งบเลิกกิจการมีลักษณะอย่างไร

งบเลิกกิจการ

โปรโมชั่นสุดพิเศษ (หากตกลงทำบัญชีกับเราภายในเดือนนี้)

  1. ทำบัญชีให้ฟรีเดือนแรก (หากรู้สึกว่าไม่คลิ๊ก คุณสามารถเปลี่ยนสำนักงานบัญชีได้ในเดือนถัดไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
  2. ให้สิทธิ์ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) ฟรีตลอดการใช้บริการกับทางเรา (เฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยใช้โปรแกรม PEAK เท่านั้น)
  3. สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ (PEAK) เบื้องต้น
  4. แจกคอร์ส VDO ออนไลน์ (กว่า 30 ชั่วโมง) เกี่ยวกับบัญชี ภาษี ฟรี คุณสามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติมทางด้านบัญชีภาษีด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเนื้อหาหลักสูตรตามนี้

ติดต่อ : คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt

ทุกๆบริษัทที่เลิกกิจการจะต้องมีการจัดทำงบเลิกกิจการ เพื่อนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตัวงบเลิกกิจการจะมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนกันงบการเงินทั่วไป ในบทความนี้เรามาดูรายละเอียดกันครับ

ท่านใดต้องการจดทะเบียนเลิกบริษัท โดยผู้เชียวชาญ ดูรายละเอียดได้ที่ : จดทะเบียนเลิกบริษัท

ทำไมจึงต้องจัดทำงบเลิกกิจการ

ตามกฎหมายเมื่อเราจดทะเบียนเลิกบริษัทเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เราจะต้องทำหลังจากนั้นคือการให้นักบัญชีจัดทำและให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ งบการเงินดังกล่าวจะแสดงรายละเอียดฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ ณ วันที่เลิกกิจการ

ความสำคัญของงบการเงินดังกล่าวที่จะต้องมีการจัดทำเพื่อทำให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ ณ วันที่เลิกกิจการ เพื่อให้รายละเอียดแก่ผู้ชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีจะได้สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปชำระบัญชีได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ยกตัวอย่างเช่น เก็บเงินจากลูกหนี้ จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ และจะได้นำเงินที่เหลือจากการเคลียร์ชำระบัญชีไปจ่ายคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

งบเลิกกิจการต้องส่งให้ใครบ้าง

งบเลิกกิจการจะต้องถูกนำไปส่งให้ 2 ที่ คือ

  1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. กรมสรรพากร

งบเลิกกิจการจะถูกส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในขั้นตอนของการจดเสร็จชำระบัญชี โดยนายทะเบียนจะนำงบการเงินไปวิเคราะห์ว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการเลิกและเสร็จชำระบัญชี เพื่อให้เอกสารและหลักฐานประกอบการเสร็จชำระบัญชีให้ครบถ้วนมากที่สุด

งบเลิกกิจการจะถูกส่งให้กรมสรรพากรในขั้นตอนการเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสรรพากรจะนำงบการเงินไปวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆว่าทางบริษัทได้เสียภาษีมาครบถ้วนแล้วหรือไม่ ประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องได้แก่ ภาษีของนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น หากทางบริษัทยังเสียภาษีไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรก็จะแจ้งให้บริษัทไปเสียภาษีให้ครบถ้วน ถ้าบริษัทเสียภาษีครบถ้วนแล้ว ทางกรมสรรพากรจึงจะออกหนังสือขีดชื่อเลขผู้เสียภาษีออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่มให้

ตัวอย่างหน้ารายงานผู้สอบบัญชี

หน้ารายงานผู้สอบบัญชีจะเป็นไปตามตัวอย่างของสภาวิชาชีพบัญชีดังนี้ครับ

หน้ารายงานผู้สอบ งบเลิกกิจการ1
หน้ารายงานผู้สอบ งบเลิกกิจการ3

จุดแตกต่างกับหน้ารายงานผู้สอบบัญชีทั่วๆไปอยู่ที่ตรงวรรคข้อมูลและเหตุการณ์ที่เน้น หากเป็นงบเลิกจะต้องมีการอธิบายถึงการจดทะเบียนเลิกและเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

นอกจากนี้ในหน้ารายงานผู้สอบบัญชี หากมีคำว่าผู้บริหาร จะต้องเปลี่ยนเป็นคำว่าผู้ชำระบัญชีทั้งหมด เนื่องจากหากกิจการเลิกแล้ว ณ วันที่มีมติให้เลิกบริษัทจะมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ดังนั้นอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารจึงหมดไป เหลือแต่อำนาจของผู้ชำระบัญชี เพื่อเข้ามาสะสางสินทรัพย์และหนี้สินต่างๆของบริษัท เพื่อคืนเงินส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ถือหุ้น

นอกจากนี้ให้จำไว้ว่าในการเลิกกิจการที่เป็นห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก (รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท) หรือขนาดใหญ่ จะต้องให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบจะไม่สามารถใช้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ได้ และหน้ารายงานของผู้สอบสำหรับงบ ณ วันเลิกกิจการ จะต้องเป็นหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีเท่านั้น จะไม่สามารถใช้หน้ารายงานแบบผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ได้

สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างได้ที่นี่ : ตัวอย่างหน้ารายงานผู้สอบบัญชี

งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ

งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการในส่วนอื่นๆจะมีดังต่อไปนี้

ตัวอย่างงบแสดงฐานะการเงิน

งบแสดงฐานะการเงิน งบเลิกกิจการ

ลักษณะสำคัญของงบแสดงฐานะการเงินมีดังนี้

  1. ไม่ต้องแสดงงบเปรียบเทียบ โดยให้แสดงตัวเลขเฉพาะปีที่เลิกเท่านั้น
  2. ผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้เซ็นงบ (ไม่ใช่กรรมการ)
  3. ต้องระบุด้วยว่าวันที่ในงบเลิกกิจการนี้ให้ชัดเจนว่าเป็น “วันที่มีมติเลิก” หรือ “วันที่จดทะเบียนเลิก” เนื่องจากตัวกฎหมายกำหนดให้กิจการสามารถเลือกได้ว่าจะจัดทำงบการเงินตามวันที่ประชุมที่มีมติเลิก หรือ วันที่จดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถ้าให้ผมแนะนำเราควรเลือกวันที่จดทะเบียนเลิกครับ วันที่เลิกจะได้ตรงกับหลักฐานในหนังสือรับรองบริษัท
  4. ยอดคงค้างที่เหลืออยู่ต้องจัดการประเด็นทางด้านภาษีให้ถูกต้อง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องประเด็นงบการเงินได้ที่บทความนี้ : เลิกบริษัทมีประเด็นงบการเงินอะไรบ้างที่ควรทราบ

ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุน งบเลิกกิจการ

ลักษณะสำคัญของงบกำไรขาดทุนมีดังนี้

  1. ไม่ต้องแสดงงบเปรียบเทียบ โดยให้แสดงตัวเลขเฉพาะปีที่เลิกเท่านั้น
  2. ผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้เซ็นงบ (ไม่ใช่กรรมการ)
  3. ต้องระบุด้วยว่าวันที่ในงบเลิกกิจการนี้ให้ชัดเจนว่าเป็น “วันที่มีมติเลิก” หรือ “วันที่จดทะเบียนเลิก” เนื่องจากตัวกฎหมายกำหนดให้กิจการสามารถเลือกได้ว่าจะจัดทำงบการเงินตามวันที่ประชุมที่มีมติเลิก หรือ วันที่จดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถ้าให้ผมแนะนำเราควรเลือกวันที่จดทะเบียนเลิกครับ วันที่เลิกจะได้ตรงกับหลักฐานในหนังสือรับรองบริษัท

ตัวอย่างงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบเลิกกิจการ

ลักษณะสำคัญของงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นมีดังนี้

  1. ไม่ต้องแสดงงบเปรียบเทียบ โดยให้แสดงตัวเลขเฉพาะปีที่เลิกเท่านั้น
  2. ผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้เซ็นงบ (ไม่ใช่กรรมการ)
  3. ต้องระบุด้วยว่าวันที่ในงบเลิกกิจการนี้ให้ชัดเจนว่าเป็น “วันที่มีมติเลิก” หรือ “วันที่จดทะเบียนเลิก” เนื่องจากตัวกฎหมายกำหนดให้กิจการสามารถเลือกได้ว่าจะจัดทำงบการเงินตามวันที่ประชุมที่มีมติเลิกหรือ วันที่จดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถ้าให้ผมแนะนำเราควรเลือกวันที่จดทะเบียนเลิกครับ วันที่เลิกจะได้ตรงกับหลักฐานในหนังสือรับรองบริษัท
[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]

ตัวอย่างหมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบเลิกกิจการ

ลักษณะสำคัญของหมายเหตุประกอบงบการเงินมีดังนี้

  1. ไม่ต้องแสดงงบเปรียบเทียบ โดยให้แสดงตัวเลขเฉพาะปีที่เลิกเท่านั้น
  2. ผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้เซ็นงบ (ไม่ใช่กรรมการ)
  3. ต้องระบุด้วยว่าวันที่ในงบเลิกกิจการนี้ให้ชัดเจนว่าเป็น “วันที่มีมติเลิก” หรือ “วันที่จดทะเบียนเลิก” เนื่องจากตัวกฎหมายกำหนดให้กิจการสามารถเลือกได้ว่าจะจัดทำงบการเงินตามวันที่ประชุมที่มีมติเลิกหรือ วันที่จดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถ้าให้ผมแนะนำเราควรเลือกวันที่จดทะเบียนเลิกครับ วันที่เลิกจะได้ตรงกับหลักฐานในหนังสือรับรองบริษัท
  4. จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนเลิก และเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน
[/col_inner_3] [/row_inner_3]

สรุปงบเลิกกิจการ

งบเลิกกิจการเป็นงบที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากถูกบังคับตามกฎหมายว่าผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ต้องจัดทำงบดังกล่าวเพื่อยื่นให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าตอนจดเสร็จชำระบัญชี และกรมสรรพากรก็ต้องให้ยื่น ภงด.50 พร้อมงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ นอกจากนี้งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ ยังมีประโยชน์ให้สามารถช่วยในการชำระบัญชีได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนอีกด้วย