พนักงานผู้ประกันตนทั้งหลายมีสิทธิประกันสังคม ในหลายๆด้านดังนี้
- สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
- สิทธิกรณีคลอดบุตร
- สิทธิกรณีทุพพลภาพ
- สิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิต
- สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร
- สิทธิกรณีชราภาพ
- สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน
- สิทธิกรณีอื่นๆ
บทความนี้เราจะมาอธิบายสิทธิประกันสังคมแต่ละตัวอย่างละเอียด ผู้ประกันตนทุกท่านจะได้ไม่เสียสิทธิ์กันครับ (เช็คสิทธิประกันสังคม)
ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี
ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน
- ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
- ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
- ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
- Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
- ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
- ดูรีวิวจากลูกค้า
- About me
สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
ผู้ประกันตนได้รับสิทธิในการตรวจและรักษาจากโรงพยาบาล สถานพยาบาลต่างๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลนั้นจะต้องอยู่ในเครือข่ายตามสิทธิ หากเราไปรักษาในโรงพยาบาลอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย ก็จะไม่ได้รับสิทธิประกันสังคมดังกล่าว
ในกรณีที่โรงพยาบาล สถานพยาบาลต่างๆไม่สามารถให้บริการได้และต้องมีการส่งตัวไปรับบริการรักษาที่โรงพยาบาล สถานพยาบาลเครื่อข่ายที่มีศักยภาพสูงกว่าผู้ประกันตนก็ได้รับสิทธิด้วย
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าทุกโรคจะสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ เพราะมีบางโรคที่ผู้ประกันตนนั้นก็ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ โรคที่ได้รับการยกเว้นที่ไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม มีดังต่อไปนี้
- โรคหรืออันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเสพติด เช่น ถ้าเราติดยาแล้วเป็นโรคหรือเจ็บป่วยจากการใช้สารเสพติด เราก็จะไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้
- โรคไตที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง อย่างไรก็ตามในส่วนนี้จะมีข้อยกเว้นกรณีเป็นไตวายระยะสุดท้าย สามารถได้รับสิทธิการรักษาตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่ประกันสังคมกำหนดได้)
- การเสริมความงามในรูปแบบต่างๆ โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่นหากเราไปทำศัลยกรรมมาทั้งๆที่ไม่ได้ป่วยหรือไม่ได้เป็นอะไรก็จะไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้
- การรักษาที่อยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง กล่าวคือโรคที่ยังไม่มีแนวทางในการรักษาที่ชัดเจน และยังไม่รู้ว่าวิธีการรักษาที่ใช้อยู่นั้นถูกต้องหรือไม่
- การรักษากรณีภาวะมีลูกยาก เช่นหากเรามีลูกยาก และไปปรึกษาแพทย์อันนี้ก็จะไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้
- การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ อย่างไรก็ตามจะมีข้อยกเว้นกรณีการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อปลูกถ่ายอวัยวะหรือเซลล์ต้นกำเนิด ตามหลักเกณฑ์ที่กรมการแพทย์กำหนด
- การตรวจและรักษาใดๆก็ตามที่เกินความจำเป็น เช่น หากเราเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ต้องการให้ทางโรงพยาบาลทำ CT Scan แบบนี้ก็ไม่สามารถเบิกได้
- การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนอวัยวะ อย่างไรก็ตามจะมีบางรายการที่สามารถเบิกได้ (ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด) ดังนี้ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด, การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา, การปลูกถ่ายตับ ปอด หัวใจ ตับอ่อน
- การผ่าตัดแปลงเพศ หากเราเป็นผู้ชายและต้องการแปลงเพศเป็นผู้หญิง อันนี้เราก็จะไม่สามารถเบิกได้
- การผสมเทียม
- การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
- การทำทันตกรรม อย่างไรก็ตามจะสามารถเบิกได้บางกรณีดังนี้ การถอนฟัน การอุดฟัน การขูหินปูน การผ่าฟันคุต เบิกได้ไม่เกิน 900 บาทต่อปี หรือหากเป็นการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ มีสิทธิเบิกได้ 1,300 – 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
- ค่าแว่นตา
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บประกันสังคม : กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
สิทธิกรณีคลอดบุตร
หลักเกณฑ์และเงื่อไขต่างๆเป็นดังต่อไปนี้
- ผู้ประกันตนมีระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบมาแล้วมากกว่า 5 เดือน และจ่ายเงินสมทบภายใน 15 เดือนก่อนคลอคบุตร
- จ่ายค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในราคา 15,000 บาท สำหรับการคลอดบุตร 1 ครั้ง
- สำหรับผู้ประกันตนที่เป็นผู้หญิงมีสิทธิรับเงินสงคราะห์การคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
- กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น และไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บประกันสังคม : กรณีคลอดบุตร
สิทธิกรณีทุพพลภาพ
คำว่าทุพพลภาพ หมายถึง การสูญเสียอวัยวะ สมรรถภาพของอวัยวะหรือของงร่างกาย หรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ หรือทำให้ความสามารถในการทำงานนั้นลดลง
เงื่อนไขที่สำคัญคือผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือนและภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ โดยประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับนั้นมีดังต่อไปนี้
- เงินทดแทนจากการขาดรายได้ หากเป็นกรณีรุนแรงได้รับเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต หากเป็นกรณีไม่รุนแรงจะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
