ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ในธุรกิจทั่วไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกฎและเงื่อนไขในการทำธุรกิจเพื่อให้มีความยุติธรรมและเป็นไปตามหลักการของระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ดูรายละเอียดเนื้อหาได้ที่นี่ : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ก่อนที่จะไปเข้าใจความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เราต้องเข้าใจความหมายแบบแยกส่วนก่อน คือคำว่า กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์
กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น
กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยจะไปเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจ ระหว่างบุคคล เช่น การตั้งห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
เมื่อรวมกันแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำหนดกฎและเงื่อนไขในการทำธุรกิจเพื่อให้มีความยุติธรรมและเป็นไปตามหลักการของระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก
หัวข้อย่อยของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
-
บรรพ ๑ หลักทั่วไป (มาตรา ๔ – ๑๙๓/๓๕)
- ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป (มาตรา ๔ – ๑๔)
- ลักษณะ ๒ บุคคล (มาตรา ๑๕ – ๑๓๖)
- ลักษณะ ๓ ทรัพย์ (มาตรา ๑๓๗ – ๑๔๘)
- ลักษณะ ๔ นิติกรรม (มาตรา ๑๔๙ – ๑๙๓)
- ลักษณะ ๕ ระยะเวลา (มาตรา ๑๙๓/๑ – ๑๙๓/๘)
- ลักษณะ ๖ อายุความ (มาตรา ๑๙๓/๙ – ๑๙๓/๓๕)
-
บรรพ ๒ หนี้ (มาตรา ๑๙๔ – ๔๕๒)
- ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป (มาตรา ๑๙๔ – ๓๕๓)
- ลักษณะ ๒ สัญญา (มาตรา ๓๕๔ – ๓๙๔)
- ลักษณะ ๓ จัดการงานนอกสั่ง (มาตรา ๓๙๕ – ๔๐๕)
- ลักษณะ ๔ ลาภมิควรได้ (มาตรา ๔๐๖ – ๔๑๙)
- ลักษณะ ๕ ละเมิด (มาตรา ๔๒๐ – ๔๕๒)
-
บรรพ ๓ เอกเทศสัญญา (มาตรา ๔๕๓ – ๑๒๙๗)
- ลักษณะ ๑ ซื้อขาย (มาตรา ๔๕๓ – ๕๑๗)
- ลักษณะ ๒ แลกเปลี่ยน (มาตรา ๕๑๘ – ๕๒๐)
- ลักษณะ ๓ ให้ (มาตรา ๕๒๑ – ๕๓๖)
- ลักษณะ ๔ เช่าทรัพย์ (มาตรา ๕๓๗ – ๕๗๑)
- ลักษณะ ๕ เช่าซื้อ (มาตรา ๕๗๒ – ๕๗๔)
- ลักษณะ ๖ จ้างแรงงาน (มาตรา ๕๗๕ – ๕๘๖)
- ลักษณะ ๗ จ้างทำของ (มาตรา ๕๘๗ – ๖๐๗)
- ลักษณะ ๘ รับขน (มาตรา ๖๐๘ – ๖๓๙)
- ลักษณะ ๙ ยืม (มาตรา ๖๔๐ – ๖๕๖)
- ลักษณะ ๑๐ ฝากทรัพย์ (มาตรา ๖๕๗ – ๖๗๙)
- ลักษณะ ๑๑ ค้ำประกัน (มาตรา ๖๘๐ – ๗๐๑)
- ลักษณะ ๑๒ จำนอง (มาตรา ๗๐๒ – ๗๔๖)
- ลักษณะ ๑๓ จำนำ (มาตรา ๗๔๗ – ๗๖๙)
- ลักษณะ ๑๔ เก็บของในคลังสินค้า (มาตรา ๗๗๐ – ๗๙๖)
- ลักษณะ ๑๕ ตัวแทน (มาตรา ๗๙๗ – ๘๔๔)
- ลักษณะ ๑๖ นายหน้า (มาตรา ๘๔๕ – ๘๔๙)
- ลักษณะ ๑๗ ประนีประนอมยอมความ (มาตรา ๘๕๐ – ๘๕๒)
- ลักษณะ ๑๘ การพนัน และขันต่อ (มาตรา ๘๕๓ – ๘๕๕)
- ลักษณะ ๑๙ บัญชีเดินสะพัด (มาตรา ๘๕๖ – ๘๖๐)
- ลักษณะ ๒๐ ประกันภัย (มาตรา ๘๖๑ – ๘๙๗)
- ลักษณะ ๒๑ ตั๋วเงิน (มาตรา ๘๙๘ – ๑๐๑๑)
- ลักษณะ ๒๒ หุ้นส่วนและบริษัท (มาตรา ๑๐๐๒ – ๑๒๗๓/๔)
- ลักษณะ ๒๓ สมาคม (มาตรา ๑๒๗๔ – ๑๒๙๗)
-
บรรพ ๔ ทรัพย์สิน (มาตรา ๑๒๙๘ – ๑๔๓๔)
- ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป (มาตรา ๑๒๙๘ – ๑๓๐๗)
- ลักษณะ ๒ กรรมสิทธิ์ (มาตรา ๑๓๐๘ – ๑๓๖๖)
- ลักษณะ ๓ ครอบครอง (มาตรา ๑๓๖๗ – ๑๓๘๖)
- ลักษณะ ๔ ภาระจำยอม (มาตรา ๑๓๘๗ – ๑๔๐๑)
- ลักษณะ ๕ อาศัย (มาตรา ๑๔๐๒ – ๑๔๐๙)
- ลักษณะ ๖ สิทธิเหนือพื้นดิน (มาตรา ๑๔๑๐ – ๑๔๑๖)
- ลักษณะ ๗ สิทธิเก็บกิน (มาตรา ๑๔๑๗ – ๑๔๒๘)
