สรุปการเปลี่ยนแปลงของ TFRS for NPAEs ที่บังคับใช้ในปี 2566

สรุปการเปลี่ยนแปลงของ TFRS for NPAEs ที่บังคับใช้ในปี 2566

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

มาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ TFRS for NPAEs ที่บังคับใช้ในปี 2566 นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานฉบับเดิมมาก เรียกได้ว่าเป็นการยกเครื่องใหม่เลยทีเดียว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องจาก

  1. ทำให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  2. คงความง่าย
  3. เพิ่มทางเลือกให้มีทางเลือกทางบัญชีที่มากขึ้น

ในบทความนี้จะเป็นการสรุปการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของ TFRS for NPAEs ที่บังคับใช้ในปี 2566

ท่านใดต้องการอบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD CPA ได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : อบรมบัญชีออนไลน์

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ธเณศ คอมพิวเตอร์

สารบัญ

  1. สรุปการเปลี่ยนแปลงในแต่ละบท
  2. บทที่ 1 : ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
  3. บทที่ 2 : ขอบเขต
  4. บทที่ 3 : กรอบแนวคิด
  5. บทที่ 4 : การนำเสนองบการเงิน
  6. บทที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด
  7. บทที่ 6 : เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
  8. บทที่ 7 : ลูกหนี้
  9. บทที่ 8 : สินค้าคงเหลือ
  10. บทที่ 9 : เงินลงทุน
  11. บทที่ 10 : ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
  12. บทที่ 11 : สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
  13. บทที่ 12 : อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
  14. บทที่ 14 : สัญญาเช่า
  15. บทที่ 16 : ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
  16. บทที่ 18 : รายได้
  17. บทที่ 21 : ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
  18. บทที่ 22-28 : เกษตรกรรม / เงินอุดหนุนจากรัฐบาล / อนุพันธ์ / การรวมธุรกิจ / การสำรวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ / ข้อตกลงสัมปทานบริการ / วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง
  19. สรุป

สรุปการเปลี่ยนแปลงในแต่ละบท

ในหัวข้อนี้ผมสรุปการเปลี่ยนแปลง TFRS for NPAEs ที่บังคับใช้ในปี 2566 ในแต่ละบทเอาไว้ดังนี้

สรุปการเปลี่ยนแปลงในแต่ละบทของ TFRS for NPAEs

บทไหนที่มีการเปลี่ยนแปลงผมจะเขียนเอาไว้ว่า “มีเปลี่ยนแปลง” บทไหนที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐานรายงานทางการเงินชุดก่อนจะเขียนเอาไว้ว่า “ – ” ส่วนบทไหนที่เป็นบทใหม่เพิ่มเติมเข้ามาจากมาตรฐานรายงานทางการเงินชุดก่อนจะเขียนเอาไว้ว่า “บทใหม่”

บทที่ 1 : ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

แก้ไขความเป็นมาและเหตุผลสำหรับการออก TFRS for NPAEs ฉบับปรับปรุง ล่าสุด (บังคับใช้ปี 2566)

  • ทำให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  • คงความง่าย
  • เพิ่มทางเลือกให้มีทางเลือกทางบัญชีที่มากขึ้น

บทที่ 2 : ขอบเขต

เพิ่มตัวอย่างประเภทกิจการที่ถือเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) เช่น โรงรับจำนำ และ บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสถานภาพเป็นบริษัทจำกัด ก็ถือว่าเป็น กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs)

บทที่ 3 : กรอบแนวคิด

  1. ขยายความเรื่อง “การดำเนินงานต่อเนื่อง” (ให้ประเมินไปอย่างน้อย 12 เดือนข้างหน้า)

หากฝ่ายบริหารมีความตั้งใจที่จะชำระบัญชี หรือหยุดประกอบธุรกิจ ไม่มีทางเลือกอื่น ต้องไม่จัดทำงบการเงินตามเกณฑ์การดำเนินงานต่อเนื่อง โดยต้องเปิดเผยเรื่องดังต่อไปนี้