- ค่าบริการทางการแพทย์
กรณีโรงพยาบาลของรัฐ
- ผู้ป่วยนอก OPD จ่ายตามจริงตามความจำเป็น
- ผู้ป่วยใน IPD คำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรค (DRGs)
กรณีโรงพยาบาลเอกชน
- ผู้ป่วยนอก OPD จ่ายตามจริงแต่ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
- ผู้ป่วยใน IPD จ่ายตามจริงแต่ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
3. ค่ารถพยาบาลรับส่งผู้ทุพพลภาพ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
4. ได้รับเงินบำเน็จชราภาพ เมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ
5. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามหลักเกณฑ์ที่ประกันสังคมกำหนด
6. ค่าทำศพ กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพตาย ผู้ที่ดำเนินการจัดงานศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท
7. เงินสงเคราะห์ กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพตาย ผู้มีสิทธิได้รับดังนี้
- หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบระหว่าง 3-10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
- ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมากกว่า 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บประกันสังคม : กรณีทุพพลภาพ
สิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิต
กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน หากจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือนและภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ
- เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ให้จ่ายให้แก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือให้เป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินสงเคราะห์ แต่ถ้าไม่ได้ระบุไว้ จะจ่ายให้ สามีหรือภรรยา พ่อ แม่ หรือลูก ของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากันดังต่อไปนี้
- ก่อนเสียชีวิตหากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือน – 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
- ก่อนเสียชีวิตหากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้ว มากกว่า 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บประกันสังคม : กรณีเสียชีวิต
สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร
อันดับแรกเงื่อนไขสำคัญคือจะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39
- เมื่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 – 36 ดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน
- ต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- อายุของบุตรคือตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 6 ปี จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
สำหรับการหมดสิทธิที่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรนั้นเป็นดังต่อไปนี้
- เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปี
- บุตรเสียชีวิต
- ยกบุตรให้เป็นบัตรบุญธรรมของผู้อื่น
- ความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บประกันสังคม : กรณีสงเคราะห์บุตร
สิทธิกรณีชราภาพ
หากผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลง สามารถได้รับประโยชน์ทดแทนตามรายละเอียดดังนี้
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วมากกว่า 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน ร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
- กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน สามารถเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพได้ ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน
- กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเน็จชราภาพ (ได้ครั้งเดียว) เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่าย แต่หากเป็นกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเน็จชราภาพ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บประกันสังคม : กรณีชราภาพ
สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน
หลักเกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิกรณีว่างงาน
- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
- ระยะเวลาในการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
- ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน
- ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
- เป็นผู้ที่ความสามารถในการทำงาน พร้อมแล้วเต็มใจในการทำงาน
- ไม่ได้ปฏิเสธในการฝึกงาน
- ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้าง (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับมีดังต่อไปนี้
- ถ้าถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
- กรณีลาออกได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน อัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : กรณีว่างงาน
สิทธิกรณีอื่น
นอกจากนี้ทางประกันสังคมได้มีการกำหนดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ : สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม
สรุป
สิทธิประกันสังคม มี 7 เรื่องหลักๆนั่นคือ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ กรณีว่างงาน ซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้ประกันตนต้องทราบเนื่องจากผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบไปแล้ว ก็ควรรักษาสิทธิต่างๆที่พึงได้รับตามหลักเกณฑ์ ให้มากที่สุด หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ
ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา
(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)
ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้าช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