ภาษี e-service เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลไทยพยายามเรียกเก็บภาษีจากแพลทฟอร์มต่างประเทศที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยใช้ช่องทางออนไลน์ในการหารายได้จากประเทศไทย ในบทความนี้เราจะมาอธิบายกันในทุกแง่มุมของภาษี e-service
ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี
ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน
- ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
- ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
- ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
- Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
- ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
- ดูรีวิวจากลูกค้า
- About me
ที่มาในการออกกฎหมาย e-service
หลักของกฎหมายดังกล่าวสร้างขึ้นมาเพื่อให้ประเทศไทยสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีดังกล่าวยังทำให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทย และผู้ประกอบการต่างชาติอีกด้วย
ผมยกตัวอย่างเช่น สมมติว่ามีผู้ประกอบการไทย ต้องการทำธุรกิจ Search engine เพื่อให้ผู้บริโภคหาข้อมูลต่างๆได้ในโลกอินเตอร์เน็ตแบบเดียวกับ Google หากผู้ประกอบการในไทยมีรายได้จากการโฆษณาเกิดขึ้นจะถือว่าเป็นรายได้จากการให้บริการในราชอาณาจักร ซึ่งตามหลักภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องเสีย Vat ที่ 7% จากยอดขายที่เกิดขึ้น ในขณะที่ทาง Google เป็นผู้ให้บริการแพลทฟอร์มจากต่างชาติที่เข้ามามีรายได้จากคนไทยแต่หากไม่ต้องเสียภาษีเลย ก็จะทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถทำธุรกิจสู้กับแพลทฟอร์มต่างชาติได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวดังนั้นจึงมีการออกกฎหมายดังกล่าวขึ้น โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564
ธุรกิจที่เข้าข่าย e-service และต้องยื่นจดทะเบียนกับทางกรมสรรพากร
ธุรกิจที่เข้าข่ายภาษีดังกล่าวและต้องยื่นจดทะเบียนกับกรมสรรพากรมีอยู่ด้วยกัน 5 ธุรกิจหลักดังนี้
- ธุรกิจแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada เป็นต้น
- ธุรกิจแพลตฟอร์มโฆษณา เช่น Google, Facebook เป็นต้น
- ธุรกิจแพลตฟอร์มให้บริการจองโรงแรม ที่พัก และการเดินทางต่างๆ เช่น Agoda, Booking.com เป็นต้น
- ธุรกิจแพลตฟอร์มที่ให้บริการเป็นตัวกลาง เช่น Grab, Line Man เป็นต้น
- ธุรกิจแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์ เช่น Youtube, Netflix, App store, Play store เป็นต้น
สำหรับรายชื่อธุรกิจที่เข้าข่ายภาษี e-service ข้างต้น เราสามารถตรวจสอบรายชื่อกับเว็บกรมสรรพากรได้ ที่นี่เลยครับ
ภาษี E-service เกี่ยวข้องอะไรกับเรา
จะเห็นได้ว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ e-service ที่กล่าวเอาไว้ในหัวข้อก่อนล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของพวกเราทั้งสิ้น หากลองพิจารณาจากรายชื่อ App ต่างๆล้วนแล้วแต่เป็น App ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเราทั้งสิ้นทั้ง Shopee, Lazada, Google, Facebook, Agoda, Booking.com, Grab, Line Man, Youtube, Netflix, App store, Play store
ดังนั้นเมื่อรัฐบาลเรียกเก็บภาษี e-service จากผู้ประกอบการดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อเราแน่ๆในแง่ของภาระต้นทุนทางภาษีที่สูงขึ้น เริ่มจากผู้ประกอบการแพลทฟอร์มต่างชาติที่มีอำนาจในการต่อรองสูงสุดก็จะผลักภาระภาษีมาให้แก่พ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์ รวมถึงผู้บริโภคในที่สุด
การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นต้องทำอย่างไร
ก่อนที่จะอธิบายหัวข้อนี้ ต้องอธิบายหลักเกณฑ์ในการปฎิบัติเดิมก่อนว่า แต่เดิมผู้ประกอบการที่จด Vat และมีการจ่ายค่าบริการให้แพลทฟอร์มต่างประเทศ จะต้องยื่นและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบฟอร์ม ภพ.36 อยู่แล้ว ซึ่งทางรัฐบาลก็สามารถจัดเก็บภาษีจากกลุ่มนี้ได้อยู่แล้ว ดังนั้นสำหรับภาษี e-service สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่จด Vat อยู่แล้วก็ให้ทำแบบเดิมไปคือให้นำส่งและยื่นแบบ ภพ.36 เมื่อมีการจ่ายค่าบริการให้แก่แพลทฟอร์มต่างประเทศ
แต่กลุ่มที่รัฐบาลยังไม่สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ นั่นคืออลูกค้ากลุ่มบุคคลทั่วๆไปที่ไม่ได้จด Vat แต่มีการจ่ายค่าบริการให้แก่แพลทฟอร์มต่างประเทศ ดังนั้นในส่วนนี้การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการแพลทฟอร์มต่างประเทศ โดยจะต้องไปดำเนินการดังนี้
- ผู้ให้บริการแพลทฟอร์มต่างประเทศ มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- นำส่งภาษีให้สรรพากรเป็นประจำทุกเดือนด้วยแบบ ภพ.30 สำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้จด Vat
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ผมทำสรุปมาเป็นตารางเพิ่มเติมให้ดังต่อไปนี้
กรณีใช้แพลทฟอร์มโฆษณาของ Google Facebook พ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์ ต้องเสียภาษีอย่างไร
- ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน Vat อยู่แล้ว จะต้องไปกรอกข้อมูลและส่งหลักฐานการจดทะเบียนให้แก่ทางแพลทฟอร์ม
- สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียน Vat อยู่แล้วจะเสียภาษีเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือให้ยื่น และนำส่งภาษีโดยใช้แบบ ภพ.36 เหมือนเดิม
- สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียน Vat จะเสียค่าบริการเพิ่มขึ้นอีก 7% และทางแพลทฟอร์มต่างประเทศ จะเป็นผู้นำส่งภาษีในส่วนนี้ให้แก่กรมสรรพากรเอง
สรุป
ภาษี e-service เป็นภาษีรูปแบบใหม่ เพื่อให้ทางรัฐบาลสามารถเรียกเก็บภาษีได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจมากยิ่งขึ้นระหว่างผู้ประกอบการไทย และผู้ประกอบการต่างประเทศ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านครับ
ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา
(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)
ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้าช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