  • ข้อเท็จจริง
  • เกณฑ์ที่ใช้จัดทำงบการเงิน
  • เหตุผลที่ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกิจการที่จะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้
  1. เพิ่มเติมตัวอย่างเรื่อง “เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบทางกฎหมาย”
  • สัญญาเช่าเงินทุน – ผู้เช่าได้รับประโยชน์จากการใช้สินทรัพย์สำหรับอายุการใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ของสินทรัพย์นั้นและมีภาระผูกพันที่ต้องชำระเป็นจำนวนเงินใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ผู้เช่าจึงต้องรับรู้รายการสินทรัพย์ และหนี้สินในงบการเงิน ถึงแม้ว่ารูปแบบทางกฎหมายจะถือเป็นค่าเช่า
  • การจัดทำงบการเงินรวม – อำนาจควบคุมจะพิจารณาจากเนื้อหามากกว่า หากบริษัทใหญ่เข้าไปมีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทย่อย ถึงแม้ว่ารูปแบบทางกฎหมายบริษัทใหญ่ถือหุ้นในสัดส่วนที่ไม่เกินกว่ากึ่งหนึ่งในบริษัทย่อยก็ตาม

บทที่ 4 : การนำเสนองบการเงิน

  1. เพิ่มเติมเรื่อง “การจัดทำงบการเงินระหว่างกาล”

การจัดทำงบการเงินระหว่างกาล – มาตรฐานไม่ได้บังคับให้จัดทำงบการเงินระหว่างกาล อย่างไรก็ตามกิจการสามารถเลือกได้หากเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการจัดทำตามรูปแบบที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอรายการและการเปิดเผยข้อมูล โดยยกเว้นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ NPAEs เช่น การจัดทำงบกระแสเงินสด การแสดงกำไรต่อหุ้น การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นต้น

  1. เพิ่มเติมตัวอย่างการพิจารณา “การจัดประเภทรายการหนี้สินหมุนเวียน/ไม่หมุนเวียน” กรณีการละเมิดเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาว
ละเมิดเงื่อนไขสัญญาเงินกู้1

ต้องจัดประเภทเป็น “หนี้สินหมุนเวียน” เนื่องจาก ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขที่จะเลื่อนการชำระหนี้ออกไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ดังกล่าว

ละเมิดสัญญาเงินกู้2

ต้องจัดประเภทเป็น “หนี้สินไม่หมุนเวียน” เนื่องจาก ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน เจ้าหนี้ตกลงแล้วที่จะไม่เรียกคืนหนี้

3. เพิ่มเติมหลักการเรื่อง “งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ”

มาตรฐานไม่ได้บังคับให้จัดทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แต่กิจการสามารถเลือกงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จได้หากมีรายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสรุปได้ดังนี้

Note : หากไม่ทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จให้รับรู้กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นโดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ2
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ3

4. เพิ่มเติมเรื่อง “งบการเงินของกลุ่มกิจการ” (อนุญาตให้กิจการจัดทำงบการเงินรวมได้ ทั้งนี้การพิจารณา “เงินลงทุนในบริษัทย่อย” ให้พิจารณาตาม TFRS for NPAEs)

งบการเงินของกลุ่มกิจการมาตรฐานไม่ได้บังคับ แต่หากกิจการเลือกจัดทำงบการเงินรวมหรืองบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย กิจการต้องนำเสนองบการเงินเฉพาะกิจการด้วย และกิจการต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินทั้ง 6 ฉบับดังนี้

Pack 5

Note : ยกเว้นการพิจารณาว่าเงินลงทุนดังกล่าวถือเป็นเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือไม่นั้น กิจการต้องพิจารณาตามนิยามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ 9.5 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้แทนมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม

บทที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด

  1. แก้ไขหลักการเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี” กรณีไม่สามารถระบุจำนวนเงินของผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชีได้ (เพิ่มในเรื่อง การปรับปรุงยอดยกมาของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของสำหรับงวดบัญชีแรกสุดที่สามารถปฏิบัติได้)

การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี ให้ดำเนินการเรียงลำดับดังนี้

