ค่ารับรอง สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่?

ค่ารับรอง

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

ค่ารับรองถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามที่ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ อย่างไรก็ตามรู้หรือไม่ว่าค่ารับรองบางอย่างที่เข้าเงื่อนไข หลักเกณฑ์ของสรรพากร ก็สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ เช่นเดียวกัน

ค่ารับรองคืออะไร?

ค่ารับรอง ยกตัวอย่างเช่น ค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ตามกฎหมายจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม เนื่องจากทางกรมสรรพากรเข้าใจดีว่าค่าใช้จ่ายประเภทดังกล่าวมีโอกาสมากที่จะมีการนำค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาลงบันทึกบัญชี ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการ

ค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่?

เนื่องจากค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม ดังนั้นค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ จะต้องบวกกลับในการคำนวณภาษี (ยกเว้นค่ารับรองที่เข้าเงื่อนไข ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป) แต่อาจสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในทางบัญชีได้หากว่ามีการจ่ายจริง เราลองมาดูตัวอย่างในการบวกกลับทางภาษีกันดังนี้

สมมติบริษัท A มีรายได้ 100 บาท มีค่าใช้จ่าย (ที่ไม่รวมค่ารับรอง) 80 บาท และมีค่ารับรองจำนวน 5 บาท ดังนั้นงบกำไรขาดทุนของกิจการในทางบัญชีและทางภาษี สามารถแสดงได้ดังนี้

ค่ารับรอง

ในทางบัญชี หากว่าค่ารับรองหากว่าค่ารับรองดังกล่าวมีการจ่ายจริงก็จะต้องบันทึกรายการดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่าย ดังนั้นกำไรขาดทุนทางบัญชีนั้นจะอยู่ที่

กำไรขาดทุนทางบัญชี = รายได้ – ค่าใช้จ่าย (ที่ไม่รวมค่ารับรอง) – ค่ารับรอง

กำไรขาดทุนทางบัญชี = 100 – 80 -5

กำไรขาดทุนทางบัญชี = 15 บาท

ในทางภาษี เนื่องจากค่ารับรองถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม จึงไม่ต้องนำค่ารับรองมาเป็นค่าใช้จ่าย ดังนั้นกำไรขาดทุนทางภาษีนั้นจะอยู่ที่

กำไรขาดทุนทางบัญชี = รายได้ – ค่าใช้จ่าย (ที่ไม่รวมค่ารับรอง)

กำไรขาดทุนทางบัญชี = 100 – 80

กำไรขาดทุนทางภาษี = 20 บาท

แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครมานั่งทำงบกำไรขาดทุนทางภาษีอีกรอบ จึงต้องนำเอากำไรขาดทุนทางบัญชีมาตั้งต้น และทำรายการบวกกลับ เพื่อคำนวณหากำไรขาดทุนทางภาษีแทน เพื่อเสียภาษี ดังนี้

กำไรทางภาษี 20 บาท จะถูกนำไปคำนวณภาษีของบริษัทต่อไป

ดูวิธีการคำนวณภาษีได้ที่นี่ : ภาษีเงินได้นิติบุคคลคืออะไร?

หลักเกณฑ์ที่สามารถนำค่ารับรองมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายกำหนดให้ค่ารับรองที่เข้าเงื่อนไขนั้นสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ เงื่อนไขดังกล่าวมีดังนี้

  1. เป็นค่ารับรองที่จำเป็นตามธรรมเนียม ประเพณี ทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้การรับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้าง เว้นแต่ ลูกจ้างดังกล่าวนั้นมีหน้าที่ในการเข้าร่วมการรับรองนั้นด้วย
  2. ค่ารับรองนั้นจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการ
  3. เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการไม่เกินคนละ 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ
  4. ค่ารับรองนั้นต้องมีผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ่าย และมีหลักฐานในการจ่ายประกอบ เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหากจะนำค่ารับรองมาเป็นค่าใช้จ่ายก็จะมีลิมิต คือ สามารถนำค่ารับรองมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 0.3% ของรายได้ หรือ ของทุนที่ได้รับชำระแล้ว แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า (รายได้ หรือ ทุนชำระแล้ว) ทั้งนี้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง : ทุนชำระแล้ว 1,000,000 บาท รายได้ 2,000,000 บาท ค่ารับรอง 7,000 บาท

เปรียบเทียบ รายได้ 2,000,000 บาท > ทุนชำระแล้ว 1,000,000 บาท

ค่ารับรองที่สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ = รายได้ (ตัวที่มากกว่า) x 0.3%

ค่ารับรองที่สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ = 2,000,000 x 0.3%

ค่ารับรองที่สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ = 6,000 บาท

ค่ารับรองที่บันทึกบัญชีคือ 7,000 บาท แต่เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ 6,000 จึงต้องบวกกลับ 1,000 บาท ในการคำนวณภาษีของบริษัท

สรุป

ค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายอีกตัว ที่ต้องใช้ความรู้ทางบัญชี ภาษี เพื่อวางแผนภาษีให้ถูกต้อง เพื่อให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ

ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา

(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)

ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า

 ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