ลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง?

ลดหย่อนภาษี
สอนบัญชีภาษีฟรี

ลดหย่อนภาษี เป็นตัวที่นำไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคล ดังนั้นการลดหย่อนภาษีจะเป็นตัวช่วยลดภาษีที่เราต้องจ่าย หากเรามีความเข้าใจถึงประโยชน์และสิทธิประโยชน์ของค่าลดหย่อนภาษีในแต่ละตัวจะทำให้เราวางแผนภาษีได้อย่างถูกต้อง ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจการค่าลดหย่อนกัน

ทำความเข้าใจการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคล

ก่อนจะอธิบายในเรื่องค่าลดหย่อนภาษี เราต้องทำความเข้าใจสมการในการคำนวณภาษีกันก่อน ในการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลนั้นจะมีสูตรในการคำนวณดังนี้

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนภาษี

ภาษีเงินได้ของบุคคล = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อธิบายความสำคัญและประเภทของการลดหย่อนภาษี

จะเห็นได้ว่าค่าลดหย่อนภาษีเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีความสำคัญในการคำนวณภาษี เนื่องจากใช้เป็นตัวหักออกจากเงินได้พึงประเมินเพื่อหาเงินได้สุทธิ ดังนั้นเราจึงมีความเข้าใจในค่าลดหย่อน จะได้นำมาใช้ให้ถูกต้อง

ค่าลดหย่อนจะมีหลายตัวมาก หากนำมาค่าลดหย่อนมาจัดกลุ่มเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะสามารถจัดกลุ่มออกมาได้เป็น 5 ประเภทหลักๆดังนี้

  1. ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
  2. ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มการลงทุน การออม ประกันสังคม และการทำประกัน
  3. ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มเงินบริจาค
  4. ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มการกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย
  5. ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มโครงการรัฐ

1) ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มส่วนตัวและครอบครัว

ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มนี้ ผู้เสียจะภาษีจะไม่สามารถบริหารจัดการอะไรบ้าง เนื่องจากเป็นค่าลดหย่อนที่เกิดจากสถานภาพของแต่ละคน สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว ใช้ได้ที่ 60,000 บาท
  2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส ใช้ได้ที่ 60,000 บาท สำหรับผู้สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีเงินได้
  3. ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา มารดา ของตนและคู่สมรส สามารถหักค่าลดหย่อนได้เดือนละ 30,000 บาท และบิดามารดาจะต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
  4. ค่าลดหย่อนบุตร ใช้ได้ที่คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม หากมีบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในปี 2561 เป็นต้นไป หักค่าลดหย่อนภาษีได้ที่ 60,000 บาท

หมายเหตุ : กรณีที่เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนบุตรจริง หากเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักค่าลดหย่อนได้เดือนละ 30,000 บาท จำนวนสูงสุดไม่เกิน 3 คน

  1. ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการ สามารถหักค่าลดหย่อยได้จำนวน 60,000 บาท โดยที่ผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
  2. ค่าลดหย่อนการฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงและไม่เกิน 60,000 บาท ต่อปี สามีสามารถนำมาใช้ได้ในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ ส่วนเอกสารหลักฐานที่ประกอบการใช้ค่าลดหย่อนคือใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์ ที่ผู้เสียภาษีได้จ่ายไป

2) ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มการลงทุน การออม ประกันสังคม และการทำประกัน

ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มนี้ ผู้เสียจะภาษีจะสามารถบริหารจัดการได้ โดยดูว่าผู้เสียภาษีมีความเสี่ยงในด้านใดก็ควรปิดความเสี่ยงนั้น โดยสามารถลงทุนในกองทุนเพิ่มเติม หรือทำประกัน เพื่อปิดความเสี่ยงและยังได้ผลประโยชน์ทางด้านภาษีอีกด้วย ค่าลดหย่อนในกลุ่มนี้ประกอบด้วย

  1. เงินประกันสังคม สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 7,200 บาท – 9,000 บาท
  2. เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท (เงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับเบี้ยประกันชีวิตคือจะต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป)
  3. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่เสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  4. เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนได้จามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าพ่อมีจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
  5. เบี้ยประกันสุขภาพ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 25,000 แต่หากรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
  7. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
  8. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท
  9. เงินลงทุนในธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ผู้ถือหุ้น หรือ ผู้ที่ลงทุนใน SE สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

3) ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มเงินบริจาค

ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มนี้ ผู้เสียจะภาษีจะสามารถบริหารจัดการได้เช่นเดียวกัน โดยผู้เสียภาษีคนใดที่ต้องการแบ่งปันเงินหรือทรัพยากรที่ตนเองมีให้แก่ผู้อื่น ก็สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่กฎหมายกำหนด ค่าลดหย่อนในกลุ่มนี้มีดังต่อไปนี้

  1. เงินบริจาคทั่วไป สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักเงินค่าลดหย่อน
  2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ สามารถหักค่าลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักเงินค่าลดหย่อนภาษี
  3. เงินบริจาคให้แก่พรรคการเมือง สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

4) ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มการกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย

ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มนี้ เป็นประโยชน์กับผู้ที่ยังไม่มีบ้าน โดยตัวที่สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

5) ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มโครงการรัฐ

โครงการช้อปดีมีคืน 2565 สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้า บริการ ตั้งแต่วันที่ 01/01/65 – 15/02/65 โดยสินค้าที่นำมาหักได้คือ สินค้า OTOP สินค้าหมวดหนังสือ เป็นต้น

สรุป

ค่าลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ที่ผู้เสียภาษีทุกคนควรรู้ จะได้วางแผนภาษีและจัดการภาษีส่วนบุคคลกันได้อย่างเหมาะสม หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า