  • ปรับย้อนหลัง (ในทางปฏิบัติหากไม่สามารถระบุจำนวนเงินของ ผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชีที่แสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบไม่ว่างวดใดงวดหนึ่งหรือหลายงวด ให้ไปใช้ข้อ 2 แทน)
  • ปรับปรุงยอดยกมาของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของสำหรับงวดบัญชีแรกสุดที่สามารถปฏิบัติได้ (หากกิจการไม่สามารถระบุจำนวนเงินของผลกระทบสะสม ณ ต้นงวดบัญชีปัจจุบัน ให้ไปใช้ข้อ 3 แทน)
  • เปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป
  1. ขยายความเรื่องการเปลี่ยนวิธีวัดมูลค่ารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์จากวิธีราคาทุนมาเป็นราคาที่ตีใหม่ว่า “ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี” (ไม่ต้องปรับย้อนหลัง)

บทที่ 6 : เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

แก้ไขนิยามของ “เงินสด”

มาตรฐานฉบับเดิมอธิบายว่า “เงินสด หมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคาร โดยเงินสดในมือ ได้แก่ ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่กิจการมีอยู่ รวมทั้งเงินสดย่อย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ เช็คที่ถึงกำหนดชำระแต่ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทาง และดราฟต์ของธนาคาร สำหรับเงินฝากธนาคาร ได้แก่ เงินฝากธนาคารกระแสรายวันและออมทรัพย์ ทั้งนี้ไม่รวมเงินฝากธนาคารประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา (เงินฝากประจำ) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการแสดงรายการดังกล่าวเป็นเงินลงทุนชั่วคราวโดยจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน หรือเงินลงทุนระยะยาวโดยจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน”

มาตรฐานฉบับใหม่แก้ไขคำนิยามให้กระชับขึ้นเป็น “เงินสด หมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม”

บทที่ 7 : ลูกหนี้

เพิ่มเติมเรื่อง “การรับรู้รายการหนี้สูญรับคืน” เป็นรายได้อื่นๆในงบกำไรขาดทุน (โดยการนำประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 13/2555 เข้ามารวม)

สรุปคือหนี้สูญรับคืน สามารถบันทึกได้ทั้ง 2 แบบดังนี้

  1. โอนกลับบัญชีลูกหนี้และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ที่เกี่ยวข้องด้วยจำนวนเงินที่รับกลับคืน พร้อมบันทึกรายการรับชำระหนี้จากลูกหนี้
  2. บันทึกหนี้สูญรับคืนเป็นรายได้อื่น ในงบกำไรขาดทุน (จากเดิมที่ถูกเขียนเอาไว้ในประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 13/2555)
กลับรายการหนี้สูญ2

บทที่ 8 : สินค้าคงเหลือ

เพิ่มเติมเรื่องการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ (ปลายงวด) ของ

  1. ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตผลทางการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยว แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่
  2. นายหน้า – ผู้ค้าสินค้าโภคภัณฑ์

บทที่ 9 : เงินลงทุน

  1. เพิ่มเติมนิยาม “เงินลงทุนในบริษัทย่อย” (กรณีบริษัทใหญ่ถือว่าไม่มีอำนาจควบคุม)

ถือมากกว่า 50% บริษัทใหญ่ถือว่ามีอำนาจในการควบคุมเมื่อบริษัทใหญ่มีอำนาจในการออกเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง (ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม)

ถือน้อยกว่า 50% บริษัทใหญ่ถือว่าไม่มีอำนาจในการควบคุมเมื่อบริษัทใหญ่มีอำนาจในการออกเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง (ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม) (เพิ่มเข้ามาใหม่)

  1. เพิ่มเติมนิยาม “ต้นทุนการทำรายการ” (วัดมูลค่าเงินลงทุนด้วย ราคาทุน + ต้นทุนการทำรายการ)

ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุนนั้น โดยต้นทุนนี้จะไม่เกิดขึ้นหากกิจการไม่ซื้อเงินลงทุนดังกล่าว ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมและค่านายหน้าที่จ่ายให้กับตัวแทน ที่ปรึกษา นายหน้าและตัวแทนจำหน่าย และค่าภาษีอากรในการโอน ต้นทุนการทำรายการไม่รวมถึงส่วนเกินหรือส่วนลดมูลค่าของตราสารหนี้ ต้นทุนในการจัดหาเงินทุนหรือค่าใช้จ่ายในการบริหารเป็นการภายใน หรือต้นทุนในการถือครอง

