ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีบุคคลที่ทุกคนจะต้องเสียให้แก่รัฐหากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยจัดเก็บจากฐานกำไรสุทธิทางภาษี
ในบทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบในเรื่องอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเปรียบเทียบและมองภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าควรจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือไม่
ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี
ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน
- ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
- ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
- ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
- Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
- ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
- ดูรีวิวจากลูกค้า
- About me
วิธีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยทั่วไปแล้ววิธีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสูตรการคำนวณดังนี้
เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ซึ่งจริงๆแล้ววิธีการในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก ซึ่งผมได้เคยเขียนอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดแล้วในบทความที่ชื่อว่า “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร” ดังนั้นในบทความนี้ผมจะไม่ได้เขียนรายละเอียดวิธีการคำนวณอีก ท่านใดต้องการทราบวิธีการคำนวณก่อนเชิญคลิ๊กเข้าไปอ่านบทความย้อนหลังได้เลยนะครับ
วิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
วิธีการในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลมีวิธีการคำนวณดังต่อไปนี้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล = กำไรทางภาษี x อัตราภาษี
จากสูตรในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว สามารถแตกรายละเอียดออกมาได้ดังนี้
กำไรทางภาษี = กำไรทางบัญชี + ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี
ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี จริงๆแล้วมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ในที่นี้ผมขอสรุปตัวหลักๆมาให้ดังนี้ครับ
ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี = รายจ่ายต้องห้าม + รายได้เพิ่มทางภาษี
สรุปสูตรภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล = (กำไรสุทธิทางบัญชี + ผลแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี) x อัตราภาษี
จริงๆแล้ววิธีการในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลมีรายละเอียดเพิ่มเติมค่อนข้างมาก ซึ่งผมได้เคยเขียนอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดแล้วในบทความที่ชื่อว่า “ภาษีเงินได้นิติบุคคลคืออะไร” ดังนั้นในบทความนี้ผมจะไม่ได้เขียนรายละเอียดวิธีการคำนวณอีก ท่านใดต้องการทราบวิธีการคำนวณก่อนเชิญคลิ๊กเข้าไปอ่านบทความย้อนหลังได้เลยนะครับ
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2564
สำหรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัพเดทล่าสุดจะเป็นไปตามตารางด้านล่างนี้
โดยบุคคลแต่ละบุคคลที่มีเงินได้ ต้องนำเงินได้สุทธิที่คำนวณได้ มาคำนวณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวเพื่อคำนวณหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกมา เช่น สมมติให้นาย ก มีเงินได้สุทธิประจำปีที่ 1,550,000 บาท ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของนาย ก จะอยู่ที่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อนำเงินได้สทธิ คูณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วก็จะได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = 252,500 บาท
ที่มา : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แนะนำหลักสูตรเรียนออนไลน์
สำหรับท่านใดที่สนใจเรียนหลักสูตรออนไลน์ ดูรายละเอียดได้ดังนี้
บัญชีภาษีสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ เน้นปูพื้นฐานให้สำหรับผู้ที่เพิ่งจดจัดตั้งบริษัทใหม่ แต่ยังไม่มีความรู้อะไรเลย
อบรมบัญชีออนไลน์ สามารถเก็บชั่วโมง CPD CPA ได้ (สำหรับผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชี)
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน จะแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณี นั่นคือ
- กรณีบริษัทที่เป็น SME จะเสียภาษีในอัตรา 0% – 20% ตามช่วงของกำไร คือในช่วงที่กำไร 300,000 บาทแรกนั้นนิติบุคคลจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ในช่วงที่กำไรเกิน 300,000 บาทไปจนถึง 3,000,000 บาท นิติบุคคลจะเสียภาษีในอัตรา 15% และสุดท้ายหากกำไรเกิน 3,000,000 บาทขึ้นไปนิติบุคคลจะเสียภาษีที่อัตรา 20%
- บริษัทที่ไม่ใช่ SME จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตราเดียวคือ 20%
ความหมายของคำว่า SME ตามกฎหมายภาษีอากรคือนิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท นิติบุคคลที่ไม่ใช่ SME คือเป็นนิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วเกิน 5 ล้านบาท หรือรายได้รวมเกิน 30 ล้านบาท
สำหรับตัวอย่างในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล สมมติ บริษท กขค จำกัด มีกำไรสุทธิทางภาษีที่ 3,200,000 บาท หากบริษัท กขค จำกัดเป็น SME จะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ดังนี้
หากบริษัท กขค จำกัดไม่ได้เป็น SME (เป็นบริษัทขนาดใหญ่) จะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ดังนี้
จากรูปเมื่อนำอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบบุคลดูแล้ว จะเห็นได้ว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเริ่มต้นจาก ยกเว้นภาษี ไปแตะอัตราสูงสุดถึง 35% หากเป็นนิติบุคคล SME อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเริ่มต้นจาก ยกเว้นภาษี ไปแตะอัตราสูงสุดที่ 20% และหากไม่ใช่นิติบุคคล SME ก็จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีโดยจะอัตราภาษีอยู่ที่ 20%
จากตารางข้างต้นนี้สรุปได้ว่าหากธุรกิจของคุณยังเล็กอยู่รายได้ยังไม่มาก ทางคุณก็ควรที่จะทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธุรรมดาในช่วงแรกที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
หากธุรกิจของคุณเป็นนิติบุคคล SME เริ่มใหญ่ขึ้น ช่วงกำไรที่เกิน 750,000 บาทขึ้นไป จะเริ่มมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หากธุรกิจของคุณเป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่ SME ช่วงกำไรที่เกิน 1,000,000 บาทขึ้นไป จะเริ่มมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้นเนื่องจากตัวฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นเป็นคนละฐานกัน กล่าวคือ หากเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เราจะใช้ฐานเงินได้สุทธินำมาคำนวณ แต่หากเป็นนิติบุคคลเราจะใช้ฐานกำไรสุทธิทางภาษีมาคำนวณ ดังนั้นหากต้องการวิเคราะห์จริงๆว่าธุรกิจของเรานั้นควรจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ผมแนะนำให้ลองคำนวณออกมาเป็นตัวเลขจริงๆเท่านั้นครับ
สรุป
จากข้อมูลการเปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สรุปได้ว่าหากธุรกิจที่เราทำนั้นยังเล็กๆอยู่ก็ควรที่จำทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา เพราะมีอัตราภาษีที่ต่ำ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมทางด้านบัญชีอีกด้วย แต่หากธุรกิจของคุณเริ่มใหญ่มากๆขึ้น การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลอาจมีความคุ้มค่าในเชิงภาษีมากกว่า
ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