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย เช่น ระยะเวลาการเช่า อัตราค่าเช่า รวมถึงเงื่อนไขการชำระเงินและเงื่อนไขการใช้ทรัพย์สิน เป็นต้น
  4. ตรวจสอบสภาพของทรัพย์สิน คุณควรตรวจสอบสภาพของทรัพย์สินก่อนที่จะมอบให้ผู้เช่าใช้ เพื่อหากมีความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างการเช่า จะได้เรียกเก็บค่าเสียหายดังกล่าวได้

สรุป

สัญญาเช่าเป็นสัญญาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการประกอบกิจการ ทำให้กิจการมีทรัพย์สินมาใช้โดยไม่ต้องลงทุนซื้อ ซึ่งใช้จำนวนเงินค่อนข้างมาก ในการทำสัญญาเช่าควรมีความละเอียดรอบคอบ เพื่อลดความผิดพลาดหรือความขัดแย้งในภายหลัง หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้กันนะครับ

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า