บทที่ 10 : ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

  1. เพิ่มเติมทางเลือกในการวัดมูลค่าภายหลังด้วยวิธี “การตีราคาใหม่” (นำประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 42/2563 เข้ามารวม)
  2. เพิ่มเติมเรื่อง “ที่ดินอาจมีอายุการใช้ประโยชน์จำกัด”

ที่ดินและอาคารเป็นสินทรัพย์ที่แยกจากกันได้และบันทึกแยกจากกันแม้ว่าจะได้มาพร้อมกัน ที่ดินจะมีอายุการใช้ประโยชน์ไม่จำกัดจึงไม่จำเป็นต้องคิดค่าเสื่อมราคา ยกเว้นในบางกรณี เช่น เหมืองแร่ที่ทำบนผิวดิน หรือพื้นที่ที่ใช้สำหรับการทิ้งขยะ

  1. เพิ่มเติมเรื่องการใช้ “มูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์แทนประมาณราคาขายหักด้วยต้นทุนในการขาย” สำหรับการพิจารณาเรื่องการลดลงของมูลค่าที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (นำประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 13/2555 เข้ามารวม)

ในการพิจารณาเรื่องการลดลงของมูลค่าที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ กิจการสามารถพิจารณามูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ (Value in use) (ตามวิธีคำนวณที่ระบุในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์) แทนประมาณราคาขายหักด้วยต้นทุนในการขายได้ หากสามารถประมาณมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ

  1. แก้ไขเรื่องการจัดประเภทรายการ “สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือเอาไว้เพื่อขาย”

เดิม : ถือว่าเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

ใหม่ : กิจการต้องแยกแสดงการจัดประเภทของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายในงบแสดงฐานะการเงินเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน

  1. เพิ่มเติมนิยาม “มูลค่าตามบัญชี”

มูลค่าตามบัญชี คือ จำนวนเงินของสินทรัพย์ที่รับรู้หลังจากหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการลดลงของมูลค่า

บทที่ 11 : สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

แก้ไขเรื่องอายุการใช้ประโยชน์สำหรับ “สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการใช้ประโยชน์ไม่ทราบได้แน่นอน” (ไม่รวมค่าความนิยม)

เดิม : ตัดจำหน่าย 10 ปี

ใหม่ : ตัดจำหน่ายไม่เกิน 10 ปี

(เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น)

บทที่ 12 : อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

เพิ่มเติมทางเลือกในการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการด้วยวิธี “มูลค่ายุติธรรม” (นำประกาศสภาวิชาชีพบัญชี 42/2563 เข้ามารวม)

  1. วิธีราคาทุน

      1.1 โดยให้แสดงรายการด้วยราคาทุน หักค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการลดลงของมูลค่า (ถ้ามี)

      1.2 บันทึกการเปลี่ยนแปลงระหว่างงวดเข้างบกำไรขาดทุนผ่านค่าเสื่อมราคา

  1. วิธีมูลค่ายุติธรรม

      2.1 รับรู้กำไรขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงในราคายุติธรรมที่เกิดขึ้นเข้างบกำไรขาดทุนทันที

      2.2 ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา และค่าเผื่อการลดลงของมูลค่า

การโอนเปลี่ยนประเภท

  1. หากกิจการเลือกใช้วิธีราคาทุน การโอนระหว่างอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งาน และสินค้าคงเหลือจะไม่ทำให้มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงและจะไม่ทำให้ราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการวัดมูลค่าหรือการเปิดเผยข้อมูลเปลี่ยนแปลง
  2. หากกิจการเลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม

บทที่ 14 : สัญญาเช่า

มีการแก้ไขคำศัพท์จากคำว่า “สัญญาเช่าการเงิน” เป็น “สัญญาเช่าเงินทุน”

บทที่ 16 : ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น

เพิ่มเติมนิยาม “สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น” และการเปิดเผยประมาณการผลกระทบทางการเงินด้วยประมาณการที่ดีที่สุด

“สินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น” คือ สินทรัพย์ที่อาจมีอยู่อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งความมีอยู่จริงของสินทรัพย์นั้นจะได้รับการยืนยันต่อเมื่อเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่แน่นอนเหตุการณ์หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น โดยเหตุการณ์ดังกล่าวไม่อยู่ในความควบคุมทั้งหมด ของกิจการ