- ลักษณะ ๘ ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (มาตรา ๑๔๒๙ – ๑๔๓๔)
-
บรรพ ๕ ครอบครัว (มาตรา ๑๔๓๕ – ๑๕๙๘/๔๑)
- ลักษณะ ๑ การสมรส (มาตรา ๑๔๓๕ – ๑๕๓๕)
- ลักษณะ ๒ บิดามารดากับบุตร (มาตรา ๑๕๓๖ – ๑๕๙๘/๓๗)
- ลักษณะ ๓ ค่าอุปการะเลี้ยงดู (มาตรา ๑๕๙๘/๓๘ – ๑๕๙๘/๔๑)
-
บรรพ ๖ มรดก (มาตรา ๑๕๙๙ – ๑๗๕๕)
- ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป (มาตรา ๑๕๙๙ – ๑๖๑๙)
- ลักษณะ ๒ สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก (มาตรา ๑๖๒๐ – ๑๖๔๕)
- ลักษณะ ๓ พินัยกรรม (มาตรา ๑๖๔๖ – ๑๗๑๐)
- ลักษณะ ๔ วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก (มาตรา ๑๗๑๑ – ๑๗๕๒)
- ลักษณะ ๕ มรดกที่ไม่มีผู้รับ (มาตรา ๑๗๕๓)
- ลักษณะ ๖ อายุความ (มาตรา ๑๗๕๔ – ๑๗๕๕)
เครดิต : ข้อมูลจาก https://www.drthawip.com/
ความสำคัญของการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับธุรกิจ
ความสำคัญของการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับธุรกิจ มีดังต่อไปนี้
- สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ
การปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ลูกค้าจะมีความมั่นใจว่าธุรกิจของคุณดำเนินงานอย่างถูกต้องและอยู่ในขอบเขตของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคคลกรในองค์กรอีกด้วย
- การลดความเสี่ยงทางกฎหมาย
การที่ธุรกิจปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ช่วยลดความเสี่ยงทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการลดโทษทางกฎหมาย หรือการป้องกันไม่ให้เกิดการดำเนินคดีทางกฎหมายที่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจได้
- สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี
การปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ช่วยสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีให้กับธุรกิจของคุณ ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกค้าและส่วนแบ่งตลาดเชื่อมั่นและเลือกใช้บริการหรือสินค้าของคุณได้
ผลกระทบต่อกิจการที่ไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อกิจการได้ นี่คือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น : การละเลยการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อาจทำให้ธุรกิจต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าปรับหรือค่าเสียหายทางกฎหมาย ทำให้ธุรกิจต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือ อาจเกิดจากคดีความหรือค่าชดใช้ที่ต้องชำระให้กับอีกฝ่าย ค่าเสียหายทางกฎหมายอาจเป็นจำนวนเงินที่สูงและสามารถทำให้ธุรกิจต้องปิดตัวลงได้
- ความน่าเชื่อถือลดลง : การไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อาจทำให้ลูกค้าและคู่ค้าสูญเสียความเชื่อถือในธุรกิจ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของธุรกิจ และอาจส่งผลให้ลูกค้าหรือคู่ค้าเลือกที่จะไม่ทำธุรกิจกับคุณอีกต่อไป
สรุป
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ บุคคล นิติบุคคล การดำเนินธุรกิจ ดังนั้นจึงเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาที่กว้างที่เราควรให้ความสำคัญในการศึกษา หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ
ติดต่อมาได้เลยครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา
(คุณวิน 087-6732884 Line ID : @618kssyt)
ติดต่อ Line ดูรีวิวจากลูกค้า