การปฏิบัติทางบัญชี ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

  1. กิจการต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น และ
  2. หากทำได้ในทางปฏิบัติ กิจการต้องเปิดเผยประมาณการผลกระทบทางการเงินซึ่งวัดมูลค่าด้วยประมาณการที่ดีที่สุด

บทที่ 18 : รายได้

  1. เพิ่มเติมเรื่อง “โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า” (การรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยข้อมูล)

“โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า” สามารถรับรู้รายการได้ 2 วิธีคือ

  • รับรู้คะแนนสะสมเป็นประมาณการหนี้สินพร้อมกับรับรู้ค่าใช้จ่าย ด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุด ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
  • รับรู้คะแนนสะสมเป็นหนี้สินแยกต่างหากจากรายการขายที่กิจการให้คะแนนสะสม (รายได้รอรับรู้) (การขายเริ่มแรก) ด้วยการปันส่วนมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับหรือค้างรับจากการขายเริ่มแรกให้กับคะแนนสะสม (โดยอ้างอิงจากมูลค่ายุติธรรมของคะแนนสะสม) และส่วนประกอบอื่นของรายการขายนั้น โดยภายหลังจะรับรู้เป็นรายได้เมื่อลูกค้ามาใช้สิทธิแลกคะแนนสะสม และกิจการได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันที่จะจัดหารางวัลนั้น
  1. เพิ่มเติมข้อบ่งชี้ในการพิจารณาเป็น “ตัวการหรือตัวแทน”

Note : กิจการซึ่งเป็นตัวการต้องแสดงรายได้ด้วยจำนวนเงินของสิ่งตอบแทนขั้นต้นที่คาดว่าจะได้รับ แต่กิจการซึ่งเป็นตัวแทนต้องแสดงรายได้ด้วยจำนวนเงินค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าซึ่งคาดว่าจะได้รับ (สิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับ)

บทที่ 21 : ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

  1. แก้ไขเพิ่มเติมนิยาม “เงินตราต่างประเทศ” “รายการที่เป็นตัวเงิน” “รายการที่ไม่เป็นตัวเงิน” และ “สกุลเงินที่ใช้นำเสนองบการเงิน”
  2. เพิ่มเติมเรื่องการรายงาน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานในงวดถัดมาสำหรับ “รายการที่ไม่เป็นตัวเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรม”
  3. เพิ่มเติมเรื่อง “การรับรู้ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยน” สำหรับรายการผลกำไรหรือขาดทุนของรายการที่ไม่เป็นตัวเงินในส่วนของเจ้าของ
  4. ตัดเรื่องการแปลงค่ารายการสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินที่อยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารรับซื้อ (สินทรัพย์) และที่ธนาคารขาย (หนี้สิน)
  5. เพิ่มเติมหลักการ “การแปลงค่าผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของหน่วยงานต่างประเทศที่เป็นสาขา”
  6. เพิ่มเติมเรื่อง “การแปลงค่าผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของหน่วยงานต่างประเทศในงบการเงินรวมหรืองบการเงินตามวิธีส่วนได้เสีย”
  7. เพิ่มเติมเรื่อง “สกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน”

บทที่ 22-28 : เกษตรกรรม / เงินอุดหนุนจากรัฐบาล / อนุพันธ์ / การรวมธุรกิจ / การสำรวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ / ข้อตกลงสัมปทานบริการ / วันถือปฏิบัติและการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง

บทเหล่านี้จะเป็นบทใหม่ที่ไม่มีใน TFRS for NPAEs ฉบับเดิม จะมีเนื้อหาค่อนข้างมาก หากผู้ใดสนใจสามารถศึกษาต่อได้ที่ www.cpdtutor.com อบรมบัญชีออนไลน์ เก็บชั่วโมง CPD CPA ได้ (หลักสูตรนี้จะเปิดตั้งแต่เดือน 7 ปี 2566)

สรุป

ในบทความนี้จะเป็นการสรุปการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของ TFRS for NPAEs ฉบับใหม่ที่บังคับใช้ในปี 2566 หวังว่าผู้อ่านนักบัญชีจะได้ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องนะครับ

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า